การจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนคู่ชีวิต

ผู้แต่ง

  • นันทนา ศิริชาติ หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วิชา มหาคุณ อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

บทคัดย่อ

         

            งานวิจัยเรื่อง การจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนคู่ชีวิต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจดทะเบียนคู่ชีวิต วิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดทำกฎหมายของไทย และศึกษาความความคิดเห็นต่อการจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนคู่ชีวิตโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยแบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้างและเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้เลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1 คน นักกฎหมายและนักวิชาการ 4 คน นักเคลื่อนไหวสิทธิเพื่อบุคคลหลากหลายทางเพศ จำนวน 2 คน และบุคคลหลากหลายทางเพศ จำนวน 3 คน เพื่อหาแนวทางการจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนคู่ชีวิตที่เหมาะสมและเป็นทางเลือกในการพิจารณาจัดทำร่างกฎหมายต่อไป

            การวิจัยพบว่า แนวคิดจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนคู่ชีวิตของประเทศไทยและต่างประเทศมีการพัฒนาเพื่อส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคในการก่อตั้งครอบครัวของบุคคลหลากหลายทางเพศเสมอมา แต่หลักเกณฑ์ของกฎหมายจะแตกต่างกันไปตามความยอมรับของสังคมขณะนั้น โดยปัจจุบันกฎหมายรับรองสิทธิสำหรับบุคคลหลากหลายทางเพศมีทั้งอยู่ในรูปแบบการอยู่ร่วมกันภายใต้ข้อตกลง การจดทะเบียนความสัมพันธ์ และการสมรส ทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมในกฎหมายเดิม เช่น กฎหมายแพ่งของประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศฝรั่งเศส หรือตรากฎหมายใหม่แยกเป็นการเฉพาะ เช่น กฎหมายไต้หวัน เมื่อเปรียบเทียบการจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนคู่ชีวิตของไทย พบว่า ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต ทั้งฉบับปี 2556 ปี 2561 และปี 2563 รับรองสิทธิและหน้าที่ในความเป็นคู่ชีวิตของบุคคลหลากหลายทางเพศ แต่เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็น การรับรองสิทธิและหน้าที่จะเป็นในลักษณะกว้างๆ โดยนำบทบัญญัติที่ใช้บังคับกับคู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัวและมรดกมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ส่วนที่เกี่ยวกับเงื่อนไขทางสรีระวิทยา เช่น ความเป็นบิดามารดาและบุตร ความปกครอง การรับบุตรบุญธรรม การหมั้น และการฟ้องชู้ เนื่องจากกฎหมายที่ตราขึ้นอาจขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่นได้   ส่วนความคิดเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่เห็นว่าควรแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อใช้บังคับร่วมกับคู่ชีวิตโดยอนุโลม ซึ่งจะก่อให้เกิดความเท่าเทียมเช่นเดียวกับการแก้ไขกฎหมายสมรสของบุคคลหลากหลายทางเพศในกฎหมายแพ่งประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศฝรั่งเศส และฝ่ายที่เห็นว่า ควรตราบทบัญญัติรับรองสิทธิและหน้าที่เป็นรูปแบบใหม่ต่างหากจากการสมรส โดยสนับสนุนให้จัดทำในรูปแบบของร่างพระราชบัญญัติ แล้วจึงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้สมบูรณ์ในภายหลังการประกาศใช้เช่นเดียวกับกฎหมายไต้หวัน

            ข้อเสนอแนะการวิจัย (1) เห็นควรจัดทำกฎหมายแยกต่างหากจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นการเฉพาะเพื่อให้สามารถเข้าถึงการสนับสนุนและส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคในการก่อตั้งครอบครัวของบุคคลหลากหลายทางเพศโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่นๆ  (2) ในร่างกฎหมายควรเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในประเด็นเรื่องของสัญญาว่าจะจดทะเบียนคู่ชีวิตเสมือนการทำสัญญาหมั้น และการเรียกค่าทดแทนจากการผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการเลิกคู่ชีวิตซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่เทียบเคียงสิทธิและหน้าที่ของชายกับหญิงในการก่อตั้งครอบครัว แทนการตีความโดยเคร่งครัดซึ่งจะทำให้เกิดข้อจำกัดกับบุคคลหลากหลายทางเพศ (3) ควรแก้ไขกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ของคู่ชีวิตอย่างเป็นระบบเพื่อให้การเกิดความเป็นธรรมและเสมอภาคแก่ทุกฝ่ายและเป็นที่ยอมรับของสังคม

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภาษาไทย

คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ. คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2564. สืบค้นจาก

https://www.dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php

ณนุช คำทอง. (2546). การสมรสของพวกรักร่วมเพศ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ณัฐวุฒิ ชัยสายัณห์. (2558). กฎหมายรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของกลุ่มคนที่มีเพศวิถี

แบบรักเพศเดียวกัน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ธัญญาภัส ทองมุสิทธิ์. (2562). กฎหมายต้นแบบในการรับรองและคุ้มครองสิทธิการสมรสของบุคคล

ที่มีความหลากหลายทางเพศ. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (ร่าง) พระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. ....ฉบับ พ.ศ. 2563 และ

(ร่าง) พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับ พ.ศ. 2563. สืบค้นจาก https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/Sub_Jun/5interest/

interest88.pdf

อวิการัตน์ นิยมไทย. (2562). ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... ตอนที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายคู่ชีวิต.

จุลนิติ, 143.

อารยา สุขสม. (2559). สิทธิมนุษยชนในเรื่องวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศในระบบกฎหมายไทย.

ดุษฎีนิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Laws Regulations Database of The Republic of China. (2021). Act for Implementation of J.Y. Interpretation No. 748. Retrieved from https://www.law.moj.gov.tw /ENG/LawClass/ LawAll.aspx?pcode=B0000008

Translated Thai References

Chaisayan N. (2558). Same-sex certificated. Doctor of Laws, Faculty of Law,

National Institute of Development Administration, Bangkok.

Information repository of the Legislative Institute. The ruling of the Constitutional Court

No. 20/2564. Retrieved from https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/ web/viewer.php

Khamthong N. (2003). Same sex marriage. Master of Laws, Faculty of Law

Thammasat University, Bangkok.

Laws Regulations Database of The Republic of China. (2021). Act for Implementation of J.Y. Interpretation No. 748. Retrieved from https://www.law.moj.gov.tw /ENG/LawClass/ LawAll.aspx?pcode=B0000008

Niyomthai A. (2562). Law reform Part 1, the concept of the Same-Sex Registration Law. Juniti,, 143.

Secretariat of the Senate. (Draft) Same-Sex Registration Act B.E. .... 2563 and (Draft) Act

to Amend the Civil and Commercial Code, B.E. 2563. Retrieved from https:// www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/Sub_Jun/5interest/

interest88.pdf

Suksom A. (2016). Human rights to sexual orientation and gender identity in Thai legal system. Doctor of Laws, Faculty of Law, Thammasat University, Bangkok.

Thongmusit T. (2562). Model Law on the Certification and Protection Rights of

Persons with a Sexual Orientation. Doctor of Laws, Faculty of Law,

Sripatum University, Bangkok.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-25