ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างท้องที่กับท้องถิ่นในการพัฒนา ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจ, ท้องที่, ท้องถิ่น, การพัฒนา, Power Interaction, Village, Local Government, Development

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบ ลักษณะปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจ เงื่อนไขที่นำมาสู่ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจ และผลของปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่าง ท้องที่กับกับท้องถิ่นในการพัฒนาตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม ประชากรเป้าหมาย ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะผู้บริหารและสมาชิก สภาท้องถิ่น จำนวนทั้งสิ้น 39 คน ศึกษาจากประชากรทั้งหมด ใช้แบบสอบสัมภาษณ์ จัดประชุมกลุ่มย่อย เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการ วิเคราะห์เนื้อหา เชื่อมโยงแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบและ ลักษณะปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจในการพัฒนาตำบลระหว่างท้องที่กับท้องถิ่น มีหลาย รูปแบบ เช่น ขัดแย้ง ร่วมมือ แข่งขันหรือช่วงชิง และประนีประนอม โดยเงื่อนไขที่ นำมาสู่ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจ ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารท้องถิ่นสนใจการเมืองในองค์กรมากกว่าการแก้ปัญหาความเดือดร้อนในพื้นที่รับผิดชอบ 2) การแบกรับภาระ ของฝ่ายท้องที่ในการพัฒนาหมู่บ้านและตำบล โดยขาดการสนับสนุนจากเทศบาล 3) ผู้บริหารเทศบาลไม่ยอมรับแผนพัฒนาหมู่บ้านที่ฝ่ายท้องที่เสนอ 4) ผู้บริหารเทศบาล ขาดความจริงใจในการพัฒนาท้องถิ่น และ5) ขาดความโปร่งใสในการบริหาร งบประมาณเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนาท้องถิ่น เกิดการ กระจุกตัวของงบประมาณในการพัฒนาท้องถิ่น ขาดความจริงใจในการแก้ไขปัญหา ร่วมกัน เกิดการแบ่งพรรค แบ่งพวก

 

This research was aimed to study the patterns and character of power interaction, conditions leading up to the power interaction and effect of interaction between the villagers and Local Government in the development in Kham Reang sub-district, Kantharawichai, Maha Sarakham. The targets used in this research consisted of the local village leaders, village chief and executives members of the local council, which were 39 persons in total. The instruments included interview forms and focus group. The data collection conducted by using content analysis and theory concepts linking. The results showed that the patterns of power interaction and conditions leading to the power interaction has many forms such as; conflict, cooperation, competition or controversy and compromise. The conditions that led to power oriented interactions include 1) that local leaders were interested instead of solving the problems suffered in the area 2) that the loading of local village and district development lacks support 3) that the municipal development plan is not acceptable to the local villages 4) the lack of sincerity in municipal administration, rural development and 5) lack of transparency in the management of funds for local development that result of development were delay, integration of budget for local development and lack of sincerity in solving common problems and divided party.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads