กระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปิยากร หวังมหาพร หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

กระบวนทัศน์; นโยบายผู้สูงอายุ; ที่พักอาศัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องกระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อกระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยและศึกษาผลที่เกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิจัยจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายนอก ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศส่งออกแนวคิดการจัดการที่พักอาศัยมายังประเทศไทย ส่วนปัจจัยภายใน ได้แก่ จำนวนผู้สูงอายุ นโยบายของรัฐบาล กฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นแรงหนุนเสริม กระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยของประเทศไทยจึงแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ 1) กระบวนทัศน์ก่อน พ.ศ. 2525: ยุคกำเนิดสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ 2) กระบวนทัศน์ พ.ศ.2525-2539: ยุคสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุเบ่งบาน 3) กระบวนทัศน์ พ.ศ.2540-2554: ยุคก่อเกิดการสร้างสภาพแวดล้อมเกื้อหนุนหลักสูงวัยในที่เดิม และ 4) กระบวนทัศน์ พ.ศ.2555-ปัจจุบัน: ยุคการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุทุกกลุ่มตามหลักสูงวัยในที่เดิม จากกระบวนทัศน์ทั้ง 4 ช่วง ส่งผลให้นโยบายของรัฐบาลไทยแตกต่างกันออกไปจากเดิมมุ่งสร้างสถานสงเคราะห์เฉพาะผู้ยากไร้มาสู่การจัดที่พักอาศัยภายใต้แนวคิดสูงวัยในที่เดิมโดยให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุทุกกลุ่มมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ปิยากร หวังมหาพร, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

References

ภาษาไทย

กนกวรรณ หมื่นแก้วและพิชญ์ บุษยบัณฑูร. (2020). “การก่อตัวของนโยบายสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย: ศึกษากรณี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12”. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ 1(3): 88-106.

ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ และจำนงค์ แรกพินิจ. (2562). “กระบวนทัศน์ของสังคมที่มีต่อสถานภาพและบทบาทของผู้สูงอายุ”. วารสารปาริชาต 32 (2) (กรกฏาคม-ธันวาคม): 1-13.

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2560). โครงการการศึกษารูปแบบการให้บริการ การบริหารและการจัดการที่พักสำหรับผู้สูงอายุ. รายงานวิจัย กรมกิจการผู้สูงอายุ.

สิรินทร์ยา พูลเกิดและณปภัช สัจนวกุล. (2563). ที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในสังคมไทย: แนวคิด พัฒนาการและมุมมองเชิงนโยบาย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา.

สุมาลี ไชยศุภรากุล. (2015). “กระบวนทัศน์ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์”. จันทรเกษมสาร 21(40): 1-8.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.

อนงลักษณ์ สมแพง. (2017). “การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์กับนโยบายความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน”. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม 5(1): 117-124.

ภาษาอังกฤษ

Kendig, H., Browning, C. J., & Thomas, S. A. (2014). “Directions for Research and Policy on Housing an Aging Population”. The Journals of Gerontology Series B: Psychological Sciences and Social Sciences 69(2): 175–187. doi:10.1093/geronb/gbt070

Scott, J. (1990). A Matter of Record: Documentary Sources in Social Research. Polity Press: Cambridge

Translated References

Anonglak Samphaeng. (2017). “Changing Perceptions with Safety Policy in Road Use”. TheJournal of Social Communication Innovation 5(1): 117-124. (in Thai)

Chulalongkorn University Academic Service Center. (2017). Study Project on Service Delivery Models, Management, and Accommodation for the Elderly. Research Report, Department of the Elderly Affairs. (in Thai)

Kannika Mankaeo and Pichay Busayabunto. (2020). “Emergence of Elderly Social Policy in Thailand: A Case Study of the 12th National Economic and Social Development Plan”. Thai Research and Management Journal 1(3): 88-106. (in Thai)

National Statistical Office. (2017). Report on the Survey of the Elderly Population in Thailand, 2014. Bangkok: Tex and Journal Publication Company Limited. (in Thai)

Sansanee Jantarapan, Jamnong Rakpinij. (2019). “Perspectives on Society Towards the Status and Roles of the Elderly”. Parichart Journal 32(2) (July-December): 1-13. (in Thai)

Sirinya Pulked and Nappapat Sajjawanakul. (2020). Suitable Residences for the Elderly in Thai Society: Concepts, Development, and Policy Perspectives. Bangkok: Octoberprint Publishing. (in Thai)

Sumalee Chaisuparakul. (2015). “Paradigms in Social Science Research”. Journal of Chandrakasemsarn 21(40): 1-8. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17