มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลาเพื่อดูแลครอบครัว

ผู้แต่ง

  • อาทิตยา โภคสุทธิ์ คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • กุลปราณี กุลวิทิต คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ขวัญศิริ เจริญทรัพย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • พิมุข สุศีลสัมพันธ์ คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

การลา; กฎหมายคุ้มครองแรงงาน; ดูแลครอบครัว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการลาเพื่อดูแลครอบครัว 2) เพื่อวิเคราะห์พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการลาเพื่อดูแลครอบครัว และ 3) เพื่อหาข้อเสนอแนะหรือแนวทางพัฒนาปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับการลาเพื่อดูแลครอบครัวให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากหนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ           

            ผลการวิจัยพบว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ไม่มีการบัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลาเพื่อดูแลครอบครัวไว้โดยเฉพาะ กรณีที่ลูกจ้างมีความจำเป็นต้องดูแลครอบครัวในกรณีที่บุคคลในครอบครัวได้รับบาดเจ็บ เจ็บป่วย ชราภาพ หรือมีความพิการ ลูกจ้างต้องใช้สิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น หรือขอหยุดพักผ่อนประจำปี ซึ่งไม่มีความเหมาะสมเพียงพอที่จะคุ้มครองลูกจ้างในการรับผิดชอบหน้าที่ต่อครอบครัว อาจทำให้เกิดความไม่สมดุลในชีวิตและการทำงาน และไม่รองรับต่อการที่ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งแตกต่างจากประเทศสาธารณรัฐเกาหลีและประเทศญี่ปุ่นที่มีมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลาเพื่อดูแลครอบครัวไว้โดยเฉพาะ เพื่อคุ้มครองลูกจ้างให้ใช้สิทธิลาได้เมื่อมีความจำเป็นต้องดูแลบุคคลในครอบครัว ซึ่งเป็นการรองรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุและสนับสนุนลูกจ้างในการสร้างความสมดุลในการทำงานกับการดูแลบุคคลในครอบครัว

            ข้อเสนอแนะจากการวิจัยพบว่าควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการลาเพื่อดูแลครอบครัวในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 รวมถึงการคุ้มครองลูกจ้างมิให้ถูกนายจ้างเลิกจ้างหรือกระทำการที่ไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากลูกจ้างใช้สิทธิลาเพื่อดูแลครอบครัว และการกำหนดบทลงโทษ ตลอดจนมาตรการอื่นที่ช่วยส่งเสริมให้ลูกจ้างสามารถดูแลบุคคลในครอบครัวได้ เช่น การลดชั่วโมงการทำงาน การขอเลื่อนเวลาทำงานเริ่มต้นหรือสิ้นสุด การจำกัดการทำงานล่วงเวลา การจำกัดเวลาการทำงานในเวลากลางคืน เป็นต้น รวมทั้งนายจ้างควรมีการบริหารจัดการให้ลูกจ้างสามารถลาเพื่อดูแลครอบครัวได้ เพื่อรักษาบุคลากรไว้กับองค์กรและส่งเสริมการสร้างความสมดุลในชีวิตและการทำงานแก่ลูกจ้าง

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภาษาไทย

กนกวรรณ ศรีวิรัตน์. (2559). ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิผลการทำวิจัย ของอาจารย์ใหม่ กรณีศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยา

เขตหาดใหญ่. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ,

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่

พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/926.

เจตน์ รัตนจีนะ และพรชัย สิทธิศรัณย์กุล. (2559). สมดุลงานและชีวิตในมิติด้าน สุขภาพ. จุฬาลงกรณ์

เวชสาร. 60 (4), 365-371.

ฐานิตตา สิงห์ลอ. (2563). ความสมดุลในชีวิตการทำงานของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาคเขต 3. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แผน ก

แบบ ก 2, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นุรฟิตตรี เจ๊ะอาแว และรัตติกรณ์ จงวิศาล. (2559). ภาวะผู้นำ จิตวิญญาณในที่ทำงาน สมดุลระหว่าง

ชีวิตและ การทำงาน กับผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ธนาคารอิสลามแห่ง

ประเทศไทย (สำนักงานใหญ่). วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 22 (2), 29-47.

ประกาย ธีระวัฒนากุล. (2556). WORK AND LIFE BALANCE: สมดุลระหว่างงานกับชีวิต. สืบค้น

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 จาก https://prachatai.com/journal/2013/03/45799.

ปิยสุนีย์ ชัยปาณี และคนอื่น ๆ. (2563). กลยุทธ์ทางเลือกการสร้างความสมดุลในชีวิตและการทำงาน

ของบุคลากรในองค์กรที่มีสมรรถนะสูงในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสวนสุนันทา. 12 (2), 88-104.

วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม. (2562). คำอธิบายกฎหมายแรงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

สราวลี แซงแสวง. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานและความสมดุลของชีวิตในการทำงานของ พนักงาน ระดับปฏิบัติการเจนเนอเรชั่น X และเจนเนอเรชั่น Y. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหา

บัณฑิต สาขาวิชานโยบายสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม.

ภาษาอังกฤษ

Ikeda, S. (2019). What is the Challenge after Reforming the Long-term Care Leave

System?. Japan Labor Issues, 15(3), 18-23.

Herbert Smith Freehills LLP. (2021). Japan: More Flexible Family Care Leave

Mandated. Retrieved June 4, 2022 from

https://www.shrm.org/resourcesandtools/hr-topics/global- hr/pages/japan-

more-flexible-family-care-leave.aspx.

The Equal Employment Opportunity and Work-Family Balance Assistance Act.

The Act on Childcare Leave, Caregiver Leave, and Other Measures for the Welfare of Workers Caring for Children or Other Family Members.

Translated Thai References

Department of Older Persons. (2021). The Current Aging Society and Economy in Thailand. Retrieved November 12, 2021 from https://www.dop.go.th/th/know/15/926.

Jayapani, P., Sanamthong, E., Suwathanpornkul, I., and Chancharoen, D. (2020). Alternative

Strategies on Work-Life Balance for Employees in High Performance

Organizations in Thailand. Research and Development Journal Suan Sunandha

Rajabhat University, 12(2). 88-104.

Jeh-a wae, N. and Chongvisal, R. (2016). Leadership, Spirituality at Work, Work-Life Balance

and Job Performance of Operational Employees in Islamic Bank of Thailand (Head

Office). Journal of Behavioral Science, 22(2). 29-47.

Ratanachina, J and Sithisarankul, P. (2016). Work-life Balance: Health dimension. Chula Med

Journal, 60(4). 365-371. Sangsavang, S. (2016). Quality of Work Life Balance of Operating Staff in Generation X

and Y. Minor Thesis in Master Degree in Arts Programme in Social Policy,

Thammasat University.

Singlaw, T. (2020). Work Life Balance of Provincial Waterworks Authority Region 3 's

Employee. Thesis in Master Degree in Business Administration, Silpakorn University.

Srivirat, K. (2016). Work Life Balance toward New Lecturer’s Research Effectiveness : A

Case Study of Faculty of Engineering, Prince of Songkla University (Hatyai

Campus). Minor Thesis in Master Degree in Business Administration, Prince of

Songkla University.

Theerawattanakul, P. (2013). Work And Life Balance: Work-Life Balance. Retrieved

November 11, 2021 from https://prachatai.com/journal/2013/03/45799.

The Labour Protection Act B.E.2541 (as amended).

Vichienchom, W. (2019). The Explanation of Labour Law. 6th Edition.Bangkok: Winyuchon

Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-05