ผลกระทบของเทคโนโลยีลบล้างในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

Main Article Content

อติชาติ โรจนกร

บทคัดย่อ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ถือเป็นอุตสาหกรรมหลักที่เป็นแรงขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐมาโดยตลอดนับจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 จนทำให้ประเทศไทยกลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัญของโลกได้ในปัจจุบัน จากสภาวะมลพิษทางอากาศและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทำให้ทั่วโลกต่างมองหายานยนต์ที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ความต้องการรถยนต์ในตลาดโลกเปลี่ยนแปลงไปจากรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน ซึ่งประเทศไทยมีความชำนาญทั้งในด้านการประกอบและผลิตชิ้นส่วน นำไปสู่ความต้องการรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ประเทศไทยยังคงอยู่ในช่วงการวางแผนการพัฒนาเท่านั้น รถยนต์พลังงานไฟฟ้าถูกมองว่าเป็นเทคโนโลยีลบล้างที่จะเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก ห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเองต้องเผชิญกับเทคโนโลยีต่าง ๆ อันทันสมัยที่มาพร้อมกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งการใช้เพียงทรัพยากรและความสามารถที่องค์การมีอยู่ภายใต้สภาวะปกติอาจไม่เพียงพอต่อการผันผวนทางสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ความสามารถเชิงพลวัตจึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่มีบทบาทในการจัดการด้านกลยุทธ์ขององค์การให้เหมาะสมกับสภาวะการแข่งขันและสถานการณ์ที่มีความเป็นพลวัตสูงเช่นนี้ บทความนี้จึงขอนำเสนอแนวทางในการพัฒนาความสามารถเชิงพลวัตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ทั้งด้านของความสามารถเห็นโอกาส ความสามารถเลือกโอกาส และความสามารถปรับตัว เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเตรียมความพร้อมในการปรับตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตดขึ้นในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงการคลัง. (2560). ประกาศกระทรวงการคลัง. ลดอัตราภาษีสรรพสามิต (138), 2-3.
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2560). มาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562, สืบค้นจาก https://www.industry.go.th/industry/index.php/en/news -center/item/39299-2017-03-29-09-27-45
โชติกา ใจทิพย์. (2561). ศักยภาพของผู้นำองค์กรธุรกิจในสถานการณ์โลกที่มีความผันผวน. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(1), 1-14.
วรรณา ยงพิศาลภพ. (2560). ประเทศไทยกับการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า. Research Intelligence.
ศรีบวร เอี่ยมวัฒน์. (2561). แนวโน้มของ Disruptive Technology และความเป็นไปได้ของรูปแบบธุรกิจในอนาคตของเครื่องถ่ายเอกสารในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี, วิทยาลัยนวัตกรรม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560ก). SME ไทยก้าวทันกระแสยานยนต์ยุค 4.0 แล้วหรือยัง. K SME Analysis.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560ข). ยุคยานยนต์ไฟฟ้ามาแรง หนุนSMEไทยรุ่ง. K SME Analysis.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้าปี 62 . สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562, สืบค้นจาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z3018.aspx.
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานราก. (2561). รถยนต์ไฟฟ้ากับผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทย. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562, สืบค้นจาก https://www.gsb.or.th/getattachment/07c2aa6e- 9bc2-4682-8a9e-90b057178223/motor_61_62.aspx.
สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2560). อุตสาหกรรมยานยนต์ใหม่. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562, สืบค้นจาก https://www.ipthailand.go.th/images/3534/web_01052018/Report_ CHU/9_Next-Generation_Automotive_19-12-60_CHU.pdf.
สถาบันยานยนต์. (2560). ครม.ไฟเขียว 6 มาตรการ สนับสนุนรถยนต์พลังงานไฟฟ้า. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562 , สืบค้นจาก https://www.thaiauto.or.th/2012/th/news/news-detail.asp? news_id=3684.
สายใจ วิทยาอนุมาส. (2560). ทิศทางยานยนต์ยุคใหม่ในประเทศไทย. รายงานทีดีอาร์ไอ, 129.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2560). รายงานการศึกษาเรื่อง “อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า”. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562, สืบค้นจาก https://waa.inter.nstda.or.th/prs/pub/EV.pdf.
อานันท์ เกียรติสารพิภพ. (2562). Disruptive Technology การดำรงชีวิตจะเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562, สืบค้นจาก https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/60249/browse?value=อานันท์+เกียรติสารพิภพ&type=author.
Drnevich, P., & Kriauciunas, A. (2011). Clarifying the conditions and limits of the contributions of ordinary and dynamic capabilities to relative firm performance. Strategic Management Journal, 32(3), 254-279.
Eisenhardt, K. M., & Martin, J. A. (2000). Dynamic Capabilities: What Are They? Strategic Management Journal, 21(11), 1105-1121.
International Energy Agency. (2017). Two million and Counting. Global EV Outlook 2017, 5-7.
International Energy Agency. (2018). Towards cross-modal electrification. Global EV Outlook.
International Energy Agency. (2019). Scaling-up the transition to electric mobility. Global EV Outlook 2019.
Jantunen, A., Ellonen, H.-K., & Johansson, A. (2012). Beyond appearances – Do dynamic capabilities of innovative firms actually differ? European Management Journal, 30(2), 141-155.
McKelvie, A., & Davidsson, P. (2009). From Resource Base to Dynamic Capabilities: an Investigation of New Firms. British Journal of Management, 20(1), S63-S80.
Teece, D. (2007). Explicating dynamic capabilities: The nature and microfoundations of (sustainable) enterprise performance. Strategic Management Journal, 28(13), 1319-1350.
Teece, D. (2012). Dynamic Capabilities: Routines versus Entrepreneurial Action. Journal of Management Studies, 49(8), 1395-1401.
Teece, D., Pisano, G., & Shuen, A. (1997). Dynamic capabilities and strategic management. Strategic management journal, 18(7), 509-533.
Teece, D., & Leih, S. (2016). Uncertainty, Innovation, and Dynamic Capabilities: An Introduction. California Management Review, 58(4), 5-12.
Winter, S. G. (2003). Understanding dynamic capabilities. Strategic Management Journal, 24(10), 991-995.