นวัตกรรมท้องถิ่นว่าด้วยการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลเมืองศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ปณัยกร บุญกอบ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยกฎหมายและปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

นวัตกรรมท้องถิ่น, การจัดทำงบประมาณรายจ่าย, การพัฒนาท้องถิ่น, Local Innovation, Expenditure Spending Budgetary, Local Initiative Development

บทคัดย่อ

นวัตกรรมท้องถิ่นเกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพลังขับเคลื่อนสู่ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง โดยประเทศไทยได้นำเอาระบบการปกครองท้องถิ่นมาใช้ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นพื้นฐานการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและต้องการให้ท้องถิ่นบริหารงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างตรงตามความต้องการและมีประสิทธิภาพ โดยใน ปัจจุบันการดำเนินงานของท้องถิ่นจะอยู่ภายในกรอบของแผนพัฒนาเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ซึ่งจะมีทั้งแผนพัฒนาระยะปานกลาง 5 ปี และแผนพัฒนาประจำปี โดยมีการกำหนดโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่จะดำเนินการไว้และนำไปเป็นแนวทางกำหนดการใช้จ่ายเงินในงบประมาณรายจ่ายประจำปีแต่ละปีเพื่อให้การพัฒนาท้องถิ่นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังไม่สามารถดำเนินการบริหารงานให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างเป็นระบบ เนื่องจากมีปัจจัยภายในหลายประการ เช่น อิทธิพลทางการเมืองท้องถิ่น รายได้ รายจ่ายที่ค่อนข้างจำกัดหรือข้อจำกัดในการจัดทำแผน ฯลฯ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นักวิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาประสิทธิภาพในการบริหารงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนของเทศบาลเมืองศรีสะเกษโดยอาศัยงบประมาณรายจ่ายประจำปี และแผนพัฒนาเทศบาลประจำปีเป็นกรอบในการศึกษา ใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ข้อมูลจากเอกสารทางราชการ หนังสือ บทความ คำบรรยาย และการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผลงานของนักวิชาการที่ได้เคยทำการศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวข้องไว้มาใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาและนำมาวิเคราะห์ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า เทศบาลเมืองศรีสะเกษมีการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557-2558 และการจัดทำเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี รวมถึงงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557-2558 เป็นไปตามแนวทางที่กฎหมายระเบียบ และหนังสือสั่งการกำหนดไว้ มีการคัดเลือกโครงการกิจกรรมจากแผนพัฒนาเทศบาล ระยะปานกลาง 5 ปี (พ.ศ.2553-2557) มาบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเทศบาลประจำปี 2557 และตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อดำเนินการ จำนวน 155 โครงการจากจำนวนโครงการในแผนพัฒนาเทศบาลประจำปี 2557 ทั้งสิ้น 250 โครงการ โครงการและกิจกรรมที่ปรากฏในแผนพัฒนาเทศบาลระยะปานกลาง 5 ปี เป็นโครงการที่ได้มาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการของประชาชน ประกอบกับนโยบายของหน่วยงานต่างๆ และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่นเอง โดยมีการจัดลำดับความสำคัญเพื่อดำเนินการ แต่โครงการ กิจกรรมเหล่านั้นมีลักษณะเป็นโครงการแบบเบ็ดเสร็จ ไม่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเป็นการแก้ไขปัญหาหรือสนองความต้องการเฉพาะเรื่องเฉพาะพื้นที่ ไม่ได้มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ถึงแม้เทศบาลเมืองศรีสะเกษ จะมีเงินคงเหลือตกเป็นเงินสะสมในปีงบประมาณ พ .ศ.2557 ถึง 61,082,738.93 บาท ก็ยังไม่สามารถนำโครงการ กิจกรรมในแผนมาดำเนินการได้ทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าเทศบาลยังมิได้ใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อท้องถิ่นอย่างแท้จริง

 

Local innovation is a form of local government designed to respond to the needs of each locality. Its form is always presumed to be effective and efficient. However, the real administration of municipal government may not be very effective and efficient as theoretically administration. This study focused only on the relationship between the budget for annual expenditures and the development plan of Sisaket municipality for budget year of 2014. This research found that the annual budgeting for 1997 is allocated within the framework of the Five-Year Municipal Development Plan during 2010-2014. This includes the municipal budget for 2014 and its additional budget allocated later on for the same budget year. From 250 projects which were earlier planned in the Five-Year Development Plan, 155 projects are chosen and its budgets are allocated accordingly. However, the project are implemented are completed within itself and therefore, are unrelated to the whole picture of development planning. The implementation was unsystematic and is not in continuity with one another, which means that the allocation budgets are not effectively maximized. The researcher recommends that the administration of municipal government would be effective if there is wider participation from local people and municipal regulations, concerning the budgeting process, are revised more properly, besides there should be periodic evaluation for project implementation significantly.

Downloads