ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

ข้อกำหนดในการส่งต้นฉบับบทความเพื่อตีพิมพ์ (Author Guidelines)

       เรื่องที่จะเสนอตีพิมพ์บทความที่รับตีพิมพ์ต้องเป็นบทความวิจัย บทความทางวิชาการ หรือบทวิจารณ์หนังสือทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องเป็นบทความที่ไม่เคยเผยแพร่หรือตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อนและไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์

การเตรียมต้นฉบับ

1.  ความยาวของเนื้อหาต้นฉบับต้องมีความยาว 20-24 หน้ากระดาษขนาด B5 (รวมตาราง แผนภาพ และบรรณานุกรม) ต้นฉบับภาษาไทยใช้อักษร TH SarabunPSK 16 พอยท์ ต้นฉบับภาษาอังกฤษใช้ Time New Roman ขนาด 12 พอยท์

2.  การตั้งค่าหน้ากระดาษตั้งค่าขอบกระดาษทุกด้านเว้นระยะ 1 นิ้ว และให้ระบุเลขกำกับทุกหน้าบริเวณมุมขวาบน

3.  ส่วนประกอบของต้นฉบับบทความประกอบด้วย

     3.1  ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียนทุกคน และสถานที่ทำงาน (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

     3.2  บทคัดย่อความยาวไม่เกิน 250 คำ และคำสำคัญ 3-5 คำ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

     3.3  เนื้อเรื่อง

            3.3.1  บทความวิจัย ประกอบด้วย ที่มาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ สมมติฐาน (ถ้ามี) กรอบแนวคิด (ถ้ามี) วิธีการวิจัย ผลการศึกษา สรุปและอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง

           3.3.2  บทความวิชาการประกอบด้วยบทนำหัวข้อเนื้อหาที่นำเสนอบทวิเคราะห์สังเคราะห์ทางวิชาการ บทสรุป ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง

4.  การอ้างอิง

           ทุกบทความไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษใช้การอ้างอิงตามรูปแบบ APA 6th edition ทั้งการอ้างอิงในเนื้อหาและรายการอ้างอิงท้ายบทความ ใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 พอยท์ ตัวปกติ จัดชิดซ้าย

           รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหาใช้วิธีการอ้างอิงแบบนาม-ปี โดยระบุชื่อผู้แต่งและปีที่พิมพ์ไว้ด้านหน้าหรือหลังของข้อความที่อ้างอิงคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค(,) หากเป็นการอ้างอิงแบบคัดลอกความต้องระบุเลขหน้าด้วย

           รายการอ้างอิงภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช้ระบบตัวอักษรละติน (Non-latin scripts) เช่น ภาษากรีก ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี เป็นต้น จะต้องมีการแปลภาษาอังกฤษกำกับ ชื่อผู้เขียนจะต้องมีชื่อภาษาอังกฤษกำกับ และชื่อเรื่องจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษในวงเล็บเหลี่ยม [ ] กำกับเสมอ

ตัวอย่าง

Grigoris Markou Γρηγόριος Μάρκου, “Ο πολιτικός λόγοςτης ριζοσπαστικής αριστεράς στην Ευρώπη: Οιπεριπτώσεις του ΣΥΡΙΖΑ και του Front de Gauche (Εκλογές 2012)” [The Political Discourse in Europe: the case of SYRIZA and Front de Gauche (Election 2012)] (Master Thesis, Aristotle University of Thessaloniki,2015), 25.