แนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มในการบริการ และพัฒนานวัตกรรมการบริการของสนามกอล์ฟนิกันติ กอล์ฟ คลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ปภัสสร รอดอยู่
มนัสสินี บุญมีศรีสง่า

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษารูปแบบของนวัตกรรมการบริการในสนามกอล์ฟนิกันติ 2)เพื่อศึกษานวัตกรรมการบริการในการสร้างมูลค่าเพิ่มในการบริการของสนามกอล์ฟนิกันติ กอล์ฟ คลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) และการสัมภาษณ์ (Interview) ผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมด 6 คน เป็นพนักงานระดับผู้บริหาร จำนวน 4 คน พนักงานผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 1 คน และลูกค้าที่มาใช้บริการ จำนวน 1 คน


          ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของนวัตกรรมการบริการในสนามกอล์ฟ 5 รูปแบบ คือ 1)ด้านความแตกต่างในการบริการ 2)ด้านเทคโนโลยี 3)ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 4)ด้านความทันสมัย และ5)ด้านการพัฒนาเสริมสร้างทักษะในการให้บริการของบุคลากร และนวัตกรรมการบริการในการสร้างมูลค่าเพิ่มในการบริการ ได้แก่ คุณค่าทางจิตใจ และคุณค่าทางเศรษฐกิจ คุณค่าที่ลูกค้าได้รับจะสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในการเลือกใช้บริการ การได้รับความสนใจจากลูกค้า และการได้รับการยอมรับจะช่วยสร้างยอดขายได้อย่างรวดเร็วและยังช่วยเพิ่มผลกำไร รวมทั้งได้ส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น การเข้าใจความต้องการของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญเพราะช่วยสนับสนุนการพัฒนาการบริการเพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้า ตราสินค้าช่วยให้ผู้บริโภครับรู้ในตัวการบริการที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อครองใจผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายตลอดไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร. (2560). การสร้างการท่องเที่ยวคุณภาพด้วยการท่องเที่ยวเชิงกีฬากอล์ฟ. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2553, สืบค้นจาก https://www.aseanthai.net
จารวี รื่นจิตต์ และมนัสสินี บุญมีศรีสง่า. (2560). นวัตกรรมการบริการของโรงแรมที่พักเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทยในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 และการประชุมวิชาการนานาชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 8, ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค.
ชาย โพธิสิตา. (2556). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมห์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชไมพร สุธรรมวงศ์ และบัณฑิต โรจน์อารยานนท์. (2554). นวัตกรรมการบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.
ดวงกมล ผ่องพรรณแข, และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). ระบบบริหารงานโรงแรมและความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(3), 374-387.
เทียนพรรษา สิงห์ไทยนิยม. (2560). การพัฒนารูปแบบการผลิตบุคลากรตำแหน่งเจ้าหน้าที่สำรองที่นั่งบัตรโดยสารเครื่องบิน. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 29, 82-89.
นฤดี จิยะวรนันท์ และภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช. (2555). การศึกษาธุรกิจบริการนิตยสารจัดชุดให้เช่าแบบและส่งถึงที่ในมุมมองของนวัตกรรมการบริการ. งานนิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารเทคโนโลยี, วิทยาลัยนวัตกรรม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บริษัท ไทยกอล์ฟเฟอร์ กรุ๊ป จำกัด. (2562). Golfing in Thailand. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2562, สืบค้นจาก https://thaigolfer.com.
ปรีดิ์พัฒน์ กิจจาทร. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสนามกอล์ฟของหน่วยราชการในเขตกรุงเทพมหานคร. งานนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการกอล์ฟ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พงศ์เสวก เอนกจำนงค์พร. (2561). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของประชากรรุ่นเบบี้บูมในกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(7), 55-67.
ระชานนท์ ทวีผล, ชลิตรา ผลาชิต, และนริศรา บูรณ์เจริญ. (2559). แนวทางการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรเจ็นเนอเรชันวาย โรงแรมเครือข่ายระดับ 5 ดาว เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 5(2), 50-62.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์, ศุภร เสรีรัตน์, และองอาจ ปทะวานิช. (2541). การบริหารการตลาด ยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: Diamond in Business World.
ศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับกีฬากอล์ฟเล่นกอล์ฟ. (2558). ธุรกิจสนามกอล์ฟในประเทศกำลังได้รับความนิยมจากต่างชาติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560, สืบค้นจาก https://charlieking-forpresident.com
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุดรธานี: อักษรศิลป์การพิมพ์.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์, อัจฉรา จันทร์ฉาย, และประกอบ คุปรัตน์. (2554). ความสามารถในการจัดการความรู้กับความสามารถทางนวัตกรรมของผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมในประเทศไทย. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 51(1), 157-199.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์, อัจฉรา จันทร์ฉาย, และประกอบ คุปรัตน์. (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 33(128), 49-65.
สมาคมกอล์ฟแห่งประเทศไทย. (2555). กอล์ฟ. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560, สืบค้นจาก https://www.tga.or.th/images/contents/golfhistory.pdf
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2552). พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). วารสารกฤษฎีกาสาร. 9(126), 20-23.
สุภางค์ จันทวานิช. (2554). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรุณโรจน์ มากมูล. (2558). สมรรถนะของบุคลากรในสนามกอล์ฟภายในภาคตะวันออกเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเปิดประชาคมอาเซียน. งานนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
อัญชิสา ชูศรี. (2559). นวัตกรรมบริการ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และการตลาดแบบปากต่อปากที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. งานนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อัศวิน จิตต์จำนงค์. (2558). แนวโน้มและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2560, สืบค้นจาก https://tourisminvest.tat.or.ty9h
Chen,James K.C., Batchuluun, Amrita, & Batnasan, J. (2015). Services Innovation Impact to Customer Satisfaction and Customer Value Enhancement in Airport. Technology in Society, 43, 219-230.
Kim, Eojina, Tang, Liang Rebecca, & Bosselman, R. (2018). Measuring customer perceptions of restaurant innovativeness: Developing and validating a scale. International Journal of Hospitality Management, 74, 85-98.
Zulkepli, Zuraida Hani, Hasnan, Norlena, & Mohtar, S. (2015). Communication and Service Innovation in Small and Medium Enterprises (SMEs). Paper presented at the 2nd Global Conference on Business and Social Science-2015, Bali, Indonesia, pp. 110-125.