แนวทางการสร้างสุขภาวะชุมชนต้นแบบจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคของจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา ถุนาพรรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • อรรถพงษ์ ศิริสุวรรณ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ธันยนันท์ พิมพะสาลี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

อย่างสมดุลและยั่งยืน, โฮมกรรณ, ศูนย์ธรรมเกษตร

บทคัดย่อ

    วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างต้นแบบการเชื่อมโยงชุมชนวิถีเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืน การถ่ายทอดวิถีชีวิต   วิถีการดูแลสุขภาพกายและใจ ให้เกิดสุขภาวะ วิถีชีวิตเกษตรอินทรีย์อย่างพอเพียงจากปราชญ์ชาวบ้าน  2. เพื่อสร้างระบบกลไกการขับเคลื่อนงานสำหรับเกษตรอินทรีย์อย่างพอเพียง  ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ สนับสนุนและส่งเสริมกลุ่มผู้ผลิตจากการรับบริการทางวิชาการและเทคโนโลยีจากทั้งนักวิชาการและเกษตรอำเภอ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างชุมชน  มีการจัดการดูแลโดยชุมชน มีการเชื่อมโยงผลผลิตในส่วนอาหารกลางวันโรงเรียน และฝึกปฏิบัติอาชีพ และยังมีผู้ซื้อทั้งในและต่างอำเภอรับไปเพื่อแปรรูป  ผลการศึกษา คือ เกิดศักยภาพชุมชน สร้างองค์ความรู้ 3 เรื่อง คือ เพาะเห็ด 2 ชนิด โดยโรงเรือนอยู่รอบบ้าน,รอบวัด ปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารเคมี ผักพื้นถิ่นที่มีราคา และเลี้ยงสัตว์พื้นถิ่นได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างรายได้อย่างหมุนเวียนและต่อเนื่อง 3 ปี โดยยึดหลักการเชื่อมโยงอย่าง บ-ว-ร เข้าด้วยกัน มีวัดโพธิ์ชัยวนาราม เป็นศูนย์เรียนรู้ธรรมเกษตรวัดโพธิ์ชัยวนาราม เป็นแหล่งผลิต มีภาคีเครือข่ายทางด้านวิชาการ สร้างองค์ความรู้ เพื่อร่วมด้วยช่วยกันสร้างคุณภาพผลผลิต และเพิ่มมูลค่า

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภาษาไทย

กรมพัฒนาชุมชน. (2556) การพัฒนาชุมชน. ค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2556. จาก http://www.cdd.go.th

กรมส่งเสริมการเกษตร.(2558) http://www.doae.go.th/report/SE/html/02.htm Access 18 ธันวาคม 2558

กฤษฎา บุญชัย และคณะ. (2556). สู่การปฏิรูปฐานทรัพยากร. กรุงเทพฯ :พลวัตรขบวนการเคลื่อนไหวด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมภาคประชาชน.กระทรวงสาธารณสุข. หลักการแนวคิดสาธารณสุขมูลฐานกลวิธี

สู่การมีสุขภาพดีถ้วนหน้า. แนวทางการพัฒนาสาธารณสุขเพื่อบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า. กรุงเทพฯ:

กระทรวงสาธารณสุข; 2553 หน้า 3-19.

ขนิฏฐา กาญจนรังสีนนท์ และคณะ.(2555). กระบวนการชุมชนสู่ความเข้มแข็งของชุมชน กรมการพัฒนา

ชุมชน.กรุงเทพฯ: อีเกิ้ล เปเปอร์.

ถนัด ใบยา. (2553) การจัดทําแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วมโดยกระบวนการแก้ไขปัญหาสุขภาพโดยทีม สุขภาพ.

วารสารสาธารณสุขมูลฐานภาคเหนือ 2553 ; 5 : 9-12.

ธนัทณัฏฐ์ ฉัตรภัครัตน์. (2551).การศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน แนวทางและวิธีการที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาที่

ยั่งยืน.กรุงเทพฯ : ไทยพัฒนา.วารสารช่อพะยอมปีที่ 21 พุทธศักราช 2553 หน้า 68

พิสันติ์ ประทานชวโน. (2552). การพัฒนาชุมชน. ใน เอกสารประกอบการบรรยายกรมการพัฒนาชุมชน.

กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนา.

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.(2553). ข้อมูลประกอบการตรวจติดตามแผนปฏิบัติการ เสริมสร้างความ

เข้มแข็งของของชุมชนเมื่อเผชิญวิกฤตของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ประจำปีงบประมาณ

พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.

Translated Thai References

Community Development Department. (2013) Community Development Department.

Retrieved in 7 June 2013 from http://www.cdd.go.th.

Department of Agricultural Extension. (2015) http://www.doae.go.th/report/SE/html/02.htm

Access18. Retrieved in 18 December 2015.

Kanitta Kanchanarangshi et al. (2015) Community processes to community strength.

Community Development Department.Bangkok : Eagle paper.

Krisada Boonchai et al. (2013). Towards the reform of the resource base. Bangkok : dynamics of

the movement Resources and the environment of the people's sector.Ministry of Public

Health. Principles and concepts of primary health care, strategies for

universal health. Guidelines for the development of public health to achieve good

health for all. Bangkok: Ministry of Public Health; 2010 pages 3-19.

Thanat Baiyao.(2010) Formation of a participatory community plan by a health problem-solving

process by a health team. Northern Primary Health Journal 2010; 5 : pages 9-12.

Thanatnut Chatpakarat (2008) Education and Sustainable Development Guidelines and

methods for creating sustainable development. Bangkok: Thai Pattana. Cho

Phayom Journal, Year 21, 2010, page 68.

Phisan Pranchavano. (2009). Community Development. In the lecture notes of the Department

of Community Development, Bangkok: Thai Wattana, Office of the Permanent Secretary Prime Minister. (2010) Information supporting the monitoring of the action plan

Strengthening the community in the face of the crisis of the Inspector General of Thailand

Prime Minister, Fiscal Year 2010. Bangkok: Office of the Permanent Secretary, Prime Minister's

Office.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-25