พื้นที่ชายแดนกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้

ผู้แต่ง

  • ภาวดี ทะไกรราช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การจัดการทรัพยากรป่าไม้, การมีส่วนร่วม, Forest Resources Management, Participation

บทคัดย่อ

ในช่วงปี 2557 ผู้เขียนได้มีโอกาสดำเนินงานวิจัย เรื่อง แนวทางการจัดการ ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนในพื้นที่ชายแดนจังหวัดศรีสะเกษ ทำให้ทราบถึงสถานการณ์ ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ชายแดน รวมถึงการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ใน พื้นที่ชายแดนจังหวัดศรีสะเกษ ดังนั้นบทความวิชาการนี้ นับเป็นความพยายามอีก แง่มุมหนึ่งของผู้เขียนที่ต้องการนำเสนอถึงสถานการณ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ชายแดน รวมถึงการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และ ชุมชนที่เกิดขึ้นจริง อีกทั้งยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ทรัพยากรในพื้นที่ที่ มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ชายแดนเป็น แหล่งทรัพยากรที่มีความอุดมสมบูรณ์และนับวันก็จะลดลงไปอย่างรวดเร็ว อันเนื่อง มาจากการบุกรุกเพื่อลักลอบตัดไม้ และการเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ชายแดนใน หลากหลายรูปแบบ ทั้งประชาชน และนายทุน ผู้ประกอบการต่างๆ โดยไม่คำนึงถึง ประโยชน์และคุณค่าของแหล่งทรัพยากรป่าไม้ และระบบนิเวศอื่นๆ จะเห็นได้ว่า สถานการณ์ดังกล่าวนี้ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีแนวทางการจัดการที่เหมาะสม เพื่อให้ทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรอื่นๆ มีสภาพอุดมสมบูรณ์และคงอยู่เหมือนเดิม ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ชายแดน ร่วมกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดแนวทางการจัดการให้ ทรัพยากรป่าไม้ที่เหมาะสมและยั่งยืนต่อไป

 

In the end of 2557 B.E. the author had chance to do a research, the ways of forest resources management sustainably in the frontiers of Sisaket province and make me know the situation of forest resources in frontiers including forest resources management in the areas of government sector, private sector and the participation of community in forest resources management in frontiers. So this journal is regarded as being an attempt of author that wish to present the situation of forest resources in frontier including forest resources management in the areas of government sector, private sector and community that have really occurred including it still is indicating the situation of forest resources in frontiers having change tendency and application from forest resources being obviously seen that forest resources in frontiers are plentiful forest resources so much and as days go by it becomes increasingly lower because of trespassing to smuggle deforesting and entering to apply in the frontiers of various types, whole people, capitalists and entrepreneurs by not considering benefits and the value of forest resources and other ecology it can be seen that situation mentioned above still occurred continuously by not having ways to manage suitably to make forest resources and other resources having fertility and maintaining as before. So it is necessary so much to manage the forest resources in frontiers accompanied with government sector, private sector and people in the areas to have the ways in managing the forest resources suitably and permanently.

Downloads