การเปรียบเทียบปลัดเทศบาลจากถิ่นที่มา: คนในพื้นที่กับคนต่างถิ่น

ผู้แต่ง

  • กชามาส กงสะเด็น นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

              งานวิจัยนี้มุ่งอธิบายลักษณะการยอมรับและการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของปลัดเทศบาล ในเทศบาลตำบลสี่แห่งในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก 20 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการส่วนท้องถิ่น และประชาชน ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ได้นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงลักษณะการยอมรับจากมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเทศบาล เพื่อนำไปสู่การหากลยุทธ์ในการพัฒนาศักยภาพและปรับกระบวนทัศน์ของปลัดเทศบาลให้สามารถปฏิบัติงานได้ในทุกพื้นที่ถึงแม้จะไม่ใช่ท้องถิ่นภูมิลำเนาของตน

              ผลการศึกษาพบว่า เมื่ออธิบายผ่านมิติของการยอมรับและการตอบสนองต่อประชาชน พบว่า ลักษณะการยอมรับของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของปลัดเทศบาล กรณีเปรียบเทียบปลัดเทศบาลที่เป็นคนในพื้นที่และที่มาจากต่างพื้นที่ มีลักษณะสำคัญสองประการ คือ ประการที่หนึ่ง ในมุมมองภาคประชาชนเห็นว่าปลัดเทศบาลที่มาจากคนในพื้นที่จะได้รับการยอมรับและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้ดีกว่าคนที่มาจากต่างพื้นที่ และประการที่สอง ในมุมมองผู้บริหารท้องถิ่นและข้าราชการส่วนท้องถิ่นกลับเห็นว่า ปลัดเทศบาลที่มาจากคนในพื้นที่หรือจากต่างพื้นที่ไม่ได้ส่งผลต่อการได้รับการยอมรับและสัมฤทธิผล (Performance) ในการปฏิบัติงานแต่อย่างใด แต่จะขึ้นอยู่กับศักยภาพของตัวบุคคลมากกว่าถิ่นที่มา

References

ภาษาไทย

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 22 กันยายน 2564, จาก http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp

จักรวาล วัฒนากุล. (2553). ปัญหาในการนำนโยบายของนายกเทศมนตรีไปสู่การปฏิบัติของ ปลัดเทศบาลตำบลในเขตจังหวัดพิษณุโลก. (รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เฉลิมเกียรติ พลอยพานิชเจริญ. (2556). ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการโอนย้ายของพนักงาน ส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี. (ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การปกครองท้องถิ่น). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ถนอมศักดิ์ กมลเพชร. (2553). ความคาดหวังคุณลักษณะผู้นำของปลัด อบต. ตามความคาดหวังของ พนักงานส่วนตำบลในเขตอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. (รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธนกร หลุนพรหม. (2551). การศึกษาภาวะผู้นำของปลัด อบต. ในเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัด อุบลราชธานี. (รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ ปกครองท้องถิ่น). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธนพัฒน์ จงมีสุข. (2556). “ศึกษาระดับการยอมรับบทบาทผู้นำสตรีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์.” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 5(2): 60-74.

นฤมล สุยะราช. (2558). ธรรมาภิบาลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุลีมาศ คำมุง, รังสรรค์ แสงสุข, พงษ์สานต์ พันธุลาภ และอนงค์วิชญา สาริบุตร. (2557). “ความ สัมฤทธิ์ผลของผู้นำสตรีทางการบริหารที่ดำรงตำแหน่งปลัด อบต. ในเขตภาคเหนือตอนล่างของ ประเทศไทย.” วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 4(3): 65-76.

อดิศร สุนทรวิภาต. (ม.ป.ป). วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงาน จ้าง สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2565, จาก http://tratlocal.go.

th/public/news_upload/backend/files_109_8.pdf

Translated Thai References

Adison suntonvipat. (M.D.). Performance assessment of government officials and employees under local government organization. Retrieved on May 10, 2022, from http://tratlocal.go.th/public/news_upload/backend/files_109_8.pdf

Chaloemkiat Ploypanichchareon. (2013). Opinions and Affecting Factors towards Job Transfer of Local Government Personnel Staff in Chanthaburi Province. (Independent Study. M.P.A. (Local Government). Chanthaburi: Rambhai Barni Rajabhat University.

Department of Local Administration. (2020). Information on the number of local government organizations. Retrieved on September 22, 2021, from http://www. dla.go.th/work/abt/index.jsp

Jakrawal Wattanakul. (2010). Problems in Implementation of Mayor’s Policies of the Sub district Municipal Clerks in Phitsanulok Province. (An Independent Study Report for the Degree of Master of Public Administration in Local Government). Khon Kaen: Khon Kaen University.

Naruemol Suyarat. (2015). Good Governance in Local Administration: A Case Study of Municipalities in Thanyaburi, Pathumthani Province. (Thesis for the Master of Public Administration). Bangkok: National Institute of Development Administration.

Suleemas Kummoong, Rungsun Sangsook, Pongsan Puntularp and Anongwichaya Saributra. (2014). “The Achievements of Administrative Female Leaders as Deputy Chiefs of Subdistrict Administration Organizations in Lower Northern Region of Thailand.” Doctor of Philosophy in Social Sciences Association 4(3): 65-76.

Tanagorn Lunprom. (2008). Chief Administrator Leadership of Sub - District Administrative Organization at Warinchamrab district Ubonratchathani Province. (An Independent Study Report for the Master of Public Administration Local Government). Khon Kaen: Khon Kaen University.

Tanomsak Kamonpet. (2010). The Leadership Qualities of Sub Distict Deputy Chiefs as Expected by in Sub Distict Administration Personal in Kaset Somboon District, Chaiyaphum Province. (An Independent Study Report for the Degree of Master of Public Administration in Local Government). Khon Kaen: Khon Kaen University.

Thanapat Jongmeesuk. (2013). “Study the level of acceptance of female leadership roles in local government organization, Case study of Muang District, Buriram Province.” Journal of Burirum Rajabhat University 5(2): 60-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)