ภูมิทัศน์วัฒนธรรมกับภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชาวภูไท
คำสำคัญ:
ภูมิทัศน์วัฒนธรรม, ทรัพยากรธรรมชาติ, การบริหารจัดการ, ชาติพันธุ์ภูไท, cultural landscape, natural resource, management, Phutai tribeบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้จากการศึกษาแนวคิดเรื่องภูมิทัศน์ วัฒนธรรม มาทำการประเมินคุณค่าและวิเคราะห์ถึงภูมิปัญญาของชาติพันธุ์ภูไท ใน ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความสัมพันธ์ระหว่าง ภูมิปัญญาดังกล่าวกับสภาพภูมิประเทศในการตั้งถิ่นฐาน โดยเลือกชุมชนชาวภูไท ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเพื่อเป็นกรณีศึกษา ใช้วิธีการศึกษาด้วย การทบทวนวรรณกรรม เกี่ยวกับแนวคิดภูมิทัศน์วัฒนธรรม วัฒนธรรมและความเชื่อ ของชาวภูไท จากนั้นจึงเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่วิจัย ด้วยการศึกษาจากภาพถ่าย ทางอากาศ การสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์และการเสวนากลุ่ม เพื่อทำการ ประเมินสภาพและความคำคัญทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมของพื้นที่วิจัย ผลการศึกษา พบว่า 1) ชาวภูไทมีคติความเชื่อในการตั้งถิ่นฐานว่าชุมชนต้องประกอบด้วยเขตพื้นที่ สำคัญ 4 เขต คือ บ้าน-นา-ป่า-น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญของชุมชนอันได้แก่ ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรดินและที่ดิน ทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรน้ำ 2) ชาวภูไท มีภูมิปัญญาในการจัดการเขตพื้นที่ทั้ง 4 เขต และทรัพยากรสำคัญทั้ง 4 ประการ เพื่อ ตอบสนองความต้องการในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยยึดหลักความสมดุลระหว่าง การบริโภคกับการบำรุงรักษา ภายใต้ค่านิยมของ “ความเคารพรัก” อันได้แก่ ความเคารพต่อกติกาสากล ของ ความเคารพตนเอง เคารพผู้อื่น เคารพธรรมชาติ และความเคารพต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ และเคารพต่อสากลคือสิ่งที่เป็นกลางที่ยอมรับ ได้จากทุกฝ่าย 3) เอกลักษณ์ของทำเลการตั้งถิ่นฐานและภูมิปัญญาในการจัดการ ทรัพยากรของชุมชน ก่อเกิดเป็นคุณค่าทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชาวภูไท อันแสดง ถึงความเจริญรุ่งเรื่องของสังคมมนุษย์ที่สอดประสานกับข้อจำกัดแห่งสภาพแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติresource and environment management of Phutai tribe, is focusing on cultural landscape and intangible heritage which related with knowledge and wisdom of natural and environment management of Phutai people in the Northeastern Region of Thailand. The cultural landscape of the research site can be divided into four zones under the concept of Baan-Na-Pa-Nam or Home-Farm-Forest-Water resource. Baan or living area is the place for human and living activities and Phutai philosophies are “peaceful coexisting” and “living together by respect”, Na is the place for agriculture that Phutai philosophy is ‘balancing of utilization by love’, Pa is the area of forest and mountain which is the place for supernatural things, and it is community natural resource bank that the philosophy is “respectful to consume and conserve”, and Nam is the place of watershed and water resource area that the research found this is the “mixture of the sets of Phutai knowledge and wisdom”. The research outcome helpful to understand this minority tribe traditional cultural landscape that can be a representative of the civilization them, that they can be adapt to the limitation of nature and improve the natural environment to suit their way of life. These processes of adaptations and improvements are created by knowledge of each human society for appropriate natural resource and environment management that suit for their society.