การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภูมิศาสตร์ เรื่อง ประชากรในทวีปยุโรป โดยใช้ชุดสื่อประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนธรรมราชศึกษา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภูมิศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังการเรียนรู้ รายวิชาภูมิศาสตร์ เรื่อง ประชากรในทวีปยุโรป โดยใช้ชุดสื่อประดิษฐ์ และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ประชากรในทวีปยุโรป โดยใช้ชุดสื่อประดิษฐ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนธรรมราชศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 26 คน คัดเลือกโดยวิธีการเลือกแบบสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภูมิศาสตร์ เรื่อง ประชากรในทวีปยุโรป โดยใช้ชุดสื่อประดิษฐ์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 หลังการเรียนรู้เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเรียน ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.58 (S.D.= 1.78) และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 และผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 (S.D.= 0.53)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
* กองบรรณาธิการทรงไว้ซึ่งสิทธิในการพิจารณาและตัดสินการลงตีพิมพ์ในวารสาร
** ทัศนะและข้อคิดเห็นที่ปรากฎในบทความต่าง ๆ ของวารสารเป็นของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ
และมิใช่ความรับผิดชอบของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
References
กรมวิชาการ. (2542). แนวการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมชน สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
นวิภารัตน์ วงศ์อยู่. (2553). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. สืบค้นจาก http://satit.mhesi.go.th/dataS/OHEC_document/201807121546.pdf
ณัฐริณีย์ ประจิตร เอธัส ศิลารักษ์ และ เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาสังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์ เรื่องทวีปอเมริกาเหนือ โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการครุศาสตร์ตร์สวนสุนันทา. 6(1), 33-45.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พระวชิรญาณ์ เต็งวราภรภัทร พิทักษ์ นิลนพคุณ และบุญเรือง ศรีเหรัญ. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พุทธประวัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดสื่อประสม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมป์. 9(3), 133-145.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2541). สังคมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน. วารสารศึกษาศาสตร์, 1(2), 76-78.
สุนันทา ยินดีรมย์ บุญเรือง ศรีเหรัญ และชาตรี เกิดธรรม. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสื่อการสอน เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(2), 66-68. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/download/25761/21874/56739
อาภรณ์ ชุนดี. (2563). สื่อประดิษฐ์ยังมีความจำเป็นหรือไม่ในยุคดิจิทัล. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 1(1), 64-75.
Helen D. Hazen & Heike C. Alberts. (2021) Innovative Approaches to Teaching in Geography, The Geography Teacher, 18:1, 1-2, DOI: 10.1080/19338341.2020.1861549
Puspitarini, Y. D., & Hanif, M. (2019). Using Learning Media to Increase Learning Motivation in Elementary School. Anatolian Journal of Education, 4(2), 53-60. https://doi.org/10.29333/aje.2019.426a
Ritthikraivorakul, P. (2017). The Development of learning achievement and group work abilities on the geography of Europe and Africa of Mathayomsuksa 2 Students using inquiry based learning and graphic organizer technique. Veridian E-Journal, 10 (2), 1379-1398.