ปัญหาของการท่องเที่ยวโดยชุมชนและหน่วยงานของรัฐในจังหวัดชุมพร
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการการท่องเที่ยว; การท่องเที่ยวโดยชุมชน; จังหวัดชุมพร; การพัฒนาเพื่อความยั่งยืนบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง ปัญหาของการท่องเที่ยวโดยชุมชนและหน่วยงานของรัฐในจังหวัดชุมพร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาจากข้อกำหนด กฎเกณฑ์ และการปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐที่เกิดขึ้นกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตจังหวัดชุมพร และเพื่อค้นคว้าหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวในรูปแบบของข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้มีความยั่งยืน งานวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยแบบผสมทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเบื้องต้นจากชุมชนและหน่วยงานที่ดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนในจังหวัดชุมพร และจัดเวทีเพื่อร่วมพูดคุย สอบถามถึงปัญหา และหาข้อตกลงในการแก้ปัญหาร่วมกันในรูปแบบของโครงการเสวนาร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ผลจากการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย (ร้อยละ 62) เป็นผู้ที่มีอายุระหว่าง 41 – 50 ปี (ร้อยละ 26) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 36) และมีรายได้ต่อเดือน 21,000 – 35,000 บาท โดยเป็นผู้ประกอบการหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชนทางทะเลมากที่สุด และมีความเชื่อว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นผลดีต่อคนในแต่ละชุมชนโดยตรง ส่วนปัญหาหลักของการท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ ความยากลำบากในการปฏิบัติข้อกำหนดต่างๆ ความยุ่งยากในขั้นตอนเอกสารและการติดต่อกับหน่วยงานของภาครัฐ รวมถึงปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างหน่วยงานและชุมชน ทำให้ภาพรวมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในจังหวัดชุมพรยังไม่มีความยั่งยืนอย่างแท้จริง ซ้ำยังเป็นไปในลักษณะของความขัดแย้งแทนที่จะเป็นความร่วมมือ ซึ่งคณะผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้นในรูปแบบข้อเสนอเชิงนโยบาย เช่น การหาตัวแทนระหว่างหน่วยงานรัฐฯ และชุมชนเพื่อเป็นสื่อกลางถ่ายทอดองค์ความรู้ ข่าวสาร และการประชาสัมพันธ์สู่ชุมชน
Downloads
References
ภาษาไทย
กรมการท่องเที่ยว. (2561). หลักเกณฑ์คุณภาพที่พักนักเดินทาง (Home lodge). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
โกเมน กันตวธีระ, อารีย์ นัยพินิจ, และธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2556). ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการจัดการท่องเที่ยวเมืองขอนแก่น. การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ณัฎฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการ
ท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 3(2). 25-46.
ประมาณ เทพสงเคราะห์. (2553). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว: วิถีชีวิตบนเส้นทางงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชน. สงขลา: หสม นีโอ พ้อยท์.
ปิยธิดา ปาลรังษี, และกุลพิชญ์ โภไคยอุดม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการท่องเที่ยวโดยชุมชน อ.ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 17(2). 99-110.
พรรควันชัย ประถัมวงค์ษา, และสุธิดา แจ่มใส ไวท์. (2555). บทบาทขององค์กรและหน่วยงานตามยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวประเภทเมืองเก่า เทศบาลเมืองคูน แขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารสมาคมนักวิจัย. 17(1). 19 – 28.
สำนักปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ:
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
อุทัยวรรณ ศรีวิชัย. (2559). แนวทางการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยใช้สื่อเทคโนโลยี
สารสนเทศ เพื่อเสริมสร้างนักผลิตสื่อในชุมชนของเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน จ.ชุมพร. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
Translated Thai References
Department of tourism. (2018). Quality of accommodation for travelers (home lodge). Bangkok: Ministry of Tourism and Sports.
Kantawateera, K., Naipinit, A., and Promsaka Na Sakolnakorn, T. (2013). Problems and Threatof Khon Kaen tourism management. The 4th Hatyai National Conference. Hatyai University.
Maneeroj, N. (2017). Community Based Tourism Management. International Thai Tourism Journal. 3(2). 25-46.
Office of the Permanent Secretary. (2017). Annual Report of 2017. Bangkok: Ministry of Tourism and Sports.
Palarangsri, P., and Pookaiyaudom G. (2016). Factors affecting residents’ participation in Community-based tourism in Khanom District, Nakhon Si Thammarat Province. Journal of Sports Science and Health. 17(2). 99-110.
Pathamvongsa, P., and Whyte, J., S. (2012). Stakeholders’ roles in tourism planning and development in Khoun District, Xiangkhouang Province, Laos PDR. Journal of the Association Researchers. 17(1). 19 – 28.
Tepsungkhroa, P. (2010). Tourism Geography: A journey of Life on Community-based Tourism Research. Songkla: Neo Point.
Sriwichai, U. (2016). Guidelines for the development of public relations media for community-based
tourism using information technology media to strengthen the media producers in the Chumphon community. Research report. Maejo University at Chumphon. Maejo University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.