โมเดลเชิงสาเหตุของส่วนประสมการตลาด และความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีต่อความตั้งใจใช้บริการการท่องเที่ยวแบบดีงาม : กรณีศึกษาผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เยาวลักษณ์ เอกไพฑูรย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาด และความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีต่อความตั้งใจใช้บริการการท่องเที่ยวแบบดีงาม โดยมีทัศนคติเป็นตัวแปรส่งผ่านกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีประชากรที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้คือ ผู้สูงอายุ ชาวไทยอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ผู้วิจัยเลือกผู้สูงอายุทั้งที่เคยใช้บริการและไม่เคยใช้บริการการท่องเที่ยวแบบดีงาม เลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ กับผู้เต็มใจตอบแบบสอบถาม จำนวน 400 ตัวอย่าง และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ตัวแปรที่ศึกษาตามกรอบแนวความคิด ประกอบด้วย ส่วนประสมทางการตลาดและความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในฐานะตัวแปรต้น ความตั้งใจใช้บริการการท่องเที่ยวแบบดีงาม ในฐานะตัวแปรตาม  และทัศนคติต่อการท่องเที่ยวแบบดีงาม ในฐานะตัวแปรส่งผ่าน จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า  1) โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) ความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นเพียงตัวแปรเดียวที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการการการท่องเที่ยวแบบดีงามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.367 โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.185 และค่าอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.013 ส่วนตัวแปรอื่นมีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการการการท่องเที่ยวแบบดีงามอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราวดี รัตนไพฑูรย์. (2557, 26 สิงหาคม). ตลาดนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ : โอกาสใหม่ไทย เติบโตรับ AEC. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 1.
ภูริพัฒน์ สดใส. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้บริการสวนน้ำ ขนาดใหญ่ในประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
สูงวัยเที่ยวไทย. (2559). แม็กกาซีน positioning สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2559 จากhttp://positioningmag.com/11449
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). ตารางสถิติจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2560 จาก http://service.nso.go.th/nso/nso_center/project/search/result_by_department-th.jsp
Ajzen, I. (1991). The Theory of planned Behavior. Organization Behavior and Human Decision Processes, 50, 179-211.
Ajzen, I. (2003). Constructing a TPB Questionnaire: Conceptual and Methodological Considerations (2003), p. 2003
Bai, B., Law, R., & Wen, I. (2008). The impact of website quality on customer satisfaction and purchase intentions: evidence from Chinese online visitors. International Journal of Hospitality Management, 27 (3), 391-402.
Cambridge University. (2017). Cambridge Dictionary. Retrieved May, 17, 2017 from http://dictionary.cambridge.org/us/dictionary/english/well-travelled.
Das, G. (2014). Linkages of retailer personality, perceived quality and purchase intention with retailer loyalty: A study of Indian non-food retailing. Journal of Retailing and Consumer Services, 21(3), 407-414.
Dodds, W.B., Monroe, K.B., & Grewal, D. (1991). Effects of price, brand, and store information on buyers' product evaluations. Journal of Marketing Research,28(3), 307-319.
Fishbien, M., & Ajzen, I.. (2010). Predict and changing behavior the reasoned action approach. New York: Psychology.
Hagger, M. S., & Chatzisarantis, N. L. (2006). Self-identity and the theory of planned behaviour: Between-and within-participants analyses. British Journal of Social Psychology, 45, 731-757.
Poorsoltan, K. (2012). HOW SUPERSTITIOUS BELIEFS INFLUENCE THE PROCESS OF DECISION MAKING IN THE WORLD OF BUSINESS. Business Studies Journal, 4(1).
Zeithaml, V. A., Berry, L. L., & Parasuraman, A. 1993. The nature and determinants of customer expectations of service. Journal of the Academy of Marketing Science, 21(1), 1–12.