ความรับผิดของแพทย์ผู้ให้บริการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558

ผู้แต่ง

  • พรชัย สุนทรพันธุ์

คำสำคัญ:

Act, Children Born by Technology, Medical Liability, พระราชบัญญัติ, เด็กที่เกิดโดยเทคโนโลยี, ความรับผิดทางแพทย์

บทคัดย่อ

Medical Practitioners’ Liability Accroding to the Protection of Children Born by Assisted Reproductive Technology in Medical Science Act B.E. 2558

บทคัดย่อ

ปกติแล้วหากหญิงคนใดตั้งครรภ์และคลอดบุตรออกมาบุตรนั้นย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างมารดากับบุตร แต่ต่อมาปรากฎว่ามีภาวะทางสังคมเปลี่ยนไปทำให้สามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายไม่สามารถมีบุตรได้ตามธรรมชาติประกอบกับวิวัฒนาการทางการแพทย์ได้มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นและมีแนวความคิดที่จะช่วยเหลือสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์จะมีบุตร แต่ไม่สามารถมีบุตรได้ตามธรรมชาติโดยสาเหตุอาจจะเกิดมาจากฝ่ายสามีหรือภริยา จึงเกิดการนำเชื้ออสุจิของสามีและไข่ของภริยามาทำการปฏิสนธินอกร่างกายจนเกิดเป็นตัวอ่อนและนำตัวอ่อนเข้าไปอยู่ในครรภ์ของหญิงอื่นโดยรับอาหารจากร่างกายของหญิงอื่นนั้นและหญิงผู้ตั้งครรภ์คลอดบุตรออกมาเช่นนี้ก็เกิดปัญหาตามมาว่าเด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีภริยาผู้เป็นเจ้าของเชื้ออสุจิและไข่หรือเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงผู้ตั้งครรภ์และคลอดบุตรออกมา ประเด็นปัญหานี้ในปัจจุบันได้มีการแก้ไขกฎหมายโดยเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 ซึ่งเป็นมาตราหลักที่ระบุว่าเด็กเกิดจากครรภ์ของหญิงคนใดย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น แต่ก็มีข้อยกเว้นว่าเว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นและต่อมาได้มีพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 ถือเป็นกฎหมายยกเว้นกฎหมายดังกล่าว นั่นคือหญิงผู้ตั้งครรภ์แทน แม้ต่อมาจะคลอดบุตรออกมาบุตรนั้นก็หาใช่บุตร ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้นแต่อย่างใดไม่แต่ให้ถือเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ประสงค์จะมีบุตรนั้น  อย่างไรก็ตามปัญหาที่อาจจะเกิดตามมา คือ ผู้รับบริการตามพระราชบัญญัตินี้ ได้รับความเสียหายจากการให้บริการของแพทย์ แพทย์ต้องรับผิดในทางแพ่งหรือทางอาญาต่อผู้รับบริการหรือไม่ โดยในประเด็นนี้ผู้เขียนได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่าหากแพทย์ผู้ให้บริการได้ให้บริการแก่ผู้รับบริการตามมาตราฐานทางด้านวิชาชีพแพทย์หรือจรรยาบรรณของแพทย์แล้ว แพทย์ผู้ให้บริการย่อมหลุดพ้นความรับผิดต่อผู้รับบริการทั้งทางแพ่งและทางอาญา

คำสำคัญ : พระราชบัญญัติ; เด็กที่เกิดโดยเทคโนโลยี; ความรับผิดทางแพทย์ 

Abstract

            Normally, a child will be a legitimate child of a woman if he or she was conceived or born from that mother. A legitimate child and the mother possess rights and duties to each other. Due to the changing society, the medical technic can help a mother who has been legally married but unable to conceive a baby or bare a child either because of mother or father. This can be done by fertilizing a woman’s egg with men’s sperm outside the body, in a laboratory dish, and then implanting it in another woman's uterus until giving birth to that child. The legal problem is the new born baby is the legitimate child of the egg’s and sperm’s owners or of the women who gave birth. Nowadays, Section 1546 of the Civil and Commercial Code states that a child born of a woman who is not married to a man is deemed to be the legitimate child of such woman provided that there is other law states otherwise. Then, the Protection of Children born by Assisted Reproductive Technology (ART) in Medical Science Act B.E. 2558 has been enacted as the exception to Section 1546 of the Civil and Commercial Code. The result is that the new born baby is the legitimate child of the egg’s and sperm’s owners, not of the women who gave birth to that child. However, if the service receiver under the Act has been injured, does the medical practitioner as a service provider have any civil or criminal liability? Researcher found that if the medical service is done according to the medical professional standard or the medical ethics, such medical practitioner shall be free from all civil and criminal liability

Keywords: Act; Children Born by Technology; Medical Liability


 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-09-06