การพัฒนารูปแบบการผลิตผักปลอดภัยแปลงรวมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • นิตยา เคหะบาล สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • นฤชิต แสนปากดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ธวัชชัย เคหะบาล สาขาวิชารัฐศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า สาขาวิชาสังคมศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ธีรนันท์ ขันตี สาขาวิชานิเทศศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • อารยา ลาน้ำเที่ยง สาขาวิชานิเทศศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • เบญจมาศ ชุมชนตรีนอก คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยการพัฒนารูปแบบการผลิตผักปลอดภัยแปลงรวม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายหลักในการวิจัย คือ ครัวเรือนยากจนในอำเภอนามน จำนวน 328 ครัวเรือน กลุ่มเป้าหมายรอง คือ หน่วยงานและภาคีเครือข่ายการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่อำเภอนามน ประมาณ 50 คน โดยการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลจากการทวนสอบและคัดกรองครัวเรือนยากจนรายครัวเรือนและรายหมู่บ้าน การสอบถามครัวเรือนยากจนที่มีความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพ การสนทนากลุ่ม สำรวจข้อมูลต้นทุนการผลิตอาชีพแก้จน การสำรวจตลาดภายในชุมชน การสังเกต เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฟอร์มการทวนสอบและคัดกรองครัวเรือนยากจนรายครัวเรือนและรายหมู่บ้าน แบบบันทึกข้อมูลความต้องการพัฒนาศักยภาพด้าน แบบสำรวจการใช้ปริมาณผักและอาหารของร้านค้าในตำบล ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการพัฒนาครัวเรือนยากจนสู่การผลิตผักปลอดภัยแปลงรวม มี 3 กระบวน (1) ต้นน้ำ คัดเลือกครัวเรือนยากจน (2) กลางน้ำ ส่งเสริมการผลิตแบบแปลงรวม และแปรรูปที่มีมาตรฐาน (3) ปลายน้ำ ส่งเสริมการตลาด และการบริหารจัดการใช้ประโยชน์แปลงรวมในการแก้ไขปัญหาความยากจน มี 5 ด้าน ได้แก่ การบริหารที่ดิน การบริหารผลผลิต การบริหารวัสดุอุปกรณ์ การบริหารผลประโยชน์ และการบริหารคน

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภาษาไทย

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2558). ระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2566 จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER066/.../00000227.PDF.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2560). ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2565). ข้อมูลพื้นฐานอำเภอนามน. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2566 จาก http://ebmn.cdd.go.th/

จิระพันธ์ ห้วยแสน และคณะ. (2565). โครงการวิจัยการพัฒนานวัตกรรมสนับสนุนการทํางานเชิงพื้นที่แบบร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยํา จังหวัดกาฬสินธุ์. หน่วยบริหาร และจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.). สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.).

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2544). คนจนในมิติทางสังคม. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส โปรดิกส์.

ณัฐพล ขันธไชย. (2559). แนวความคิดและทฤษฎีในการพัฒนาประเทศและการพัฒนาชนบทในการ บริหารงานพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร.

พิมพ์ฉัตร รสสุธรรม. (2558). การบูรณาการการบริหารจัดการสวัสดิการสังคม เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยยึดชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษาชุมชนตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสาร สังคมศาสตร์วิชาการ. 8(2), 83-101

ภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์ และอารีย์ เชื้อเมืองพาน. ความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรระบบเกษตรนาแปลงใหญ่ ในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 38(3): 182-193

สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร. (2564). คู่มือโครงการส่งเสริมการเกษตรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่. สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร. กรม ส่งเสริมการเกษตร.

สุภางค์ จันทวานิช. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 10 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ เมษินทรีย์ (2556). โลกเปลี่ยน ไทยปรับ. กรุงเทพมหานคร : กรุงเทพธุรกิจ Bizbook.

สมพันธ์ เตชะอธิก ธนาคาร ผินสู่ และจุติมาภรณ์ พลพงษ์. (2560). คู่มือการแก้ไขปัญหาความยากจน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิมั่นพัฒนา.

Translated Reference

Bureau of Agricultural Product Promotion and Management. (2021). Agricultural Promotion Project Guide for Fiscal Year 2021 Big Plot Agricultural Promotion System Project. Bureau of Agricultural Product Promotion and Management. Department of Agricultural Extension.

Community Development Department. (2022). Basic Information of Nam Non District.

Retrieved April 9, 2023 From http://ebmn.cdd.go.th/

Department of Agricultural Extension. (2015). Large agricultural extension system. Retrieved March 5, 2023 From http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER066/.../00000227.PDF.

Jantavanich, S. (2011). Data analysis in qualitative research. 10th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Huaisan, J et al. (2022). The Development of Innovation Supports Area-Based Collaborative. Program Management Unit on Area Based Development (PMU A). Office of National Higher Education Science Research and Innovation Policy Council

Spatial for Precision Poverty Alleviation of Kalasin Province.

Khanthachai, N. (2016). Concepts and theories in national development and rural development in rural development administration. Bangkok : Odeonstro.

Kongthanajaruanan, P and Semuangphan A. Strength of large farming systems in Chiang Rai. Journal of Agricultural Research and Promotion, 38(3): 182-193.

Mesintree, S (2013). The World Changes, Thailand Adjusts. Bangkok : Bangkok Business Bizbook.

Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2017). 20-Year Agricultural and Cooperative Strategy (2017-2036). Bangkok: Office of Agricultural Economics, Ministry of Agriculture and Cooperatives.

Petchprasert, N. (2001). The poor in the social dimension. Bangkok: Edison Press Productions.

Roosutham, P. (2015). Integration of social welfare management to solve poverty problems based on community Case Study of Wiang Tan Subdistrict, Hang Chat District, Lampang Province. Journal of Academic Social Sciences, 8(2), 83-101.

Techaathik, S. , Pinsu, T. and Ponpong J. (2017). A Guide to Tackling Poverty. Bangkok: Manpattana Foundation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-12