สถานภาพฮูปแต้มอีสานศึกษา : อดีตจนถึงปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์

คำสำคัญ:

The Studies, The Status, Isan Mural Paintings, การศึกษา, สถานภาพ, ฮูปแต้มพื้นบ้านอีสาน

บทคัดย่อ

The Status of Isan Mural Studies : Past to Present

บทคัดย่อ          

บทความนี้เปนการนำเสนอสถานภาพของฮูปแต้มอีสาน โดยการศึกษาจากผลงานทางวิชาการที่มีต่อมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมประเภทฮูปแต้มอีสานจากเอกสารวิชาการ บทความวิชาการ หนังสือ รายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์ตั้งแต่อดีตจนถึง พ.ศ.2559 จากการศึกษาพบว่า ฮูปแต้มอีสานในการรับรู้ของคนสยามมีมานานอย่างน้อยก็ก่อนปีพ.ศ.2476 แต่จิตรกรรมฝาผนังในบริบทการศึกษาเชิงวิชาการเริ่มมีในปีพ.ศ.2502 โดยศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี  ต่อมา พ.ศ.2531-2540 ถือเป็นยุคทองของการศึกษาเชิงวิชาการปรากฏการณ์ที่สำคัญคือการที่สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในอีสานได้ท้าการศึกษาอย่างจริงจังทั้งการตีพิมพ์หนังสือของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต่อมา พ.ศ.2541-2550 งานศึกษาในยุคนี้ถือว่ามีความหลากหลายทั้งบทความวิชาการวิทยานิพนธ์และหนังสือนอกจากนั้นผู้ศึกษายังขยายกลุ่มไปยังนักวิชาการในหน่วยงานราชการอื่นๆซึ่งเดิมจำกัดอยู่ในกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาในส่วนเนื้อหามีความหลากหลายหรือเป็นพหุวิทยาทั้งมิติทางด้านวัฒนธรรมศาสตร์ศึกษาศาสตร์นิเทศศาสตร์ภาษาศาสตร์  ต่อมา พ.ศ.2551-2554 งานศึกษาในยุคนี้มีลักษณะที่หลากหลายเช่นการศึกษาเช่นเดียวกันกับยุคก่อนหน้าแต่มีการเน้นในแนวดิ่งมากขึ้นทั้งการศึกษามิติด้านการสื่อสารในวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตและการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างฮูปแต้มกับศิลปะแขนงอื่นตลอดจนความสนใจเข้ามาศึกษาของนักวิชาการชาวต่างชาติ ต่อมา พ.ศ.2555- 2559 งานศึกษาในยุคหลังนี้มีการศึกษาความสัมพันธ์ของฮูปแต้มในพื้นที่แอ่งวัฒนธรรมเดียวกัน การศึกษาที่เน้นการศึกษาเชิงลึกเฉพาะวัดเฉพาะประเด็น การศึกษาฮูปแต้มอีสานกับศิลปกรรมร่วมสมัยและการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมการศึกษาการอนุรักษ์และพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ และการศึกษาเชิงภูมิปญญาท้องถิ่นหรือเชิงประวัติศาสตร์  ต่อมา สถานภาพการศึกษาฮูปแต้มศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าฮูปแต้มอีสานยังคงเปน มรดกภูมิปญญาทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าต่อชุมชนและประเทศชาติที่ต้องมีการศึกษาต่อไปและจะมีแง่มุมที่น่าสนใจในอนาคต 

คำสำคัญ : การศึกษา; สถานภาพ; ฮูปแต้มพื้นบ้านอีสาน

Abstact

This article presented the state of Isan mural (huup taem) studies by examining academic works about the cultural inheritance of Isan mural paintings. Documentary research was conducted from academic articles, books, research reports and theses. The period studied was from the past to 2559 B.E. (2016 C.E.). The study revealed the following information. Huup taem had been recognized from Siam people for a long time. They were known before 2476 B.E. (1933 C.E.) at least. [did anyone write about them?] However, mural paintings in an academic context were studied at 2502 B.E. (1959 C.E.) by Professor Silpa Bhirasri. After, the period of 2531-2540 B.E. (1988 -1997 C.E.) can be considered the golden age. of academic studies of huup taem. Many higher educational institutions in Isan paid serious attention to murals and Chitrakam faphanang Isan  (E-sarn Mural Paintings) was published by Khon Kaen University, and master thesis of Maha Sarakham University were submitted. During the period 2541-2550 B.E. (1998-2007 C.E.), there were many articles, dissertations, and books on this topic. Furthermore, people from other government institutions rather than higher education were interested in the study of Isan mural paintings. In terms of content, the subject matter was very diverse and included cultural studies, education, law and linguistics, resulted in a broadening of education. In the period of 2551-2554 B.E. (2008-2011 C.E), the studies were as varied as in the previous time. However, the studies now focused deeply in more detail and included doctoral dissertations and the relationship between mural paintings and other forms of art.  In addition, an increasing number of foreign researchers became interested in huup taem.  During the years, 2555-2559 B.E. (2012-2016 C.E.), there were studies of the relationship between mural paintings in the same cultural area. There were various studies, for example the in-depth studies in specific issues, the study of Isan mural paintings, contemporary art and cultural capital development, the studying for conservation and development of cultural capital, the comparative studies as well as local wisdom or historical studies. This survey of the state of Isan mural studies from the past to the present shows that these paintings are still a cultural inheritance for communities and the country. Further studies are required as there will be interesting research findings in the future. 


Keywords : The Studies; The Status; Isan Mural Paintings


Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-09-05