การศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของผู้ประกอบการขายเครื่องสำอางในจังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ 1) เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ประกอบการขายเครื่องสำอาง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการขายเครื่องสำอางในจังหวัดสงขลา จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน ขั้นตอนแรกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา และขั้นตอนที่สองใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน ค่าสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้วิธี Fisher’s Least Significant Difference (LSD) หรือ Dunnett’s T3
ผลการศึกษาค้นพบว่าการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ประกอบการขายเครื่องสำอางในจังหวัดสงขลาอยู่ในระดับน้อย โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์มากที่สุดและใช้อีเมลน้อยที่สุด ส่วนผลการวิจัยจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ผู้ประกอบการที่มีเพศและสถานที่ตั้งร้านต่างกันมีการใช้เว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกัน 2) ผู้ประกอบการที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกันมีการใช้อีเมลแตกต่างกัน 3) ผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่างกันมีการใช้เอสเอ็มเอส อีเมล เว็บไซต์ และสื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกัน และ 4) ผู้ประกอบการที่มีอายุ สถานภาพ การศึกษา และประสบการณ์การขายเครื่องสำอางมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไม่แตกต่างกัน
Article Details
บทความที่จะตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น ๆ ทั้งนี้ หากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ให้ถือว่าเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา สำหรับในกรณีผู้ประสงค์จะนำข้อความในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2557). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 3) ของประเทศไทย พ.ศ. 2557-2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพ ฯ: ธรรมสาร.
เขมธัชกานท์ สกุลกฤติธีนันท์ และณารีญา วีระกิจ. (2561). การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการตลาดของโรงแรมอิสระระดับ 4-5 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต. Veridian E-Journal, 11(3), 345-362.
จุฑามาศ กาญจนธรรม และเด่น ชะเนติยัง. (2558). การพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9, 109-116.
ชมดวง แพทอง และจตุพร บานชื่น. (2558). ความคิดเห็นต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของพนักงานบริษัทในอาคารซันทาวเวอร์, วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4(4), 77-86.
ดนุชา สลีวงศ์ และณัตตยา เอี่ยมคง. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการสินค้าชุมชนเพื่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ. Veridian E-Journal, 10(3), 2355-2371.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล, กฤษยา นุ่มพยา, จีราภา นวลลักษณ์, และชนพัฒน์ ปลื้มบุญ. (2557). การศึกษาเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในมุมมองต่อคุณลักษณะของตนเองและความคาดหวังต่อคุณลักษณะของเจอเนอเรชั่นอื่น. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 36(141), 1-17.
ตรีญาภรณ์ สมบูรณ์วงศ์. (2559). แผนธุรกิจร้านขายเครื่องสำอาง. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธวัชชัย วรพงศธร และสุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. (2561). การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 41(2), 11-21.
ธัญมาศ ทองมูลเล็ก และปรีชา วิจิตรธรรมรส. (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในสังคมไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(2), 114-124.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุศรินทร์ เสาทอง. (2560). สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดบุรีรัมย์. การประชุมวิชาการแสดงผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, หน้า 1044-1053.
พรรณิการ์ พุ่มจันทร์, นุชจรีย์ หงส์เหลี่ยม, และพัชดาพรรณ อุดมเพ็ชร. (2558). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาแพทย์ ระดับปรีคลินิกของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. เวชบันทึกศิริราช, 8(1), 27-35.
พรเลิศ อาภานุทัต และพรสิน สุภวาลย์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในอุตหสากรรมแปรรูปอาหารขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 11(2), 97-111.
พัชราวดี ศรีบุญเรือง. (2556). การใช้สื่อสังคมออนไลน์และอินเทอร์เน็ตบนมือถือของวิสาหกิจชุมชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารครุอุตสาหกรรม, 12, 8-15.
เพ็ญพนอ พ่วงแพ. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) ของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, 9(2), 946-956.
ยุพิน พิทยาวัฒนชัย. (2012). การตลาดหลายช่องทาง: แนวทางที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัล. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 1(1), 33-48.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ตลาดบิวตี้ยังแจ๋ว เกาะเทรนด์ธุรกิจทำเงิน. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2562, สืบค้นจาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/ Documents/Beauty-BusinessTrend.pdf.
สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2561). ภาคเอกชนขับเคลื่อนธุรกิจความงามและเครื่องสำอางภาคใต้ยุค 4.0 สร้างเครือข่าย ASEANbeauty 2018 Professional Networking. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2562, สืบค้นจากhttps://thainews.prd.go.th/th/website_th/news/print_news/WNECO601123001 0043.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2561 (ไตรมาส 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สุพาทินี เพ็งเจริญ, ยุวัฒน์ วุฒิเมธี, และสานิต ฤทธิ์มนตรี. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนิสิตชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน. วชิรสารการพยาบาล, 18(2), 63-74.
อรรถศิษฐ์ พัฒนะศิริ และวรลักษณ์ วงศ์โดยหวัง ศิริเจริญ. (2559). สื่อสังคมและอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 4(2), 153-160.
อาคีรา ราชเวียง. (2560). อนาคตผู้ประกอบการในยุค 4.0. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 79-88.
Kilangi, A. M. (2012). The determinants of ICT adoption and usage among SMEs: The case of the tourism sector in Tanzania. Amsterdam: VU University.
Maghanga, E. (2017). Challenges affecting use of ICT by small & medium sized enterprises (SMEs) in Kenya: A case study of Tsavo Securities LTD. Journal of Entrepreneurship and Project Management, 2(2), 1-16.
Mbuyisa, B., & Leonard, A. (2017). The role of ICT use in SMEs towards poverty reduction: A systematic literature review. Journal of International Development, 29, 159-197.
Oyebiyi, O., Misra, S., Maskeliunas, R., & Damasevicius, R. (2018). Application of ICT by smalland medium entreprise in Ogun state Nigeria. Communications in Computer and Information Science.
Tajudeen, F. P., Jaafar, N. I., & Ainin, S. (2018). Understanding the impact of social media usage among organizations. Information & Management, 55, 308-321.
Vilaseca-Requena, J., Torrent-Sellens, J., & Jime nez-Zarco, I. (2007). ICT use in marketing as innovation success factor: Enhancing cooperation in new product development process. European Journal of Innovation Management, 10(2), 268-288.
Vidal, A. L., & Billorou, N. (2012). Can ICTs help me improve my business? Retrieved February 4, 2019, from https://www.oitcinterfor.org/sites/default/files/canicthelp.pdf.