รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในเทศบาลตำบลนาป่า อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างอำนาจ; ความเข้มแข็งชุมชน; จังหวัดชลบุรีบทคัดย่อ
ปัญหาที่สะสมมานานของเทศบาลตำบลนาป่า ในฐานะเทศบาลที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ในยุคอุตสาหกรรมที่ประชาชนให้ความสำคัญกับการทำงานมากกว่าการมีปฏิสัมพันธ์กันในสังคม มีการเคลื่อนย้ายของประชากรแผงและมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมสูง ทำให้เกิดช่องว่างและความไม่เข้มแข็งของชุมชน การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเทศบาลตำบลนาป่า อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนในเทศบาลตำบลนาป่า จำนวน 400 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญและการสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและความจำเป็น ของการเสริมพลังอำนาจ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเทศบาลตำบลนาป่า มีค่าเฉลี่ยของสภาพที่พึงประสงค์มากกว่าสภาพปัจจุบันในทุกด้านและทุกประเด็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีความต้องการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจมากที่สุด ได้แก่ ด้านการให้การยอมรับ รองลงมาด้านการมอบหมายอำนาจหน้าที่ และน้อยที่สุด คือ ด้านการฝึกอบรมและการพัฒนา 2) การจัดทำรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ได้องค์ประกอบของกลยุทธ์ประกอบด้วย 1 วิสัยทัศน์ 5 พันธกิจ 10 เป้าประสงค์ และ 36 กลยุทธ์ 3) การประเมินรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสามารถนำไปใช้ได้จริง
Downloads
References
ภาษาไทย
กมลศักดิ์ วงศ์ศรีแก้ว จิระพงค์ เรืองกุน และสายใจ ชุนประเสริฐ. (2561). การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 5(1), 46–57.
โกมินทร์ กุลเวชกิจ. (2558). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้านเศรษฐกิจโดยยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านดอนดู่ ต.ป่าสังข์ อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด. ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นภาภรณ์ หะวานนท์, เพ็ญสิริ จีระเดชากุล และสุรวุฒิ ปัดไธสง. (2560). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
พระชลญาณมุนี และเสาร์คำ ใส่แก้ว. (2567). รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเทศบาลตำบลนาป่า อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พินทุสร โพธิ์อุไร. (2562). แนวคิดว่าด้วยการเสริมพลังชุมชนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพัฒนาสังคม, 21(2), 64-77.
ภูวไนย สุนา. (2564). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
มิ่งขวัญ คงเจริญ และอาชัญญา รัตนอุบล. (2564). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชน เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้, วารสารวิจัย มสด, 7(2). 19-36.
รพีภัทร์ สุขสมเกษม. (2559) ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ. (2559). กระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็ง: รูปแบบปัจจัยและตัวชี้วัด. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, 5(2), 119-158.
วิรันทร์ดา เสือจอย. (2564). การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ และคณะ. (2559). การเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน. กรุงเทพมหานคร : สำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ.
อรทัย ก๊กผล. (2559). Urbanization เมื่อ “เมือง” กลายเป็นโจทย์ของการบริหารจัดการท้องถิ่นสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
อรทัย ปาอ้าย. (2558). รูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมวิจัยตามแนวคิดแบบเสริมสร้างพลังอำนาจในโรงเรียนมัธยมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภาษาอังกฤษ
Diane Tracy. (1990). 10 steps to empowerment A common-sense guide to managing people. New York : William Morrow and Company.
Translated References
Kamolsak Wongsaikaeo, Jirapong Ruangkun, and Saijai Chunprasert. (2018). Community Development: A Case Study of Phun Bamphen Community, Phasi Charoen District, Bangkok. Community Development and Quality of Life Journal, 5(1), 46–57.
Gomin Gulwechkij. (2015). Economic Strengthening Patterns of Communities Based on the Sufficiency Economy Philosophy: A Case Study of Don Du Community, Pa Sang Sub-district, Chaturaphak Phiman District, Roi Et Province. Doctoral Dissertation in Philosophy (Sufficiency Economy). Graduate School: Mahasarakham Rajabhat University.
Napaphan Havanon, Pensiri Jiradechagun, and Surawut Patthaisong. (2017). Fundamental Principles of Community Empowerment. Bangkok: National Science and Technology Development Agency.
Phra Chalyanamuni and Saokum Saikaew. (2024). Power Enhancement Models for Strengthening Community Empowerment in Napa Forest Municipality, Mueang Chonburi District, Chonburi Province. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Buddhist Research Institute, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Pinthuonsorn Phot-urai. (2019). Community Empowerment Approaches for Health Promotion. Social Development Journal, 21(2), 64-77.
Phuvanai Suna. (2021). Developing a Structural Linear Relationship Model of Factors Influencing the Empowerment of Teachers' Work in Expanding Educational Opportunities in the Northeastern Region. Doctoral Dissertation in Education. Graduate School: Sakon Nakhon Rajabhat University.
Mingkwan Kongcharoen and Achanya Rattanaubon. (2021). Developing a Community Empowerment Model to Enhance the Sustainability of Learning Communities. MSU Journal of Research, 7(2), 19-36.
Rapiiphat Sukhsomkasem. (2016). Factors Influencing Community Empowerment: A Case Study of Communities in Pak Kret Municipality, Nonthaburi Province. Bangkok: Thammasat University.
Wannatham Kanjansuwan. (2016). Community Empowerment Processes: Models, Factors, and Indicators. Journal of Political Science, 5(2), 119-158.
Wirandha Suejoi. (2021). Empowering School Administrators with Professional Standards Implementation in Schools under the Jurisdiction of the Singburi Primary Education Service Area Office. Bangkok: Silpakorn University.
Suwanra Janprasert et al. (2016). Community Strengthening. Bangkok: Health System Development Support Office.
Arotai Kokpon. (2016). Urbanization: When "City" Becomes the Focus of Modern Local Administration Management. Bangkok: Phra Pokklao Institute.
Arotai Paaai. (2015). Cultural Research Development Patterns Based on Empowerment Concepts in Secondary Schools. Doctoral Dissertation in Educational Research. Graduate School: Burapha University.
Diane Tracy. (1990). 10 steps to empowerment A common-sense guide to managing people. New York : William Morrow and Company.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.