การพัฒนาการขอเลื่อนวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • รุจิรา สระทอง หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธ์ุ
  • จริยา อินทนิล ผู้ช่วยศาสตราจารย์, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การขอเลื่อนวิทยฐานะ, การรับรู้, ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ, ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ และแนวทางการพัฒนาการขอเลื่อนวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ วิธีการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการครู ที่ยื่นคำขอเลื่อนวิทยฐานะ จำนวน 73 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล ผู้อำนวยการสถานศึกษา ข้าราชการครู รวมจำนวน 5 คน ผลวิจัยพบว่า 1) การรับรู้การขอเลื่อนวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จการขอเลื่อนวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) แนวทางในการพัฒนาการขอเลื่อนวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ 1) สำนักงาน ก.ค.ศ. ควรพัฒนาระบบให้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น เพิ่มกรรมการให้เพียงพอ และสร้างความเข้าใจให้กรรมการประเมินเพื่อให้ผลการประเมินมีคุณภาพ 2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรจัดอบรมการเขียนแผนการเรียนรู้ การทำไฟล์วีดีทัศน์ และผลลัพธ์ เพื่อให้ตรงกับระดับความคาดหวังตามตำแหน่งและวิทยฐานะที่ยื่นคำขอและองค์ประกอบการประเมิน

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภาษาไทย

จารุวรรณ ทองขุนดำ และคณะ. 2565.“ภาวะหมดไฟของครูที่ไม่มีวิทยฐานะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 วิทยาเขตรัชโยธิน.” วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7 (2): 1-14

จิตรลดา ตรีสาคร. 2555. พฤติกรรมองค์การ. ปทุมธานี: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.

เจษฎา มหาโคตร และมณีญา สุราช. 2565. “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในอาชีพของข้าราชการครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ.” วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 8 (1): 1-15.

ประวิต เอราวรรณ์. 2564. “การประเมินวิทยฐานะครูแนวใหม่.” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13 (1): 1-7.

ฟาริดา เดชะกูล1 และสายฝน แสนใจพรม. 2565. “สภาพปัจจุบันและปัญหาของกระบวนการบริหารการประเมินวิทยฐานะของครู โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่.” วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่, 1 (1): 1-16.

ภารดี เทพคายน. 2564. “ระดับการรับรู้และความเข้าใจของบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ต่อนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงานและพฤติกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงาน.” วารสารสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 5-13.

วาริช รัตนกรรดิ และเอื้อมพร หลินเจริญ. 2560. “การพัฒนารูปแบบการประเมินผู้ประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.” วารสารการวิจัยพัฒนาชุมชน, 2 (10): 1-11.

วิเชียร วิทยอุดม. 2547. พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จํากัด.

สำนักงาน ก.ค.ศ. 2564. คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู.

อภิเชษฐ์ ฉิมพลีสวรรค์. 2564. “สภาพการขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะที่มีต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42.” วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 1 (1): 1-12.

ภาษาอังกฤษ

Herzberg, F. & Other. 1966. The motivation to work. New York: John Wiley & Sons.

Translated References

Jaruwan Thongkhundam et al. 2022. “The state of burnout among teachers without academic qualifications. Under the jurisdiction of the Bangkok Secondary Educational Service Area Office 2, Ratchayothin Campus.” MCU Ubonparitharat Journal, 7 (2): 1-14

Chitlada Trisakorn. 2012. Organizational behavior. Pathum Thani: Triple Group Company Limited.

Jesada Mahakhot and Maneeya Surat. 2022. “Factors affecting the career success of civil servant teachers with special expertise status. Under the jurisdiction of the Bueng Kan Provincial Education Office." Srilanchang Review Journal, 8 (1): 1-15.

Pravit Erawan. 2021. “A new approach to teacher qualification assessment.” Silpakorn Educational Research Journal, 13 (1): 1-7.

Farida Dechakul1 and Saifon Saenjaiprom. 2022. “Current conditions and problems of the process of managing teachers' academic evaluations. Hang Dong Rattharat Uppatham School Under the jurisdiction of the Chiang Mai Secondary Educational Service Area Office." Journal of Education Chiang Mai Rajabhat, 1 (1): 1-16.

Paradee Thepkhayan. 2021. “Level of awareness and understanding of support personnel. National Institute of Development Administration towards the policy of operational excellence and behavior that is consistent with the policy of operational excellence.” Journal of the National Institute of Development Administration, 5-13.

Warich Rattanakarndi and Ueamporn Lincharoen. 2017. “Development of an evaluation model for teacher and educational personnel evaluators. Under the Office of the Basic Education Commission.” Community Development Research Journal, 2 (10): 1-11.

Wichian Wittayudom. 2004. Organizational behavior. Bangkok: Teerafilm and Sitex Co., Ltd.

Office of the Teachers' Council of Thailand 2021. Manual for implementing the criteria and methods for evaluating the positions and academic status of teachers and educational personnel in the teaching position.

Aphichet Chimphlisawan. 2021. “Conditions for requesting or requesting promotion of academic status that affect the performance of civil service teachers. Secondary Educational Service Area Office 42.” Journal of Basic Education Research, 1 (1): 1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-23