ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ เพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะเพื่อการท่องเที่ยว และเสนอยุทธศาสตร์การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดยทำการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทนผู้กำหนดนโยบายทั้งระดับประเทศและท้องถิ่น ผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว หน่วยงานละ 1 คนจากจังหวัดชลบุรี ระยอง และเชิงเทรา และสนทนากลุ่มกับกับตัวแทนผู้กำหนดนโยบายทั้งระดับประเทศและท้องถิ่น ผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ผู้นำชุมชน (อบต.หรือผู้ใหญ่บ้าน) และประชาชนในพื้นที่รวมทุกหน่วยงานจำนวนจังหวัดละ 30 คน โดยแบ่งกลุ่มละ 6 คน จำนวน 5 กลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการจับกลุ่มประเด็น วิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกเพื่อกำหนดร่างยุทธศาสตร์ ผลการศึกษาเสนอประเด็นยุทธ์ศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน ตามหลัก บาลานซ์ สกอร์การ์ด (Balanced Scorecard) ได้แก่ การพัฒนาเส้นทางการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะเชื่อมโยงสู่แหล่งท่องเที่ยวอย่างสมบูรณ์แบบ (มิติประสิทธิผล) การสร้างและสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมออกแบบ พัฒนาและใช้ประโยชน์ด้านการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะเพื่อการท่องเที่ยว (มิติกลุ่มเป้าหมาย) การพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการเส้นทางการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะเพื่อการท่องเที่ยวที่มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน (มิติการบริหารจัดการ) การสร้างและสนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการพัฒนาการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (มิติการเรียนรู้และพัฒนา) และการพัฒนาศักยภาพของคนในพื้นที่รวมถึงเครือข่ายในการพัฒนาการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (มิติการเรียนรู้และพัฒนา)
Article Details
บทความที่จะตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น ๆ ทั้งนี้ หากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ให้ถือว่าเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา สำหรับในกรณีผู้ประสงค์จะนำข้อความในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์
References
เชิญ ไกรนรา. (2556). ขั้นตอนการวิเคราะห์นโยบาย. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2562, สืบค้นจาก https:// www.researchgate.net/profile/Choen_Krainara2/publication.pdf
ณภัทร ญาโนภาส. (2562). นวัตกรรมการท่องเที่ยวยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 7(2), 1-8.
ธนภูมิ วงษ์บำหรุ, ภาวิณี เอี่ยมตระกูล และจิรวรรณ คล้ายลี. (2562). แนวทางการกำหนดนโยบายที่เป็นไปได้สำหรับรถโดยสาร กรณีศึกษาเมืองพัทยา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2019(3), 1-11.
นันทวัน วงศ์ขจรกิตติ. (2559). นโยบายการให้บริการจังหวัดอัจฉริยะของประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(3), 365-377.
ภาวิณี เอี่ยมตระกูล, ไอศูรย์ เรืองรัตนอัมพร และภัททิยา ชินพิริยะ. (2560). กรอบการวิเคราะห์นโยบายการวางแผนการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรมและผังเมือง, 10(2), 95-122.
วิทยา กริยาลีลากุล และคณะ. (2562). การจัดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยจักรยานในเขตเทศบาลตำบลแสนสุข.วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2(2), 28-38.
วรลักษณ์ รักใคร่ และ ปนัดดา กสิกิจวิวัฒน์. (2561). การประเมินความยืดหยุ่นความจุของโครงข่ายทางหลวงในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก. วารสารวิศวกรรมสาร มก, 70(2), 33-44.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2560-2565. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2562, สืบค้นจาก https://www.eeco.or.th /sites/default/files.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (ม.ป.ป.). ความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562, สืบค้นจาก https://www.eeco.or.th /%E %B2.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). แผนสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561-2565. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ:
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2560). รายงานการศึกษาความเหมาะสม การจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. ม.ป.ท.
สำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย. (ม.ป.ป.). ประเภทของเมืองอัจฉริยะ. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562, สืบค้นจาก https://www.smartcitythailand.or.th.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562, สืบค้นจาก https://www.nesdb.goth/ewt_dl_ link.php?nid=6422.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี พ.ศ.(2560-2579).สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2562, สืบค้นจาก https://www.nesdb.go.th %20-%202579).pdf.
R. Kaplan & D. Norton. (2012). Balanced evaluation: balanced scorecard. Retrieved in October 12 2019, from https://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php.