การคุ้มครองลูกจ้างในงานเกษตรกรรมเพาะปลูกตามฤดูกาลตามกฎหมายไทย

ผู้แต่ง

  • สุรศักดิ์ มีบัว นักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • บรรเจิด สิงคะเนติ ศาสตราจารย์, อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม ศาสตราจารย์, อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมดุษฎีนิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การคุ้มครองแรงงาน; ลูกจ้างตามฤดูกาล; งานเกษตรกรรม; งานเพาะปลูก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดพื้นฐาน วิวัฒนาการ และกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองลูกจ้างในงานเกษตรกรรมเพาะปลูกตามฤดูกาลตามกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทย รวมถึงเพื่อวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรมของไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 วิธี อันได้แก่ วิธีแรก การรวบรวมข้อมูลเอกสารจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง วิธีที่สอง การลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ณ สถานที่จริง พร้อมกับการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกจังหวัดที่มีการจ้างลูกจ้างกลุ่มนี้อย่างแพร่หลายในไร่อ้อย สวนผลไม้ และการทำนาข้าว โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ อันได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จันทบุรี ลำพูน พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรีและวิธีที่สาม การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างประชากร 3 กลุ่ม ผ่านแบบสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ผู้เขียนสร้างขึ้นในลักษณะคำถามปลายเปิด อันได้แก่ กลุ่มแรก ลูกจ้างในงานเกษตรกรรมเพาะปลูกตามฤดูกาล จำนวน 7 คน กลุ่มที่สอง นายจ้างในงานเกษตรกรรมเพาะปลูกตามฤดูกาล จำนวน 7 คน กลุ่มที่สาม เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่องค์กรอิสระช่วยเหลือแรงงาน คือ กระทรวงเเรงงาน และผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ จำนวน 3 คน รวมกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 17 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและสอดคล้องกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นจริงในสังคมเกษตรกรรมไทย  ผลการศึกษา ในกรณีแรกพบว่าลูกจ้างในงานเพาะปลูกตามฤดูกาล ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดปีและไม่มีงานลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วยไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย โดยในบางเรื่องกฎหมายไทยไม่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างที่นายจ้างพึงต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างกลุ่มนี้เอาไว้ จึงเกิดช่องว่างที่ไม่มีกลไกทางกฎหมาย สำหรับนำมาเป็นกฎเกณฑ์ของสังคมเกษตรกรรม ผู้เขียนเห็นว่าควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายของไทย โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างไว้ตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมเกษตรกรรม จนนำไปสู่การถนอมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงาน ซึ่งเสนอให้ออก (ร่าง) กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองลูกจ้างในงานเกษตรกรรมเพาะปลูก พ.ศ. .... โดยเสนอให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายพิเศษในบางเรื่อง อันได้แก่ กำหนดเวลาพักระหว่างการทำงาน กำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณี กำหนดข้อห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทำงานยามวิกาล กำหนดค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตร กำหนดเวลาทำงานปกติและค่าจ้างขั้นต่ำที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องที่หรือจังหวัดที่ใช้บังคับ และห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด  ในกรณีที่สอง พบว่าลูกจ้างได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายพิเศษที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการทำงานสำหรับงานเกษตรกรรมในบางเรื่อง ผู้เขียนจึงเห็นว่าควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายของไทย โดยเสนอให้มีการกำหนดความคุ้มครองลูกจ้างที่สอดคล้องกับการจ้างระยะเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 90 วัน หรือการจ้างที่เป็นครั้งคราว ซึ่งลูกจ้างเข้าทำงานและออกจากงานของนายจ้างคนเดียวกันบ่อยครั้ง อันได้แก่ การกำหนดวันหยุดพักผ่อน ให้นายจ้างจัดสวัสดิการที่พักอาศัยแยกเป็นสัดส่วนกับสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายทางการเกษตร และจัดสวัสดิการเกี่ยวกับอุปกรณ์ในการป้องกันสารเคมี ยิ่งไปกว่านั้น ในกรณีลูกจ้างได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทั่วไปที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการทำงานสำหรับงานเกษตรกรรมในบางเรื่อง ผู้เขียนเห็นว่าควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายของไทย โดยเสนอห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงหรือหญิงมีครรภ์ทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายที่ไม่สอดคล้องสำหรับงานเกษตรกรรม และกำหนดมาตรการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอันจำเป็น อันได้แก่ การจัดเครื่องมือและอุปกรณ์ในการป้องกันส่วนบุคคล การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรกล เครื่องมือหรืออุปกรณ์ และการใช้สารเคมีอันตรายทางการเกษตรที่ถูกวิธีให้แก่ลูกจ้าง

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

สุรศักดิ์ มีบัว, นักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

นักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บรรเจิด สิงคะเนติ, ศาสตราจารย์, อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ศาสตราจารย์, อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม , ศาสตราจารย์, อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมดุษฎีนิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศาสตราจารย์, อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมดุษฎีนิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

References

ภาษาไทย

เกษมสันต์ วิลาวรรณ. (2560). คำอธิบายกฎหมายแรงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม. (2561). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประชาไท. (2563). ผลสำรวจเศรษฐกิจฐานราก มี.ค. 63 พบค่าแรงงานภาคเกษตรอยู่ที่ 6,013.47 บาท/เดือน. ค้นวันที่ 1 ธันวาคม 2565 จาก https://prachatai.com/journal/2020/07/88511

มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน. (2562). คลินิกกฎหมายด้านแรงงาน (20): รูปแบบการจ้างงานที่นำไปสู่ความไม่เป็นธรรม. ค้นวันที่ 5 มกราคม 2565 จาก https://aromfoundation.org/2019-19/

ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์ และวิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์. (2562). การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทย ให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์. (2566). กฎหมายแรงงาน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2557). การศึกษาการคุ้มครองแรงงานและจัดสวัสดิการศึกษาการคุ้มครองแรงงานและจัดสวัสดิการให้แก่แรงงานภาคเกษตร. กรุงเทพฯ: สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2545). รายงานการศึกษานโยบายแรงงานภาคเกษตร. กรุงเทพฯ: สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเดือนพฤศจิกายน 2566. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2556 ทั่วราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

อังคณา เตชะโกเมนท์. (ม.ป.ป.). ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ. ค้นวันที่ 20 เมษายน 2566 จาก http://www.fio.co.th/south/law/11/114.pdf

ภาษาอังกฤษ

Benjamin Harkins. (2019). Thailand Migration Report 2019. Bangkok: United Nations Thematic Working Group on Migration in Thailand.

Pusch Wahlig Workplace Law. (2020). Germany: Employment Law Overview 2019-2020. Berlin: Pusch Wahlig Workplace Law.

International Labour Organization. (2021). Working and Employment Conditions in the Agriculture Sector in Thailand: A Survey of Migrants Working on Thai Sugarcane, Rubber, Oil Palm and Maize Farms. Thailand: International Labour Organization.

International Labour Organization. (2001). National Labour Law Profile: Federal Republic of Germany. Retrieved May 1, 2023 from https://www.ilo.org/ifpdial/information-resources/national-labour-law-profiles/WCMS_158899/lang--en/index.htm

International Labour Organization. (n.d.). Decent Work. Retrieved June 12, 2023 from https://www.ilo.org/global/topics/decent-work/lang--en/index.htm

International Labour Organization. (n.d.). Q&As on Business and Working Time. Retrieved June 25,2022 from https://www.ilo.org/empent/areas/businesshelpdesk/faqs/WCMS_DOC_ENT_ HLP_TIM_FAQ_EN/lang--en/index.htm#Q15

Orawan Kaewboonchoo, Pornpimol Kongtip, and Susan Woskie. (2015). Occupational Health and Safety for Agricultural Workers in Thailand: Gaps and Recommendations, with a Focus on Pesticide Use. NEW SOLUTIONS A Journal of Environmental and Occupational Health Policy, 25(1). 102.

Richard E. Walton. (1973). Quality of Working Life: What Is It. Sloan Management Review, 15(1). 12.

Translated References

Arom Pongpangan Foundation. (2019). Labor Law Clinic (20): Employment Patterns Leading to Unfairness. Retrieved on January 5, 2022, from https://aromfoundation.org/2019-19/. (in Thai)

Anukanat Techakomen. (n.d.). Basic Information about International Labor Organizations. Retrieved on April 20, 2023, from http://www.fio.co.th/south/law/11/114.pdf. (in Thai)

Kasemsan Wilawan. (2017). Lecture on Labour Law. The Twenty-Four. Bangkok: Winyuchon. (in Thai)

National Statistical Office. (2014). Kingdom-Wide Agricultural Census 2013. Bangkok: National Statistical Office. (in Thai)

National Statistical Office. (2023). Summary of the Labor Force Survey Results for November 2023. Bangkok: National Statistical Office. (in Thai)

Office of Agricultural Economics. (2002). Report on the study of agricultural labor policy. Bangkok: Office of Agricultural Economics.

Office of Agricultural Economics. (2014). Study on labor protection and welfare provision for agricultural workers. Bangkok: Office of Agricultural Economics.

Prachatai. (2020). Survey of the grassroots economy in March 2020 finds agricultural sector wages at 6,013.47 baht/month. Retrieved on December 1, 2022, from https://prachatai.com/journal/2020/07/88511

Suphasit Taweejamsup. (2023). Labour Law. Bangkok: Winyuchon. (in Thai)

Suphasit Taweejamsup and Wimpat Rajpradit. (2019). Development and Amendment of Thai Labor Laws to Align with International Principles and Country Reform Directions. Bangkok: King Prajadhipok's Institute. (in Thai)

Wichitra (Foongladda) Vichienchom. (2018). Basic Knowledge of General Law. 2nd Edition. Bangkok: Textbook and Teaching Materials Project, Faculty of Law, Thammasat University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-19