เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ขอความอนุเคราะห์เจ้าของบทความหรือผู้แต่งบทความ กรอก เบอร์โทรศัพท์มือถือ ที่สามารถติดต่อได้ ในช่องข้อความถึงบรรณาธิการ ในขั้นตอนแรกที่ได้ส่งบทความเข้าระบบของ ThaiJo เพื่อกองบรรณาธิการจะได้บันทึกไว้เพื่อเป็นข้อมูลในการประสานงานระหว่าง กองบรรณาธิการวารสาร และผู้แต่งในกรณีที่ต้องติดต่อเร่งด่วน
  • วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้ดำเนินการจัดทำภายใต้เกณฑ์คุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) และกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อเข้าสู่การรับรองคุณภาพจาก TCI
  • ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ  เนื่องจากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานในปัจจุบัน ได้รับการสนับสนุนจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ผู้เขียนบทความต้องปฏิบัติตามกระบวนการของกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยห้ามนำบทความที่ได้รับการประเมินจากกระบวนการผู้ทรงคุณวุฒิของกองบรรณาธิการแล้ว นำไปแก้ไขและส่งไปวารสารอื่นเพื่อพิจารณาตีพิมพ์

การเตรียมต้นฉบับ

  1. ความยาวของเนื้อหาต้นฉบับต้องมีความยาว 20-24 หน้ากระดาษขนาด B5 (รวมตาราง แผนภาพ และบรรณานุกรม)
    ต้นฉบับภาษาไทยใช้อักษร TH SarabunPSK 16 พอยท์ ต้นฉบับภาษาอังกฤษใช้ Time New Roman ขนาด 12 พอยท์
  2. การตั้งค่าหน้ากระดาษตั้งค่าขอบกระดาษทุกด้านเว้นระยะ 1 นิ้ว และให้ระบุเลขกำกับทุกหน้าบริเวณมุมขวาบน
  3. ส่วนประกอบของต้นฉบับบทความประกอบด้วย

          3.1  ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียนทุกคน และสถานที่ทางาน (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

          3.2  บทคัดย่อความยาวไม่เกิน 250 คำ และคำสำคัญ 3-5 คำ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

          3.3  เนื้อเรื่อง

                  3.3.1  บทความวิจัย ประกอบด้วย ที่มาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ สมมติฐาน (ถ้ามี) กรอบแนวคิด (ถ้ามี) วิธีการวิจัย ผลการศึกษา สรุปและอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง

                  3.3.2  บทความวิชาการประกอบด้วยบทนำหัวข้อเนื้อหาที่นำเสนอบทวิเคราะห์สังเคราะห์ทางวิชาการ บทสรุป ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง

  1. การอ้างอิง

           ทุกบทความไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษใช้การอ้างอิงตามรูปแบบ APA 6th edition ทั้งการอ้างอิงในเนื้อหาและรายการอ้างอิงท้ายบทความ ใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 พอยท์ ตัวปกติ จัดชิดซ้าย

           รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหาใช้วิธีการอ้างอิงแบบนาม-ปี โดยระบุชื่อผู้แต่งและปีที่พิมพ์ไว้ด้านหน้าหรือหลังของข้อความที่อ้างอิงคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค(,) หากเป็นการอ้างอิงแบบคัดลอกความต้องระบุเลขหน้าด้วย

ตัวอย่าง

           ราชบัณฑิตยสถาน (2554, น. 26)...... หรือ ...... (ราชบัณฑิตยสถาน,2554, น. 26)

           Creswell & Smith (2018)...... หรือ ...... (Creswell & Smith,2018)

           รูปแบบรายการอ้างอิงท้ายบทความให้รวบรวมรายการอ้างอิงทั้งหมดไว้ท้ายบทความโดยเรียงลาดับตามตัวอักษรของชื่อผู้แต่งโดยเรียงชื่อผู้แต่งชาวไทยไว้ก่อนชาวต่างชาติ

ตัวอย่าง

หนังสือ

          ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง.(ครั้งที่พิมพ์).สถานที่พิมพ์:สานักพิมพ์.

สุรชาติ พุทธิมา. (2558). บรรณานุกรม ดรรชนีและสาระสังเขป.(พิมพ์ครั้งที่2). เชียงใหม่:

          มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Creswell, J. W. (2008). A concise introduction to mixed methods research. California: SAGE.

 บทความวารสาร

          ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า.

ไชยวุธ โกศล. (2561). ดนตรีหนังตะลุงในจังหวัดสงขลา: ความเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน.

          วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,5(2),39-49.

Pornumpaisakul, N. & Yenbutra, P. (2018). Synthesis of researches in teaching Thai as a foreign                language. KKU  International Journal of Humanities and Social Sciences, 8(2), 109-151.

เอกสารการประชุมวิชาการ

          ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บ.ก.) (ถ้ามี),ชื่อการประชุม, (น.). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

          ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2549). การศึกษาไทยในยุคปัจจุบัน. ใน กนกวรรณ สินสุข (บ.ก.), รายงานการสัมมนาเรื่องการศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์,(น.12-19). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

          Afolabi, A. F. & Abidoye, J. A. (2011). The integration of information and communication technology in library operations towards effective library services. In proceeding of the the 1stInternational Technology, Education and Environment Conference.(pp. 620-628),The International Conference on Teaching, Learning and Change 2011, Omoku, Nigeria. Retrieved fromhttp://www.hrmars.com/admin/pics/267.pdf

บทความหรือบทในหนังสือ

          ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บ.ก.) (ถ้ามี),ชื่อ   หนังสือ, (น.). สถานที่                             พิมพ์: สำนักพิมพ์.

          บุณฑริกา เจริญชินวุฒิ. (2559). การศึกษาวิธีการผลิตและการบรรเลงขิม กรณีศึกษา นายวินิจ พุกสวัสดิ์.   
                     ใน หนังสือรวมบทความวิจัยของการประชุม วิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 6: อัตลักษณ์แห่ง                                 เอเชีย 2016, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 17 มิ.ย. 2559, (น. 1220 -1228).                             กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

          Bates, A., Shifflet, R. & Lin, M. (2013). In Hattie, J. & Anderman, E. M. (eds.),   International                             Guide  to  Student Achievement.(pp.7-9). New York, NY: Rutledge.

วิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์

          ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับวิทยานิพนธ์ สาขาวิชา คณะ มหาวิทยาลัย

          สุจิรา อัมรักเลิศ. (2547). การดำเนินงานห้องสมุดดิจิทัลในสถาบันอุดมศึกษา สังกัด ทบวงมหาวิทยาลัย.                             วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และ  สารนิเทศศาสตร์ คณะอักษร                           ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

          Choemprayong, S. (2010). The transition of worldviews: Collective information behavior during                       the  2006  Thai Coup D’état. Doctor of Philosophy (Information and Library Science)                               University of North Carolina at Chapel Hill North Carolina, USA.

แหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

                   ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์) ชื่อบทความ. สืบค้นจาก URL

          สำนักโฆษกกลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่.(2560, พฤษภาคม 5). ข่าวทำเนียบรัฐบาล. สืบค้นจาก                                     http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/ 3545

          Holland, B. (2015, January 14). 21st century libraries: The leaning commons. Retrieved from                           https://www.edutopia.org/blog/21st-century-libraries-learning-commons-beth-holland

 

**** การส่งต้นฉบับจัดส่งต้นฉบับที่พิมพ์ตามข้อกำหนดของรูปแบบวารสารที่เว็บไซต์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/husocjr/index