เกี่ยวกับวารสาร
เป้าหมายและขอบเขต (Focus and Scope)
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย บทความทางวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยตามจำแนกตามกลุ่มดังต่อไปนี้
- ภาษาวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์
- ศิลปกรรม ดนตรี และนาฏศิลป์
- ปรัชญาและศาสนา
- การเมืองการปกครอง การพัฒนาชุมชน และกฎหมาย
- สหวิทยาการจัดการเรียนรู้
- สารสนเทศศาสตร์ ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
โดยตีพิมพ์ทั้งแบบรูปเล่มตีพิมพ์ (Print) เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรก ปี พ.ศ.2562 ISSN 2730-2873 (Print) และวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ISSN 2822-0234 (Online) ทั้งนี้เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นทางวิชาการและวิจัยแก่นักวิชาการ อาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย ตลอดจนบุคคลทั่วไปทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่มีความสนใจทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์
- บทความวิจัย
- บทความวิชาการ
กำหนดออก (Publication Frequency)
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ คือ
- ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – มิถุนายน
- ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม
กระบวนการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review Process)
บทความทุกบทความต้องผ่านการพิจารณาโดยกองบรรณาธิการของวารสาร และได้รับการตรวจอ่านจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน/บทความ (Double blind) ตามสาขาวิชานั้น ๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องที่มาจากหลากหลายสถาบัน ทั้งนี้ผู้เขียนต้องปรับปรุง แก้ไขบทความตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อเสนอแนะก่อนตีพิมพ์ หากบทความไม่ผ่านการพิจารณา กองบรรณาธิการจะแจ้งผลให้ทราบ แต่จะไม่ส่งต้นฉบับคืนให้แก่ผู้เขียน
รูปแบบการเขียนบทความ (๋Journal template)
ดาวน์โหลดเทมเพลตสำหรับเขียนบทความตามรูปแบบวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้ที่ --> Guideline for manuscript preparation
ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ
ปัจจุบันวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
จึงไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ
หมายเหตุ
* กองบรรณาธิการทรงไว้ซึ่งสิทธิในการพิจารณาและตัดสินการลงตีพิมพ์ในวารสาร
** ทัศนะและข้อคิดเห็นที่ปรากฎในบทความต่าง ๆ ของวารสารเป็นของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และมิใช่ความรับผิดชอบของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่