การศึกษาศักยภาพของผู้สูงอายุกับความพึงพอใจต่อการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลอยบางหัก อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ดนุลดา เกตุวัฒน์ถา สาขาวิชาวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กาญจนา บุญยัง สาขาวิชาวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นพพล อัคฮาด สาขาวิชาวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ศักยภาพ; ผู้สูงอายุ; สวัสดิการสังคม; องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยเชิงศักยภาพของผู้สูงอายุ (2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย เชิงศักยภาพของผู้สูงอายุกับความ   พึงพอใจต่อการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ และ (4) เสนอแนวทางในการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลอยบางหัก อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี จำนวน 746 คน และกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 260 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ  สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสถิติสหสัมพันธ์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คนใช้วิธีการคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยศักยภาพของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลอยบางหัก ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยศักยภาพด้านความมั่นคงมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านสุขภาพและด้านการมีส่วนร่วมทางสังคม ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์ในปัจจัยศักยภาพด้านต่างๆ เช่นกัน (2) ความพึงพอใจต่อการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผลการสัมภาษณ์ข้อมูลพบว่ามีทัศนคติไปในทางบวกเช่นกัน           (3) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงศักยภาพของผู้สูงอายุกับความพึงพอใจต่อการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ พบว่าปัจจัยด้านความมั่นคงมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการจัดสวัสดิการสังคมในระดับต่ำ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ (4) แนวทางในการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลอยบางหัก ได้แก่ การส่งเสริมกิจกรรมหรือการให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการผู้สูงอายุ การออกกำลังกาย  การส่งเสริมอาชีพให้แก่ผู้สูงอายุอย่างทั่วถึง และการส่งเสริมให้กลุ่มอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นเข้าไปดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

References

ภาษาไทย

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564). สืบค้นจาก

https://www.dop.go.th/download/laws/law_th_20152309144546_1.pdf

ณัฏฐ์ชยธร เดชสิทธิ์บุลพร. (2557). คุณภาพชีวิตและความต้องการสนับสนุนสวัสดิการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนสามตำบล จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดนุลดา เกตุวัฒน์ถา และ นพพล อัคฮาด. (2565, 8 กรกฎาคม). การศึกษาศักยภาพของผู้สูงอายุกับประสิทธิผลการขับเคลื่อนนโยบายการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลอยบางหัก อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี [เอกสารนำเสนอ], การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยสยาม ครั้งที่ 4 : เรื่อง สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทระเบียบโลกใหม่, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

ธีรนงค์ สกุลศรี และ ปาณฉัตร ทิพย์สุข. (2562). การลงทุนเพื่อสังคมสูงวัย. สืบค้นจาก

https://ipsr.mahidol.ac.th/post_research.

พรทิพย์ มาลาธรรม, จิราพร คงเอี่ยม และ ประคอง อินทรสมบัติ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนจากครอบครัวและแรงสนับสนุนจากเพื่อนกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในเขตชนบท. วารสารรามาธิบดี, 15(3), 431-448.

พรพรม ไขชัยภูมิ และ ภรณี ศิริโชต. (2553). ความต้องการสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลโนนไทย อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. (2546, ธันวาคม 31). ราชกิจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 130ก. หน้า 4-6.

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. (2561, ตุลาคม 13). ราชกิจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82ก. หน้า 28-44.

วุฒิสาร ตันไชย. (2559). รูปแบบและประเภทการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลอยบางหัก. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561-2565 ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลอยบางหัก. อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. สืบค้นจาก http://www.chonburikohloy-banghak.go.th/UploadFolder/180432Doc01.pdf.

อาชัญญา รัตนอุบล. (2562). ข้อเสนอการพัฒนาการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 11(1),26-46.

ภาษาอังกฤษ

World Health Organization. (2002). Active Aging A Policy Framework. A contribution of the World Health Organization to the Second United Nations World Assembly on Aging. Madrid Spain.

Translated Thai Reference

Dechsitboolporn, N. (2014). Quality of life and health-welfare needs of the elderly in Sam Tambon sub-district, Nakhon Pathom province. A Thesis of Master of Arts. Silpakorn University.

Department of Oder Persons. (2010). The 2nd National Plan on The Elderly 2002-2021. Retrieved From https://www.dop.go.th/download/laws/law_th_20152309144546_1.pdf

http://www.chonburikohloy-banghak.go.th/UploadFolder/180432Doc01.pdf.

Ketwattha, D. and Akahat, N. (2022). A Study of Potentials of Elderly and Effectiveness of Social Welfare Movement for the Elderly of Kohloy-Banghak Subdistrict Administrative Organization, Phantong District, Chonburi Province. [Paper presentation], National Academic Conference, Siam Universiy, Bankok, Thailand.

Khaichaiyapoom, P. and Sirichot, P. (2010). Welfare needs of the Elderly in Nonthai Municipality, Nonthai District, Nakhon Ratchasima Province. A Independent Study of Master Degree. Khon Kaen University. The College of Local Administration.

Kohloy-Banghak Subdistrict Administrative Organization. (2018). Local Development Plan of Kohloy-Banghak Subdistrict Administrative Organization, Phantong District, Chonburi Province 2018-2022. Retrieved From

http://www.chonburikohloy-banghak.go.th/UploadFolder/180432Doc01.pdf

Malathum, P., Kongiem J. and Intarasombat P. (2009). Relationships of Family Support and Friend Support to Life Satisfaction of Older Adults in Rural Areas. Rama Nurs J, 15(3), 431-448.

National Strategy (2018-2037). (2018, October 13). Published in the Government Gazette, publication and general announcement No. 135, Part 82 Kor, 28-44.

Rattana-Ubol A. (2019). Proposal for Operational Improvement Regarding Senior Citizen’s Potential Enhancement. Silpakorn Educational Research Journal, 11(1),26-46.

Sakunsri, T. and Thipsuk, P. (2019). The Investment for Aging Society. Institute for Population and Social Research, Mahidol University.

The Act on the Elderly. B.E. 2546 (2003 A.D.). (2003, December 31). Published in the Government Gazette, publication and general announcement No. 120, Part 130 Kor, 4-6.

Tonchai, W. (2016). The concept of Public Services of Local Government Organization. Bankok: King Prajadhipok’s Institute.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)