วิเคราะห์การจัดตั้งและการสิ้นสุดของพรรคการเมืองไทย ภายใต้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560

Main Article Content

อาจารย์เอนก สุขดี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดตั้งและการสิ้นสุดของพรรคการเมืองไทยภายใต้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะ แนวทางในการจัดตั้งและการสิ้นสุดของพรรคการเมือง การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 แม้จะมีเจตนารมณ์ที่ดีในการสร้างพรรคการเมืองให้มีความเป็นสถาบัน แต่กลับมีบทบัญญัติที่ทำให้การจัดตั้งพรรคการเมืองยากขึ้นกว่าเดิม ส่งผลกระทบต่อพรรคการเมืองโดยเฉพาะพรรคขนาดเล็กที่จะต้องจัดหาสมาชิก ทุนประเดิมและให้สมาชิกชำระค่าบำรุงพรรคการเมืองให้ครบตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดจึงจะสามารถจัดตั้งพรรคการเมืองได้ 2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มีการบัญญัติเหตุและเงื่อนไขจำนวนมากที่จะทำให้ยุบพรรคการเมืองได้ง่ายและปฏิบัติได้ยาก โดยเหตุในการยุบพรรคการเมืองส่วนใหญ่เป็นเหตุเล็กน้อยหรือเป็นเรื่องทางเทคนิคหรือการไม่ปฏิบัติตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดซึ่งแตกต่างจากในต่างประเทศมุ่งเน้นเหตุในการยุบพรรคการเมืองที่จะต้องเป็นเรื่องที่ร้ายแรงที่กระทบต่อรูปแบบการปกครองประเทศหรือส่งผลต่อความมั่นคง เขตแดนหรือการดำรงอยู่ของรัฐเท่านั้น 3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการจัดตั้งและการสิ้นสุดของพรรคการเมือง คือ บุคคลที่รวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองควรจะมีความพร้อมทั้งด้านสมาชิก เงินทุนและเวลาและต้องดำเนินการตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด เนื่องจากการยุบพรรคการเมืองเป็นการตัดสิทธิทางการเมืองของประชาชนผู้เป็นเจ้าของพรรค ดังนั้น มาตรการในการยุบพรรคการเมืองจะต้องกระทำโดยเคร่งครัด ด้วยความรอบคอบ ควรมีเหตุผลรวมทั้งมีพยานหลักฐานสนับสนุนเพียงพอที่จะเอาผิดกับพรรคการเมืองที่ถูกกล่าวหานั้นได้ ทั้งนี้ รัฐควรนำมาตรการที่มีความรุนแรงน้อยกว่าการยุบพรรคการเมืองมาปรับใช้และเห็นควรลดเหตุแห่งการสิ้นสภาพพรรคการเมืองและการยุบพรรคการเมืองลงให้เหลือเฉพาะเหตุที่รุนแรงเท่านั้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิติมา แก้วนะรา. (2559). หลักความได้สัดส่วนกับบทกำหนดโทษที่เหมาะสมสำหรับผู้กระทำความผิด ในคดียาเสพติดให้โทษ: ศึกษากรณีแอมเฟตามีน. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

กิตติศักดิ์ หนูชัยแก้ว. (2565). การยุบพรรคการเมืองตามระบบกฎหมายไทย. วารสารบทบัณฑิตย์, 78(4), 30-67.

คเชนท์ พันนุมา. (2564). ปัญหาทางกฎหมายในการจัดตั้ง การสิ้นสภาพและการยุบพรรคการเมือง. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 8(2), 115-124.

คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแหงชาติที่ 13/2561 เรื่องการดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง (เพิ่มเติม). (2561, 14 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนพิเศษ 225 ง, หน้า 24-29.

ฉัตรชัย ศรีเมืองกาญจนา. (2562). เหตุแห่งการสิ้นสุดของพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร.

ณรงค์เดช สรุโฆษิต. (2554). แนวทางปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ไทยพับลิก้า. (2563). 22 ปี ศาล รธน. ยุบ 110 พรรค. สืบค้นจาก https://www.thaipublica.org/2020/02/thailand-election-2562-85.

ทวี สุรฤทธิกุล และเสนีย์ คำสุข. (2554). พรรคการเมืองกับกระบวนการทางการเมืองไทย. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธนัญกรณ์ โอวาทกิจ. (2560). เหตุแห่งการสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง: ศึกษาเปรียบเทียบ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2558). การยุบพรรคการเมืองโดยองค์กรวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

ประกาศคณะกรรมนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การยุบพรรคไทยรักษาชาติ. (2562, 1 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนพิเศษ 80 ง, หน้า 25.

ประกาศคณะกรรมนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การยุบพรรคอนาคตใหม่. (2563, 5 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 107 ง, หน้า 60.

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560. (2560, 7 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 105 ก, หน้า 1–41.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก, หน้า 1–90.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2559). ประชาธิปไตยไทยในทศวรรษ 21: ทางตัน ทางออกและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2550). แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

วัลลียา ไชยศิริ. (2547). เสรีภาพในการจัดตั้งและการดําเนินกิจการของพรรคการเมือง. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2557). ปัญหาหลักของพรรคการเมืองไทยคือพรรคของนายทุน. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/Prof.SombatThamrongthanyawong.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2566). ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2566. สืบค้นจาก https://www.ect.go.th/ect_th/download/article/article_20230607122751.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2563). ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 1 กันยายน 2563. สืบค้นจาก https://www.ect.go.th/ect_th/

ewt_dl_link.php?nid=8168.

เสนีย์ คำสุข และอเนก สุขดี. (2564). ปัญหา อุปสรรคในการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองไทยภายใต้ กฎหมายพรรคการเมือง พ.ศ. 2560. Journal of Modern Learning Development, 6(1), 196–209.

สุมาลี บุญเรืองและพระอโณทัย กตปญฺโญ (อุ่นเรือน). (2564). การยุบพรรคการเมือง: การตัดสิทธิทางการเมืองของประชาชน. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 6(4), 124-140.

สุจิต บุญบงการ. (2547). กฎหมายพรรคการเมือง : โอกาสและข้อจำกัดในการส่งเสริมและพัฒนาพรรคการเมือง. สืบค้นจาก http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=702.

อเนก สุขดี. (2565). วิเคราะห์พรรคการเมืองไทยภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปัจจุบัน. วารสาร สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 5(2), 236-258.

อเนก สุขดี. (2564). การเปลี่ยนแปลงของพรรคการเมืองการเมืองไทยภายหลังการนำบทบัญญัติว่าด้วยพรรคการเมืองของกฎหมายพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2560 ไปปฏิบัติ. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 12(1), 135–156.

อเนก สุขดี. (2563). ผลกระทบของบทบัญญัติในกฎหมายพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2560 ต่อการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมืองไทย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2563 (หน้า 294-305). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

อเนก สุขดี. (2556). การก่อตั้งและบทบาททางการเมืองของสาขาพรรคการเมืองไทยภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 2(1), 72–89.