ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่นกับการขยายตัวของพรรคภูมิใจไทยในจังหวัดศรีสะเกษ : กรณีการดึง 3 ส.ส. พรรคเพื่อไทยมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย

ผู้แต่ง

  • วันชัย ติวสูงเนิน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ศุภกร บุญสะอาด คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • อนุสรณ์ โฉมยงค์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • อดิเทพ สมบัติหลาย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ประเทือง ม่วงอ่อน อาจารย์คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

พรรคภูมิใจไทย; พรรคเพื่อไทย; ศรีสะเกษ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่นกับการขยายตัวของพรรคภูมิใจไทยในจังหวัดศรีสะเกษ : กรณีการดึง 3 ส.ส. พรรคเพื่อไทยมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย  มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาพัฒนาการการก่อตัวและการเพิ่มฐานเสียงของกลุ่มพรรคภูมิใจไทยในจังหวัดศรีสะเกษ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มการเมืองพรรคภูมิใจไทย กับนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  มีข้อค้นพบว่า 1) พัฒนาการการก่อตัวและการเพิ่มฐานเสียงของกลุ่มพรรคภูมิใจไทยในจังหวัดศรีสะเกษ  แบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ (1) ช่วงที่ 1  ช่วงการก่อตั้งพรรคภูมิใจไทยปี 2551 พรรคภูมิใจไทยได้เริ่มส่งว่าที่ผู้สมัครลงพื้นที่เพื่อสร้างการรับรู้ทางการเมือง ลงไปพบปะประชาสัมพันธ์ตนเองและพรรค ทำกิจกรรมช่วยเหลือประชาชนในเขตเลือกตั้งที่เล็งไว้  ซึ่งในช่วงที่ 1  พรรคภูมิใจไทยในจังหวัดศรีสะเกษได้กำหนดเขตที่ต้องการลงสมัครรับเลือกตั้งไว้เพียง 3 เขตเลือกตั้ง ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 3 เขตเลือกตั้งที่ 7 และเขตเลือกตั้งที่ 8  (2) ช่วงที่ 2 ช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดศรีสะเกษปี 2554  ในการเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 พรรคภูมิใจไทยได้เริ่มส่งผู้สมัครที่ได้เตรียมการไว้ล่วงหน้าหลายปี ลงสมัครรับเลือกตั้ง จำนวน 3 เขตดังกล่าวข้างต้น สามารถชนะการเลือกตั้งจำนวน 1 เขต จากทั้งหมด 3 เขต โดยบางเขตที่แพ้เลือกตั้งมีคะแนนสูสีกับคู่แข่งจากพรรคเพื่อไทยอย่างมีนัยสำคัญทางการเมืองและ (3) ช่วงที่ 3  ช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดศรีสะเกษปี 2562  ในการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562  ครั้งนี้พรรคภูมิใจไทยได้ส่งผู้สมัครลงทุกเขตการเลือกตั้ง ซึ่งมีทั้งหมด 8 เขตเลือกตั้ง ปรากฎว่าพรรคภูมิใจไทยสามารถขยายฐานที่มั่นทางการเมืองโดยสามารถชนะการเลือกตั้ง 2 เขตเลือกตั้ง คือเขต 1 นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ และเขต 7 นายอาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มการเมืองระดับชาติพรรคภูมิใจไทย กับนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ (1) ความสัมพันธ์รูปแบบเครือญาติ มีลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก แบบพี่-น้อง หรือ ป้า/ลุง-หลาน เป็นการสร้างทายาททางการเมือง โดยอาศัยฐานเสียงหรือคะแนนนิยมของการเมืองระดับท้องถิ่นที่ผูกขาดอำนาจมาอย่างยาวนาน ทั้งระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยนายวิชิต ไตรสรณกุล (นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ) และระดับเทศบาลเมืองศรีสะเกษ โดยนายฉัตรมงคล อังคสกุลเกียรติ (นายกเทศมนตรีเมืองศรีสะเกษ) เป็นฐานสนับสนุนทางการเมืองของพรรคภูมิใจไทยในจังหวัดศรีสะเกษ  และ (2) ความสัมพันธ์แบบประสานผลประโยชน์ทางการเมือง อาทิ การแต่งตั้งเครือข่ายให้เข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง การแบ่งพื้นที่ทางการเมืองในระดับท้องถิ่นระดับเทศบาลเมือง กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดอย่างชัดเจน พรรคภูมิใจไทยในจังหวัดศรีสะเกษอาศัยตัวแสดงหลัก คือ กลุ่มตระกูลไตรสรณกุล  และกลุ่มอังคสกุลเกียรติ ที่สามารถผูกขาดการเมืองระดับท้องถิ่นในจังหวัด มีการสร้างความร่วมมือและการสร้างพันธมิตรทางการเมืองมาอย่างยาวนาน รวมทั้ง ความสามารถในการระดมทรัพยากรทางการเมือง ภายใต้ความอ่อนแอของพรรคเพื่อไทยในเขตพื้นที่ ส่งผลให้พรรคภูมิใจไทยสามารถสร้างฐานที่มั่นในจังหวัดศรีสะเกษได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภาษาไทย

ข่าวสดออนไลน์. (2565). 3 งูเห่าเพื่อไทย ศรีสะเกษ เตรียมย้ายซบภูมิใจไทย หลังจับมือโหวตสวนมติพรรค รับหลักการร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566. [รูปภาพ]. สืบค้นจาก https://www.khaosod .co.th/politics/news_7092967

เดลินิวส์. (2565). ‘ภูมิใจไทยสัญจร’ ประกาศแลนด์สไลด์ ‘ศรีสะเกษ’ ประเคน 1 เก้าอี้รมต. เข้าถึงได้จากhttps://www.dailynews.co.th/news/1067606/

นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์, นวรัตน์ นพคุณ และโชคสุข กรกิตติชัย. (2554). เอกสาร เปรียบเทียบนโยบายหาเสียงของ 5 พรรคการเมืองก่อนการเลือกตั้ง ในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฏาคม 2554. เข้าถึงได้จาก https://library. parliament.go.th/th/workrelated/exksar-epriiybethiiybnoybayhaesiiyngkhxng-5-phrrkhkarem uuexngkxnkareluuexktang

ประเทือง ม่วงอ่อน. (2556). นักการเมืองถิ่นศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นจาก https://kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_102.pdf

ประเทือง ม่วงอ่อน. (2566).พฤติกรรมการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี (ในการเลือกตั้งวันที่ 28 มีนาคม 2564) และผลกระทบการเลือกตั้งภายใต้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562. วารสารการบริหารปกครอง, 12(1), 70–94. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/264375

มติชนออนไลน์. (2565). 09.00 INDEX อ่าน ‘รหัส’ จาก ไล่หนู ตีงูเห่า เตือนตรง ประยุทธ์ จันทร์โอชา. [รูปภาพ]. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_3408124

มติชนออนไลน์. (2565). เพื่อไทย เปิด 7 ชื่อ ส.ส.โหวตสวนมติพรรค. สืบค้นวันที่ 7 สิงหาคม 2565, จาก https://www.matichon.co.th/politics/news_3380620

เวียงรัฐ เนติโพธิ์. (2565). อุปถัมภ์ค้ำใคร: การเลือกตั้งไทยกับประชาธิปไตยก้าวถอยหลัง. กรุงเทพฯ: มติชน.

Translated Thai References

Dailynews. (2022). ‘Bhumjaithai Party Rally’ announcement ‘Win in Sisaket Province’ receive Ministers Chair. Retrieved from https://www.dailynews.co.th/news/1067606/

Khaosod Online. (2022). the three ‘cobra’ members of parliament from Pheu Thai Party (Sisaket Province) to the expansion of Bhumjaithai Party in Sisaket. [picture]. Retrieved from https://www.khaosod .co.th/politics/news_7092967

Matichon Online. (2022). 09.00 INDEX Read ‘signal’ From ‘cath The Mouse’ ‘hit cobra’ to Prayut Chan-o-cha. [picture]. Retrieved from https://www.matichon.co.th/politics/news_3408124

Matichon Online. (2022). Pheu Thai Party open 7 Member of Parliament reject Party resolution. Retrieved from https://www.matichon.co.th/politics/news_3380620

Moung-On, P. (2013). Politicians in Sisaket Province. Bangkok : King Prajadhipok's Institute. Retrieved from https://kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_102.pdf

Moung-On, P. (2023). The election behavior for the Mayor of Ubon Ratchathani (in the election on 28 March 2021) and the impacts of the Election of Members of Local Assemblies or Local Administrators Act B.E. 2562 (2019). Governance Journal, 12(1), 70–94. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/264375

Nethipo, V. (2022). Patron-Client : Electoral in Thailand and Order Era Democracy. Bangkok : Matichon Book.

Sarachantapong, N., Noppakun, N. and Kornkittichai, C. (2011). Document of Public Policy By 5 Party For Electoral in July 3, 2011. Retrieved from https://library. parliament.go.th/th/workrelated/exksar-epriiybethiiybnoybayhaesiiyngkhxng-5-phrrkhkarem uuexngkxnkareluuexktang

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-25