การวิเคราะห์แบบจำลององค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุขของสถานประกอบการในภาคตะวันออกของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แบบจำลององค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุขของสถานประกอบการในภาคตะวันออกของประเทศไทย เก็บข้อมูลกับประชากรซึ่งเป็นผู้นำสหภาพแรงงานในภาคตะวันออกทั้งหมด จำนวนทั้งสิ้น 385 แห่ง โดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างปลายปิดพัฒนาหัวข้อคำถามจากกรอบแนวคิดการสร้างองค์กรสุขภาวะขององค์กรอนามัยโลกและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามด้วยวิธีการให้คะแนนตามวิธีให้ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถามและยืนยันความตรงเชิงโครงสร้างของกลุ่มคำถามแต่ละด้านด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ได้รับการตอบกลับมาจำนวน 324 ราย คิดเป็นร้อยละ 84.16 ผลการศึกษาพบว่า ค่าน้ำหนักองค์ประกอบรวมของปัจจัยการสร้างองค์กรแห่งความสุขจำนวน 8 องค์ประกอบ มีค่าเป็นบวกและแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่าแบบจำลองมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งหมายความว่า องค์ประกอบของตัวแปรทั้ง 8 ด้าน สามารถใช้อธิบายปัจจัยเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุขของสถานประกอบการในภาคตะวันออกของประเทศไทย (c2 = 347.07, df = 203, c2/df = 1.70 ,CFI = 0.99, GFI = 0.92, RMSEA = 0.04) เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรสังเกตได้จากข้อคำถามมีค่าระหว่าง 0.59-0.94 เป็นค่าที่ผ่านเกณฑ์ จากค่าสถิติแสดงให้เห็นแบบจำลองที่มีโครงสร้างองค์ประกอบที่เหมาะสมเชื่อถือได้และถูกต้องสามารถนำมาใช้ในบริบทสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานด้านองค์กรแห่งความสุขหรือองค์กรสุขภาวะในประเทศไทยที่มีลักษณะกลุ่มเป้าหมายคล้ายคลึงกัน และสามารถนำมาปรับใช้เพื่อเป็นตัวแบบในการพัฒนาองค์กรสุขภาวะต่อไป
Article Details
บทความที่จะตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น ๆ ทั้งนี้ หากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ให้ถือว่าเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา สำหรับในกรณีผู้ประสงค์จะนำข้อความในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์