การพัฒนาแบบวัดการเติบโตทางจิตใจของบรรดาเยาวชนจากสมณลิขิตเตือนใจหลังการประชุมสมัชชา เรื่องพระคริสตเจ้าทรงพระชนม์ (CHRISTUS VIVIT) ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส สำหรับบรรดาเยาวชนและประชากรของพระเจ้าทุกคน

Main Article Content

ดร.ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน
มลธวัฒน์ กิจสวัสดิ์
กมลา สุริยพงศ์ประไพ
บาทหลวง ผศ.ดร.อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ
บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์
บาทหลวง เชษฐา ไชยเดช
บาทหลวง วิทยา เลิศทนงศักดิ์
สุกิจ ทองพิลา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดการเติบโตทางจิตใจของบรรดาเยาวชนและ เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบวัดการเติบโตทางจิตใจของบรรดาเยาวชน แบบวัดถูกสร้างบนพื้นฐานของแนวคิดเกี่ยวกับการเติบโตทางจิตวิญญาณ (Spiritual Intelligence) และจากสมณลิขิตเตือนใจหลังการประชุมสมัชชา เรื่อง พระคริสตเจ้าทรงพระชนม์ (CHRISTUS VIVIT) ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสสำหรับบรรดาเยาวชน และประชากรของพระเจ้าทุกคน โดยการเติบโตทางจิตวิญญาณ (Spiritual Intelligence) เป็นความสามารถในการปรับตัวทางจิต ความสามารถในการ เข้าใจตนเองในทุกมิติทั้งด้าน ร่างกายและ จิตใจ และสามารถตอบคำถามต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ความหมาย จุดมุ่งหมาย และคุณค่าของชีวิต รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสรรพสิ่งทั้งหลายที่อยู่รอบตัว ซึ่งจะทำให้สามารถคิด พิจารณาแก้ไขปัญหาต่างๆที่ต้องเผชิญได้อย่าง เหมาะสม และสมณลิขิตเตือนใจหลังการประชุมสมัชชา เรื่อง พระคริสตเจ้าทรงพระชนม์ (CHRISTUS VIVIT) เป็นเอกสารเกี่ยวกับงานอภิยาลเยาวชนในยุคปัจจุบัน จากสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส โดยเก็บข้อมูลจากผู้ร่วมวิจัยจำนวน 456 คน ที่เป็นเยาวชนคาทอลิกอายุระหว่าง 13-25 ปี ทั้งสิ้น 11 สังฆมณฑล


          ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดการเติบโตทางจิตใจของบรรดาเยาวชน มีความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเนื้อหากับตัวชี้วัด (IOC) เท่ากับ .8 – 1.00 ค่าความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม (Item total correlation) มีค่าอํานาจจําแนกอยู่ระหว่าง .518 ถึง .694 ค่าความเชื่อมั่นรายองค์ประกอบ มีค่าอยู่ในช่วง .841 - .898 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .884 การตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของแบบวัดการเติบโตทางจิตใจของบรรดาเยาวชน  พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีค่าเท่ากับ 1.288 RMSEA มีค่าเท่ากับ .024, CFI มีค่าเท่ากับ .98, GFI มีค่าเท่ากับ .96  RMR มีค่าเท่ากับ .12 แสดงให้เห็นว่า องค์ประกอบการเติบโตทางจิตใจของบรรดาเยาวชน ทั้ง 5 องค์ประกอบ เป็นตัวชีวัดการเติบโตทางจิตใจของบรรดาเยาวชนได้อย่างชัดเจน

Article Details

How to Cite
พงศ์ประเสริฐสิน ด. ., กิจสวัสดิ์ ม., สุริยพงศ์ประไพ ก. ., กฤษเจริญ อ., ชุ่มศรีพันธุ์ ส., ไชยเดช เ., เลิศทนงศักดิ์ ว., & ทองพิลา ส. (2022). การพัฒนาแบบวัดการเติบโตทางจิตใจของบรรดาเยาวชนจากสมณลิขิตเตือนใจหลังการประชุมสมัชชา เรื่องพระคริสตเจ้าทรงพระชนม์ (CHRISTUS VIVIT) ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส สำหรับบรรดาเยาวชนและประชากรของพระเจ้าทุกคน. วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 14(2), 75–100. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/scj/article/view/263086
บท
บทความวิจัย

References

ณัฐภรณ์ นรพงษ์. (2553). การวิเคราะห์เปรียบเทียบโมเดลประยุกต์และโมเดลบูรณาการการวัดความฉลาดทางจิตวิญญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในบริบทสังคมไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประณต เค้าฉิม. (2549). จิตวิทยาวัยรุ่น. ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. นานมีบุ๊ค พับลิเคชั่นส์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรงน์. (2551). จิตวิทยาการศึกษา : Educational psychology. ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

วัลลภ ลำพาย. (2547). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย. (2560). สมณลิขิตเตือนใจ หลังการประชุมสมัชชา เรื่องพระคริสตเจ้าทรงพระชนม์ (CHRISTUS VIVIT) ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส สำหรับบรรดาเยาวชน และประชากรของพระเจ้าทุกคน. โรงพิมพ์อัสสัมชัญ.

อัญชลี ศุภวิทยาภินันท์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างเชาวน์ด้านจิตวิญญาณ ความสุข และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร: กรณีศึกษาของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Amram, Yosi. (2007). The Seven Dimensions of Spiritual Intelligence: An Ecumenical, Grounded Theory. Paper Presented at the Conference of the 115th American.

Cooperman, A., Townsend, T. & O’Connell, T. (2014). How U.S. Catholics View Pope Francis: In Their Own Words. Communications, Religion & Public Life Project. Pew Reacher Center.

Emmons, Robert A. (2002). Is Spirituality an Intelligence? Motivation, Cognition and the Psychology of the Ultimate Concern. The International Journal for the Psychology of Religion.

Fishbein, M. & Ajzen, I. (1975). Belief, Attitude, Intention, and Behavior: An Introduction to theory and research. Addison-Wesley.

Maibach, E., Leiserowitz, A., Roser-Renouf, C., Myers, T., Rosenthal, S. & Feinberg, G. (2015). The Francis Effect: How Pope Francis Changed the Conversation about Global Warming. George Mason University Center for Climate Change Communication.

Oskamp, S. (1977). Attitude and Opinion. Prentice-Hall.

Piaget, J. (1971). The theory of stages in cognitive development. McKay.

Richard Wike; & Russ Oates. (2014). Pope Francis’ Image Positive in Much of World. Less Well-Known Outside of Latin America and Europe.

Shaw, M.E. And Wright, J.N. (1967). Scale for the Measurement of Attitudes. McGraw-Hill.

Vaughan, F. (2002). What Is Spiritual Intelligence?. Journal of Humanistic Psychology.

Yando, R. M., & Kagan, J. (1968). The effect of teacher tempo on the child. Child Development. n.p.

Zohar, Danah; & Marshall, Ian. (2002). SQ: Connecting with Our Spiritual Intelligence. New York: Bloomsbury.