การพัฒนาตัวแบบการวางแผนยุทธศาสตร์ภายใต้การบูรณาการเครื่องมือ การบริหารงานแบบมุ่งสมดุล (BSC) และรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ตามเกณฑ์ MBNQA: กรณีศึกษาของสหกรณ์ออมทรัพย์ พนักงานการประปานครหลวง จำกัด

ผู้แต่ง

  • เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การวางแผนยุทธศาสตร์ การบริหารงานแบบมุ่งสมดุล รางวัลคุณภาพแห่งชาติ สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานการประปานครหลวง จำกัด

บทคัดย่อ

ในการวิจัยเรื่องการพัฒนาตัวแบบการวางแผนยุทธศาสตร์ภายใต้การบูรณาการเครื่องมือ      การบริหารงานแบบมุ่งสมดุล (BSC) และรางวัลคุณภาพแห่งชาติตามเกณฑ์ MBNQA: กรณีศึกษาของสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานการประปานครหลวง จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวแบบของ     การวางแผนยุทธศาสตร์ที่บูรณาการเครื่องมือการบริหารงานแบบมุ่งสมดุลและรางวัลคุณภาพแห่งชาติตามเกณฑ์ MBNQA 2) ทดลองการวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวที่บูรณาการเครื่องมือการบริหารงานแบบมุ่งสมดุลและรางวัลคุณภาพแห่งชาติตามเกณฑ์ MBNQA โดยใช้กรณีศึกษาของสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานการประปานครหลวง จำกัด

            การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นการการวิจัยเอกสารที่มีการสังเคราะห์เครื่องมือการบริหารงานแบบมุ่งสมดุลกับคู่มือรางวัลคุณภาพแห่งชาติตามเกณฑ์ MBNQA เพื่อนำมาสร้างเป็นตัวแบบใหม่ของการวางแผนยุทธศาสตร์ ส่วนที่สอง เป็นการนำตัวแบบการวางแผนยุทธศาสตร์ไปทดลองใช้ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มได้เข้ามามี     ส่วนร่วมในการเก็บรวมรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล  การออกแบบรายละเอียดของแผนยุทธศาสตร์ในทุกขั้นตอน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ จากเครื่องมือการบริหารงานแบบมุ่งสมดุล และค่านิยมของเกณฑ์ MBNQA ภายใต้ตัวแบบใหม่ของการวางแผนยุทธศาสตร์ สามารถนำมาใช้เป็นศูนย์กลางร่วมของการบริหารยุทธศาสตร์ขององค์กรได้ ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายที่สำคัญใน 2 ด้านไปพร้อมกัน คือ เป้าหมายของการวางแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกในระยะยาว และเป้าหมายการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ 2) ผลการทดลองในการนำตัวแบบการวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวที่              บูรณาการเครื่องมือการบริหารงานแบบมุ่งสมดุลและรางวัลคุณภาพแห่งชาติตามเกณฑ์ MBNQA มาใช้ พบว่าสามารถบูรณาการใช้งานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ด้วยการนำวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ จากเครื่องมือ   การบริหารงานแบบมุ่งสมดุลและค่านิยมมาใช้เป็นศูนย์กลางของการบริหารองค์กร และนำเกณฑ์ MBNQA ในหมวดต่าง ๆ มาเชื่อมโยงกับมิติการเงิน มิติลูกค้า มิติกระบวนการภายในธุรกิจ และมิติการพัฒนาองค์กร ซึ่งเป็นกรอบการจัดการเชิงกลยุทธ์ ทำให้การวางแผนยุทธศาสตร์จะมีมุมมองทั้งในส่วนของกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์และมุมมองของการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศไปพร้อมกัน

References

Alam, J. (2018). Developing Strategic Management and Leadership Skills, GRIN Verlag.

Andersen, T. J., et al. (2019). Strategic Responsiveness and Adaptive Organizations:

New Research Frontiers in International Strategic Management. Emerald

Publishing Limited.

Dess, G. G., et al. (2021). Strategic Management: Text & Cases. McGraw-Hill Education.

Duhaime, I. M., et al. (2021). Strategic Management: State of the Field and Its

Future. Oxford University Press.

FitzRoy, P., et al. (2016). Strategic Management: The Challenge of Creating Value.

Taylor & Francis.

Hitt, M., et al. (2010). Strategic Management: Concepts: Competitiveness and

Globalization. Cengage Learning.

Kaplan, Robert S. and Norton, David P. (1992). The Balanced Scorecard: Measures

that Drive Performance. Harvard Business Review. January – February,71–80.

________________ (1993). Putting the Balanced Scorecard to Work. Harvard Business

Review. September–October,2–16.

________________(2001). The Strategy-Focused Organization. Boston : Harvard

Business School Press.

________________ (2004). Strategy Maps: Converting Intangible Assets into Tangible

Outcomes. Boston: Harvard Business School Press.

Kennedy, R. B., et al. (2020). Strategic Management. Virginia Tech Publishing.

Lynch, R. (2021). Strategic Management. SAGE Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-05

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)