แนวทางการประยุกต์ใช้กระบวนการซัพพลายเชนตามแบบจำลองอ้างอิง การดำเนินงานซัพพลายเชน กรณีศึกษาบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งในประเทศไทย

Main Article Content

วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ
ปรียากมล เอื้องอ้าย

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้กระบวนการซัพพลายเชนตามแบบจำลอง SCOR ของบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งในประเทศไทยด้วย SCOR Racetrack ซึ่งเป็นวิธีการเฉพาะของสมาคมวิชาชีพด้านการจัดการซัพพลายเชนชั้นนำระดับโลกหรือ APICS และยังไม่เคยถูกนำมาประยุกต์ใช้กับบริษัทมหาชนในประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและศึกษากระบวนการทำงานจากการปฏิบัติงานจริงของบริษัทกรณีศึกษา และนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจากพื้นที่จริงมาวิเคราะห์ จากนั้นจึงสรุปผลการศึกษาและนำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์


        ผลการศึกษาพบว่า บริษัทกรณีศึกษาได้ดำเนินการประยุกต์ใช้กระบวนการซัพพลายเชนตามแบบจำลอง SCOR ด้วย SCOR Racetrack ประกอบด้วย 5 ระยะหลัก ได้แก่ 1) ระยะเตรียมความพร้อม (Pre-SCOR) ด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับซัพพลายเชนและแบบจำลอง SCOR รวมถึงการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะทำงานโครงการ 2) ระยะการระบุขอบเขตของซัพพลายเชน (Set the Scope) เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทของธุรกิจตลอดทั้งซัพพลายเชนและสภาวะอุตสาหกรรม เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของแต่ละฝ่ายงาน 3) ระยะการออกแบบกระบวนการ (Configure the Supply Chain) เป็นการศึกษาการทำงานแต่ละกระบวนการปัจจุบันตลอดทั้งซัพพลายเชนและกำหนดตัวชี้วัดของซัพพลายเชนให้สอดคล้องกับเป้าหมายของธุรกิจ 4) ระยะในการกำหนดโครงการปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Optimize Projects) ด้วยการค้นหาโอกาสในการปรับปรุงจากกระบวนการทำงานปัจจุบัน เพื่อให้บรรลุผลตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ โดยมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ และ 5) ระยะการประยุกต์ใช้ (Ready for Implementation) เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการประยุกต์ใช้กระบวนการซัพพลายเชนด้วยการทดลองกระบวนการทำงานแบบใหม่ในส่วนงานต้นแบบ เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการทำงานที่ออกแบบไว้สามารถใช้งานได้จริง และสามารถขยายผลให้ครอบคลุมทั้งองค์กรต่อไปได้ จากกรณีศึกษานี้ บริษัทมหาชนที่ต้องการประยุกต์ใช้กระบวนการซัพพลายเชนตามแบบจำลอง SCOR สามารถใช้เป็นแนวทางเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (ม.ป.ป.ก). พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2562, สืบค้นจาก https://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=1005&filename=law04.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (ม.ป.ป.ข). การจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2562, สืบค้นจาก https://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=5889.
กฤติกา จินาชาญ, ภูเด่น แก้วภิบาล และเย็นจิต นาคพุ่ม. (2562). ประสิทธิภาพการดําเนินงานด้านโลจิสติกส์การเลี้ยงเป็ดไข่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน เอกสารนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ“วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 11 (หน้าที่ 1-6). นครศรีธรรมราช: ม.ป.ท.
ธันวา แก้วเศษ, (2557). การประยุกต์ใช้แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง. งานนิพนธ์การศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พาขวัญ นุกูลกิจ. (2556). การเข้าเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบของบริษัทมหาชนจำกัด. งานนิพนธ์การศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อดิศักดิ์ ธีรานุพัฒนา และชูศรี เที้ยศิริเพชร. (2554). การจัดลำดับความสำคัญของมาตรวัดและกระบวนการหลักของโซ่อุปทาน โดยวิธีแบบจำลองกระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 33(127), 1-32.
Aditya. (2018). Introduction to Supply Chain & It’s Management. Retrieved May 27, 2019, from https://tech-turf.com/introduction-supply-chain-its-management/
APICS. (2017). SCOR Supply Chain Operations Reference (Version 12.0). Chicago: n.p.
Bolstorff, P., & Rosenbaum, R. (2003). Supply chain excellence: A handbook of dramatic improvement using the SCOR model. New York: AMACOM.
de Barros, A. P., Ishikiriyama, C. S., Peres, R. C., & Gomes, C. F. S. (2015). Processes and benefits of the application of information technology in supply chain management: an analysis of the literature. Procedia Computer Science, 55, 698-705.
Sharma, P. (2015). Stages of Supply Chain Management Evolution. Retrieved April 19, 2019, from http://www.threadpunter.com/supply-chain-management/stages-of-supplychain- management-evolution/