การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยโครงงานผลิตหนังสั้น ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เรื่อง “ฮอยฮีตคลองเก่าฮอยข้าวประดับดิน” ของนักศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ในพื้นที่บ้านขัวสูง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • นิติยา ค้อไผ่ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • แจ่มจันทร์ ณ กาฬสินธุ์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ปัญญา เถาว์ชาลี คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาจากการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาประวัติศาสตร์ ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิชาเอกสังคมศึกษา ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษา ชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา จำนวน 29 คน และอาจารย์ประจำรายวิชา จำนวน 1 คน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์           กึ่งโครงสร้างเพื่อสอบถามประเด็นสถานการณ์ปัญหาจากการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาประวัติศาสตร์              2) ประเด็นคำถามสำหรับการสนทนากลุ่มเพื่อถอดบทเรียนภายหลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน  ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ปัญหาในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย 1) ด้านการเตรียมการสอน เนื่องจากในรายวิชาประวัติศาสตร์ไทยมีเนื้อหาค่อนข้างมาก ทำให้การจัดการเรียนรู้ไม่หลากหลายและไม่ครอบคลุมกับแผนการเรียน 2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เน้นการบรรยาย เป็นการสรุปเนื้อหาจากตำราและนำเสนอเป็นสไลด์ถ่ายทอดให้กับนักศึกษา 3) ด้านสื่อการเรียนการสอน                  ไม่หลากหลาย ส่วนใหญ่เป็นสไลด์และเปิดวิดีทัศน์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแผนการเรียน และ 4) ด้านการประเมินผล เป็นการประเมินโดยอาจารย์เป็นหลัก วัดความจำมากกว่าการคิดวิเคราะห์แบบบูรณาการ การใช้รูปแบบโครงงานเป็นฐานผ่านการผลิตหนังสั้นส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น “ฮอยฮีตคลองเก่าฮอยข้าวประดับดิน” พบว่า ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผู้เรียนได้เรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทั้งในเชิงกายภาพและสังคม สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือทางสังคมในการได้มาซึ่งข้อมูล เช่น ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ข้อมูลสภาพพื้นที่ ปฏิทินกิจกรรมของชุมชน ประวัติชีวิตบุคคลสำคัญ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือ 7 ชิ้นในการศึกษาชุมชน เกิดทักษะในด้านการประสานงาน การสัมภาษณ์ และการทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น ทำให้ผู้เรียนรู้จักการวางแผนการทำโครงงานอย่างเป็นระบบ และมีส่วนร่วม รวมถึงทักษะการแก้ไขปัญหาสถานการณ์อย่างสร้างสรรค์  ในด้านผลที่เกิดขึ้นกับการจัดการเรียนรู้ ครูและผู้สอนปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนเป็น            ผู้เอื้ออำนวย หรือพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำในทุกขั้นตอน รูปแบบการจัดการเรียนรู้การเน้นให้ผู้เรียนได้          คิด วิเคราะห์ วิพากษ์ สามารถบูรณาการเชื่อมโยงกับประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภาษาไทย

กุลรภัส เทียมทิพร. (2559). “PBL: Project Base Learning การเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริงโดยใช้โครงงาน

เป็นฐาน”. วารสารการจัดการความรู้. นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ดุษฎี โยเหลา และ คณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้

เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของ

โรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ : หจก. ทิพยวิสุทธิ์.

บุปผา เรืองรอง. (2556). โครงงานการสอนแบบโครงการ (Project Approach). สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม

จาก http://taamkru.com.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสาร

เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.

วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ : ฝ่าย โรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา

พับลิเคชั่น.

ศุภณัฐ พานา. (2563). แนวทางในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 23(2).390-400.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2542). ศูนย์วิชาการและภูมิปัญญาชาวบ้านกับ

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.

สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2558). แนวการสอนประวัติศาสตร์: ประวัติศาสตร์ไทย

หลากหลายวิธีเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ภาษาอังกฤษ

Aimee Hosler. (2020). 4 Keys To Designing A Project-Based Learning Classroom. Retrive

May 14, from https://www.teachthought.com/pedagogy/designing-project-based-

learning.

Cheng-Huan Chen, Yong-Cih Yang. (2019) Revisiting the effects of project-based learning

on students’ academic achievement: A meta-analysis investigating moderators.

Educational Research Review, 26, 71-81,https://doi.org/10.1016/j.edurev.2018.11.001.

Kate Hirschmana and Bronwyn E. Woodb. (2019). 21st Century Learners: Changing

Conceptions of Knowledge, Learning and the Child. The New Zealand Annual Review of Education, 23, 20-35. DOI: 10.26686/nzaroe.v23i0.5280

Margaret E. Goertz &Carol A. (2015). Engaging Practitioners in State School Improvement

Initiatives. Peabody Journal of Education, 90.

https://doi.org/10.1080/0161956X.2015.988540.

Nicole Ondrashek. (2017). 21st Century Learning. (Master' s thesis) Northwestern College,

Orange City, IA). Retrieved from http://nwcommons.nwciowa.edu/education_masters/21.

Translated References

Benjawan Thanormchayathawat. (2016). 21st Century Skills: A Challenge for Student

Development. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 3(2). 208-222. (in Thai).

Buppha Ruangrong. (2013). Project Approach. Retrieved May 25. 2023 from

http://taamkru.com.

Dusadee Yoelao. (2014). The study of PBL-based learning management from the

Knowledge Building Project to enhance the skills of the 21st century of children and youth: based on the success experiences of Thai schools. Bangkok: Limited Partnership Thippawisut. (in Thai)

Kulrapas Tiamtiporn. (2016). PBL: Project Base Learning : Project-based learning into

practice. Knowledge Management Journal 2019, 1-17. (in Thai)

Office of the National Primary Education Commission. (1999). Academic Center and Folk

Wisdom and Local Curriculum Development. Bangkok: Academic Division Office of the National Primary Education Commission.

Office of Academic and Educational Standards. (2015). Approaches to teaching history:

Thai history. A variety of ways to study. Bangkok: Thailand Agricultural Cooperative Assembly Printing House.

Vicharn Panich. (2013). Way of creating learning for students. (3rd ed). Bangkok : Tathata

Publication Company Limited.

Supanut Pana. (2020). Guidelines for History Instruction. Journal of Social Sciences

Srinakharinwirot University. 23(2). 390-400.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-12