ความสามารถการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาไทยในประเทศจีน กรณีศึกษา นักศึกษาภาควิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยรังสิต

Main Article Content

ณัฐฌาภรณ์ เดชราช
กัลยรัตน์ แก้วคง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาไทยในประเทศจีน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาไทยในประเทศจีน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 38 คน เพศชาย 3 คน เพศหญิง 35 คน เป็นนักศึกษาไทยในโครงการ 2+2 2+1+1 และ 3+1 ของภาควิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยรังสิต โดยเข้าร่วมโครงการแบบ 2 ปี (โครงการ 2+2) จำนวน 13 คน และเข้าร่วมในโครงการแบบ 1 ปี ( 2+1+1 และ 3+1) จำนวน 25 คน ผลวิจัยพบว่า ความสามารถการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาไทยอยู่ในเกณฑ์มากทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมใหม่มีค่าเฉลี่ยการปรับตัวเท่ากับ 3.70 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.89 2) ด้านการยอมรับและเข้าใจความแตกต่างมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.69 3) ด้านการสร้างเครือข่ายจิตวิทยาสนับสนุน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 4) ด้านการสื่อสารอย่างกระตือรือร้นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.75 5) ด้านการรักษาทัศนคติเชิงบวกมีค่าเฉลี่ย 4.08 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.45 และแนวทางในการพัฒนาความสามารถการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม 5 ด้าน คือ 1) การเข้าสังคม 2) การสื่อสาร 3) การจัดการอารมณ์ 4) ความคิดสร้างสรรค์ และ 5) การมีทัศนคติเชิงบวก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฏฐ์ชุดา ชูตระกูล. (2564). การปรับตัวทางด้านการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของชาวไทยที่อาศัยอยู่ในเมืองออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ. นิเทศศาสตรปริทัศน์, 25(2), 62-76.

ณัฐฌาภรณ์ เดชราช, ปิยวรรณ เพ็งนรพัฒน์ และปัถต์ ยอดระบำ. (2564). การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาโครงการศึกษาต่อเนื่อง 2+2 และ 3+1 ภาควิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารรามคำแหงฉบับมนุษยศาสตร์, 40(1), 1-22.

บุษยากร ตีระพฤติชัยกุล. (2561). ปัญหาการสื่อสารและการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของชาวต่างชาติในสถาบันการศึกษาจังหวัดเพชรบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(50), 189-212.

พัชรพล ชื่นจิตร และ Yilan Wu. (2565). การวิเคราะห์ปัญหาการปรับตัวทางวัฒนธรรมของครูอาสาสมัครชาวจีนในประเทศไทย. วารสารพิกุล, 20(2), 1-25.

พิณนภา หมวกยอด และ ศนิ ไทรหอมนวล. (2563). การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นวัยหลังเกษียณในจังหวัดเชียงใหม่ : กระบวนการและแนวทางในการปรับ.วารสารจิตวิทยาคลินิก, 51(2), 40-54.

มัญชรี โชติรสฐิติ. (2556). การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักเรียนไทยในต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารประยุกต์ คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เมตตา วิวัฒนานุกุล. (2559). การปรับตัวทางด้านวัฒนธรรมของคนไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กรณีศึกษาช่อง YouTube “PEACHII” Cultural Adjustment of Thai Residents in London, United Kingdom: A Case Study from “PEACHII” in the YouTube Channel. ใน เอกสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. (น. 341-355). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อัลณิกา สายน้ำเย็น. (2563). ปัญหาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและการปรับตัวของนักศึกษาแลกเปลี่ยนประเทศญี่ปุ่นนักศึกษานักศึกษาไทยและราชภัฎเชียงราย. วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น : บริหารธุรกิจและภาษา, 8(2), 32-47.

Deardorff, D. K. (2021). 培养跨文化能力手册:故事圈/(美)达拉·K. 迪尔多夫著;中国文化译研网译. 北京:中译出版社.

Ren Zhiyuan. (2555). การปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาจีนในประเทศไทย: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 20(34), 185-201.

Yamane, T. (1970). Statistic: An introductory analysis. (2nd ed). New York: Harper & Row.

陈国明[文]余彤[译]. (2012). 跨文化适应理论构建. 学术研究. 中国计量大学.浙江杭州. 1(1),130-138.

陈歆敏. (2013). 东南亚来华留学生的跨文化适应研究[D].上海:上海交通大学.

胡文仲. (1999). 跨文化交际学概论[M].北京:外语教学与研究出版社.

孙冰 王诗苇. (2016). 来华留学生跨文化适应问题研究综述. 229-238.

魏崇新. (2001). 来华留学生文化适应性研究.北京外国语大学.