จริยธรรมการตีพิมพ์เผยแพร่บทความสำหรับการดำเนินงานของวารสารมนุษยศาตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ดังนี้

บทบาทหน้าที่ของผู้เขียนบทความ

     1.   ผู้เขียนต้องเขียนบทความให้มีความสมบูรณ์ถูกต้อง โดยยึดตามรูปแบบของวารสารที่กำหนด

     2.   ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่ของผู้เขียนบทความ และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน (ไม่ว่าจะภาษาใด ๆ) และไม่อยู่ในระหว่างการส่งไปวารสารอื่นเพื่อพิจารณาตีพิมพ์

     3.   ผู้เขียนไม่คัดลอกผลงานวิชาการของผู้อื่น และต้องรับรองว่าข้อมูลทั้งหมดของบทความไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา

     4.   ผู้เขียนบทความต้องมีการอ้างอิงทั้งส่วนเนื้อหา และรายการอ้างอิงท้ายบทความเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาอ้างอิงให้ถูกต้อง

     5.   บทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการวิจัยในมนุษย์ ควรผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน (ถ้ามี) โดยผู้เขียนต้องแนบหลักฐานการรับรองจากคณะกรรมการมาพร้อมบทความที่ส่งให้กับกองบรรณาธิการหากมีการร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดทางจริยธรรมการวิจัยและกองบรรณาธิการได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีการละเมิดจริง ผู้เขียนบทความจะต้องถอนบทความ

     6.   ผู้เขียนบทความที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการทำวิจัยเรื่องนั้นจริง

     7.   บทความที่ได้เข้าสู่กระบวนการกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว หากผู้เขียนบทความมีความประสงค์ขอยกเลิกการตีพิมพ์บทความ ผู้เขียนต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่วารสารได้ดำเนินการไปแล้ว

     8.  บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่” ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

 

บทบาทหน้าที่ของทีมบรรณาธิการ

     1.  ที่ปรึกษาวารสารมีหน้าที่พิจารณาให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดำเนินงานด้านวารสารวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

     2.  บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่เป็นแกนหลักเป็นหัวหน้าทีมกองบรรณาธิการในการพิจารณาและตรวจสอบบทความ พิจารณาความสอดคล้องของเนื้อหาบทความกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสาร รวมถึงตรวจสอบประเมินคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์เผยแพร่ต้องไม่ละเมิดกฎหมายและทรัพย์สินทางปัญญา และปฏิเสธการตีพิมพ์บทความที่เคยเผยแพร่ที่อื่นมาแล้ว โดยไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความโดยใช้เหตุผลและความรู้สึกส่วนตัว

     3.  จัดหากองบรรณาธิการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่กำหนดตามนโยบายของวารสาร รวมทั้งเปิดเผยชื่อและสังกัดที่ถูกต้องของกองบรรณาธิการในเว็บไซต์ของวารสาร

     4.  ให้ข้อมูลการติดต่อที่ถูกต้องของวารสาร และข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการส่งบทความอย่างชัดเจนในเว็บไซต์ของวารสาร

     5.  ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนบทความและผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ในทุกกรณี

     6.  ตีพิมพ์เผยแพร่บทความที่ผ่านกระบวนการประเมินจากผู้ประเมินบทความแล้วเท่านั้น

     7.  ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความ ผู้ประเมินบทความและกองบรรณาธิการ

     8.  ตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่นในบทความอย่างเคร่งครัด หากพบการคัดลอกผลงานดังกล่าวจะต้องหยุดกระบวนการประเมินบทความ และติดต่อผู้เขียนบทความหลักเพื่อขอคำชี้แจง

     9.  ตรวจสอบขั้นตอนการประเมินบทความของวารสารให้เป็นความลับ มีความเป็นธรรม ปราศจากอคติ และตรงตามเวลาที่กำหนด

    10. ดำเนินการออกวารสารให้ตรงตามเวลาที่กำหนด

 

บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ

     1.  ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องในระหว่างการประเมินบทความ

     2.  ผู้ประเมินบทความต้องไม่แสวงหาประโยชน์และมีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียนบทความที่ตนเองได้ทำการประเมิน

     3.  ต้องตระหนักว่าตนเองเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของบทความที่รับประเมินอย่างแท้จริง

     4.  ประเมินบทความในสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญด้านเนื้อหาบทความบนพื้นฐานความเป็นจริงตามหลักวิชาการ เป็นกลาง ไม่มีอคติ

     5.  หากมีข้อสงสัยว่าข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความมีความเหมือนหรือซ้ำซ้อนกับผลงานอื่น ๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที

     6.  ผู้ประเมินบทความต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามระยะเวลาที่วารสารกำหนด