ปัจจัยที่มีผลต่อกระแสความนิยมของพรรคก้าวไกล ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2566 : กรณีศึกษาเขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตเลือกตั้งที่ 4
คำสำคัญ:
พรรคก้าวไกล; จังหวัดอุบลราชธานี; ความนิยมบทคัดย่อ
การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อกระแสความนิยมของพรรคก้าวไกล ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2566 : กรณีศึกษาเขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตเลือกตั้งที่ 4 มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตเลือกตั้งที่ 4 ของพรรคก้าวไกล ได้รับความนิยมในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (2) ศึกษามุมมองของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีต่อด้านนโยบายของพรรคก้าวไกล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากสื่อโชเชียลมีเดีย การสัมภาษณ์และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา ค้นพบว่า (1) กระแสความนิยมของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประกอบไปด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ (1.1) ปัจจัยด้านกระแสความนิยมที่มาจากพรรค กระแสพรรคเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ช่วยหนุนเสริมทำให้ผู้สมัครพรรคก้าวไกลได้รับความนิยมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2566 กระแสพรรครวมถึงกระแสความนิยมในตัวหัวหน้าพรรคก้าวไกล คือ คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กระแสความนิยมจากแนวนโยบายของพรรค และภาพลักษณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับพรรคก้าวไกล (1.2) ปัจจัยด้านตัวบุคคลผู้สมัคร กระแสความนิยมที่เกิดขึ้นจากตัวผู้สมัคร โดยผู้สมัครจะต้องแสดงบทบาท ทำกิจกรรม ลงพื้นที่ให้ประชาชนรับรู้อย่างต่อเนื่องด้วย จึงจะทำให้ผู้สมัครจากพรรคก้าวไกลบุคคลนั้นมีโอกาสชนะการเลือกตั้ง (1.3) ปัจจัยด้านความต้องการของประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ชนะการเลือกตั้งมาหลายสมัย (1.4) ปัจจัยด้านกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม ความสิ้นหวังกับระบบการเมืองและสังคมแบบเดิมๆ รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของกลุ่มคนรุ่นใหม่ เป็นต้น (2) มุมมองของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตเลือกตั้งที่ 4 ที่มีต่อด้านนโยบายของพรรคก้าวไกล จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ประชาชนมีความหวังในตัวนโยบายของพรรคก้าวไกล และมองว่านโยบายที่นำเสนอจะสามารถแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศได้ ข้อเสนอแนะ กระแสพรรคเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยทำให้ผู้สมัครพรรคก้าวไกลได้รับความนิยม แต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้สมัครคนนั้นได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ตัวผู้สมัครจะต้องลงพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน โฆษณาประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ เพื่อให้เกิดความนิยมในตัวผู้สมัครเองด้วย แล้วอาศัยกระแสพรรคเป็นตัวหนุนเสริม สนับสนุน เพื่อต่อสู้กับกระแสการใช้เงินซื้อเสียง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่สังคมชนบท หรือเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล
Downloads
References
ภาษาไทย
BBC NEWS ไทย. (2566). วิเคราะห์ : X,Y หรือ Z Gen ไหน จะชี้ขาดผลเลือกตั้ง. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566, จาก https://www.bbc.com/thai/articles/cn32zyv9nr2o?fbclid=IwAR2MrK-6gk-
ประเทือง ม่วงอ่อน. (2567). การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2566 จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า
ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2553). การตลาดแนวใหม่ผ่าน Social media. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2544). การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองไทย. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
สมพันธ์ เตชะอธิก. (2553). การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองในการออกเสียงประชามติและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 : จังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นจาก https://kpi.ac.th/media/pdf/M10_89.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอุบลราชธานี. (2566). ผลคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปี พ.ศ. 2566 ของจังหวัดอุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตเลือกตั้งที่ 4. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.ect.go.th/ubonratchathani
Translated References
BBC NEWS. (2023). Analysis : Generation X, Generation Y, Generation Z, Voting Behavior. Retrieved September 19, 2023 from https://www.bbc.com/thai/articles/cn32zyv9nr2o?fbclid=IwAR2MrK-6gk-
Chainirun, P. (2010). Social Media Marketing. Bangkok : Se-Education Public Company Limited.
Moung-On, P. (2024). Political movement and voting behaviors of members of Thailand's House of Representativesin 2023 Ubon Ratchathani. Bangkok : King Prajadhipok's Institute.
Office of The Provincial Election Commision of Ubonratchathani. (2023). Election result of General elections Members of the House of Representatives’s B.E. 2023 in Ubon Ratchathani Province : Constituency 2 and Constituency 4.Retrieved July 11, 2023, from https://www.ect.go.th/ubonratchathani
Photan, V. (2001). Activities of Thai Political Parties. Nonthaburi : King Prajadhipok's Institute.
Techaathik, S. (2010). Political movement and voting behaviors of Referendum and elect Members of the House of Representatives’s B.E. 2007 : Khon Kaen Province. Bangkok : The office of Research and development, King Prajadhipok's Institute. Retrieved from https://kpi.ac.th/media/pdf/M10_89.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.