แนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • เอมอร พิมพโส หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธ์ุ
  • อาริยา ป้องศิริ ผู้ช่วยศาสตราจารย์, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

สมรรถนะ; ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา; แนวทางการพัฒนาสมรรถนะ; การปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะ และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ วิธีการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 47 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์   รองศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้อำนวยการกลุ่ม/หน่วย จำนวน 5 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะในการปฏิบัติงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการปฏิบัติงาน ด้านความรู้ พบว่า ควรจัด ส่งอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง ด้านทักษะ พบว่า ต้องอาศัยการลงมือฝึกปฏิบัติและฝึกใช้ความรู้ทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการเรียนภาคปฏิบัติ และที่สำคัญต้องมีการติดตามประเมินผล ด้านเจตคติ/ค่านิยม พบว่า ควรฝึกอบรมปลูกจิตสำนึกด้านคุณธรรมจริยธรรม และส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎระเบียบที่วางไว้ ข้อเสนอแนะงานวิจัย ดังนี้ ด้านความรู้ ควรมีการอบรม สัมมนา  เพื่อเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ด้านทักษะ ควรมีการอบรม สัมมนา  เพื่อเสริมสร้างทักษะในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ ด้านเจตคติ/ค่านิยม ควรจัดกิจกรรม โครงการ เพื่อกระตุ้นให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภาษาไทย

กาญจนา ส่งสวัสดิ์, ราตรี เอี่ยมประดิษฐ์ และสุมาลี บุญนุช (2559). การศึกษาสมรรถนะของนักศึกษาสหกิจศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิตามความคิดเห็นของสถานประกอบการ พระนครศรีอยุธยา: คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์วาสุกรี.

กรรณิการณ์ เดชประเสริฐ และคณะ. (2558). ศึกษาการพัฒนาสมรรถนะที่เหมาะสมในการพัฒนาบุคลากรสายปฏิบัติการมหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์,” วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2558.

จิรประภา อัครบวร. (2549). “สร้างคนสร้างผลงาน,” กรุงเทพฯ: ก.พลพิมพ์ .

จันทร์ทา มั่งคำมี. (2562). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภายใต้แนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่,

ชุติมา วัฒนชัยสิทธิ์, สุนทรา โตบัว และวารุณี ลัภนโชคดี. (2561). สมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หมึกบรรจุภัณฑ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี.

ดลธกร วงษ์พันธุ์ (2552). การสำรวจสมรรถนะเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงใหม่, เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เทอดชัย บัวผาย และคณะ (2558). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านไอซีทีของครูผู้สอนรายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับประถมศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ธันยนันท์ ทองปานคุณานนท์ (2557). สมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัทโพสโค (ไทยแลนด์) จํากัด, สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.

พาณี สีตกะลิน (2558). บุคลิกภาพของผู้นำศตวรรษที่ 22 (ออนไลน์ 2558), เข้าถึงได้จาก:https://www.gotoknow.org/posts/501771.

รัชนิดา รักกาญจนันท์ (2560). การพัฒนาบุคลากรตามกรอบสมรรถนะของข้าราชการสายงานวิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลัดดาวัลย์ เขื่อนคำ. (2551). ช่องว่างทางสมรรถนะหลักของครูโรงเรียนบ้านเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย, วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วีระ สุรินทร์ (2553). การบริหารงานบุคลากรของโรงเรียนขนาดเล็กในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่, การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วีระศักดิ์ พัทบุรี. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารความขัดแย้งสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชายแดนภาคใต้, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศตวรรษ กล่ำดิษฐ์ (2560). สมรรถนะที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตสายไฟฟ้า กรณีศึกษาบริษัท สายไฟฟ้า-ยาซากิ จำกัด, การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ภาษาอังกฤษ

David McClelland. (1973). Work Motivation : Theory of Human Motivation, New York :John Wiley &Sons .

Parry, Scott B. (1997). Evaluating the Impact of Training, Alexandria, Virginia : American Society for Training and Development.

Translated References

Chantha Mangkhammee. (2019). Strategic Personnel Competency Development. Office of the Narcotics Control Board Under the new government management approach.

Chutima Wattanachaisit, Sunthara Tobua, and Warunee Lapanchokdee. (2018). Competencies and guidelines for developing competencies of researchers and packaging ink product developers, Thonburi University Academic Journal .

Donthakorn Wongphan. (2009).Competency Survey of Policy and Planning Analysts Under the Subdistrict Administrative Organization in Chiang Mai Province, Chiang Mai: Chiang Mai University.

Kanchana Songsawat, Ratri Iampradit and Sumalee Bunnuch. (2016). Study of the competencies of cooperative education students Business Information Technology major Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi according to the opinion of the establishment Phra Nakhon Si Ayutthaya: Faculty of Business Administration and Information Technology Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi Wasukri Center.

Kannikarn Detprasert et al. (2015). Study on the development of appropriate competencies in the development of operational personnel at Kalasin Rajabhat University,” Praewa Kalasin Academic Journal Kalasin Rajabhat University 2 (1) (January-April 2015).

Jiraprapa Akaraworn. (2006). Creating people to create work,” Bangkok: K. Phonphim.

Terdchai Buaphai et al. (2015). Model for developing ICT competency of teachers in elementary level information and communication technology basic subjects. According to the Basic Education Core Curriculum 2008 under the Office of the Basic Education Commission Industrial Education Journal King Mongkut's University of Technology North Bangkok.

Thanyanan Thongpankunanon. (2014). Employee Performance Competency Case Study of POSCO (Thailand) Company Limited,” Master of Arts Thesis Krirk University.

Panee Sitakalin. (2015). Personalities of 22nd Century Leaders (online 2015), accessible from: https://www.gotoknow.org/posts/501771.

Rachanida Rakkanchanan. (2017). Personnel development according to the competency framework for civil servants in the education field Ministry of Education (Master of Political Science Thesis Department of Public Administration, Faculty of Political Science, Thammasat University.

Laddawan Khueankham. (2008). gaps in the core competencies of teachers at Ban Thoet Thai School Mae Fah Luang District Chiang Rai Province (Master of Public Administration Thesis Department of Public Administration, Chiang Mai University.

Weera Surin. (2010). Personnel Management of Small Schools in Mae Chaem District Chiang Mai Province, Independent Study Master of Education, Major in Educational Administration, Graduate School ,Chiang Mai University.

Weerasak Phattaburi. (2016). Conflict management competency development model for school administrators under the Office of the Basic Education Commission in the southern border provinces. (Doctor of Education Thesis Field of Study: Educational Administration Prince of Songkla University.

Satawat Klamdit. (2017). Competencies that affect the performance of production staff in the electrical cable manufacturing industry. Company case study Electrical Wires - Yazaki Co., Ltd., independent research Master of Business Administration. Bangkok: Rajamangala University of Technology Krungthep.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-23