ผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน เกาะพิทักษ์ จังหวัดชุมพร

Main Article Content

อำนาจ รักษาพล
เบญจมาศ ณ ทองแก้ว
อุทัยวรรณ ศรีวิชัย

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว และเสนอแนะแนวทางจัดการด้านเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่แหล่งท่องเที่ยวของชุมชนเกาะพิทักษ์ จังหวัดชุมพร ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การประชุมเชิงปฎิบัติการ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 36 ชุด และแบบสอบถามนักท่องเที่ยว จำนวน 400 ชุด วิเคราะห์ผลแบบบรรยายเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์การถดถอย ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าตามข้อคำถาม ผลการศึกษา พบว่าสถานการณ์ทางการท่องเที่ยว ของชุมชนมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก (x ̄ = 3.94) โดยเฉพาะการต้อนรับและการให้บริการ (x ̄ = 4.18) ขณะที่ชุมชนมีผลกระทบต่อการลงทุนและการดำรงชีพด้านบวก (x ̄ = 0.54) โดยรับรู้ว่ามีกำไรในการดำเนินธุรกิจในระดับปานกลาง (x ̄ = 3.06) มีรายจ่ายหมุนเวียนในชุมชน (ร้อยละ 58.17) มีเงินออม และความสัมพันธ์ในครัวเรือนดีขึ้น (x ̄ = 1.03) และ (x ̄ = 1.14) และมีผลกระทบด้านลบ เช่น การเปลี่ยนมือที่ดิน (x ̄ = -.43) การแข่งขันทางราคา (x ̄ = -.06) และหนี้สิน (x ̄ = 0.03) และจากผลการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่ายด้านเศรษฐกิจเขียนเป็นสมการพยากรณ์ คือความสุขในชุมชน = 4.016 + (0.977)กำไร + (0.744)เงินออม + (- 0.967) หนี้สิน แสดงให้เห็นว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีทั้งผลกระทบด้านบวกและด้านลบ หรือส่วนใหญ่มีผลกระทบในระดับปานกลาง ดังนั้น แนวทางการพัฒนาควรติดตามผลกระทบที่มีแนวโน้มรุนแรง และสร้างมูลค่าเพิ่มในแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน รวมถึงกำหนดมาตรการบริหารจัดการที่ลดความขัดแย้งและสงครามราคา เช่น การกำหนดจุดคุ้มทุน การกระจายตัวของนักท่องเที่ยวให้เหมาะกับบ้านพักและสร้างกลไกความร่วมมือให้เจ้าของบ้านพักโฮมสเตย์ในการทำอาหารรับรองนักท่องเที่ยวที่มาเยือนในลักษณะกลุ่มใหญ่ร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2559). รางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560, สืบค้นจาก http://tourismawardsold.tourismthailand.org/th/.

ดรรชนี เอมพันธุ์. (2560). การกำหนดขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อสร้างมาตรฐานการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่หมู่เกาะลันตา อำเภอเกาะลันตา จังหวัด กระบี่. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นรา พงษ์พานิช, อำนาจ รักษาพล, เบญจมาศ ณ ทองแก้ว, ภัทร์กัลย์ เตี่ยไพบูลย์, อำพล ธานีครุฑ, วิจิตร พันธุ์พืช, พรศรี รัตนราช และสถาพร หิ้นเตี้ยน. (2560). การจัดทำผังชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนเกาะพิทักษ์ จังหวัดชุมพร. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร.

วีระพล ทองมา และ ประเจต อำนาจ. (2547). ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวต่อประชาชนในพื้นที่ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2542). รายงานขั้นสุดท้ายการดำเนินการเพื่อกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเพื่อรักษาระบบนิเวศ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติไทย.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยวรายไตรมาส.การท่องเที่ยวโดยชุมชนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : บริษัทเอ็กเซลเลนท์ บิสเนส แมเนจเม้นท์.

อัมพล ชูสนุก และไพโรจน์ วงศ์นำทรัพย์. (2556). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดต่อคุณค่าที่ลูกค้ารับรู้ ความพึงพอใจ และความจงรักภักดีของลูกค้าตลาดค้าผ้า บริษัท มาดอนน่า แฟบริค จำกัด. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.1(2), 6-25.

อรอนงค์ เย็นบางสพาน (ผู้ถูกสัมภาษณ์) เบญจมาศ ณ ทองแก้ว (ผู้สัมภาษณ์). ชุมชนเกาะพิทักษ์, อำเภอหลังสวน, จังหวัดชุมพร, เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2562.

Creswell, J. W. (2002). Educational research: Planning, conducting, and evaluating quantiative and Qualiative research. Upper Saddle River, New Jersey: Merrill Prentice Hall.

Kotler, P. (2012). Marketing Management. Boston: Pearson Education Limited.

Kurt R. Wetzel & John F. Wetzel. (1995). Sizing the earth: Recognition of economic carrying capacity. Ecological Economics, 12(1), 13-21

Sanette L.A. Ferreira & Alet C. Harmse. (1999). The social carrying capacity of Kruger National Park, South Africa: Policy and practice. Tourism Geographies, 1(3), 325-342.

Nathongkaew, B. & Ruksapol, A. (2014). Carrying Capacity for Community - Based Tourism at Koh Phithak, Chumphon Province, Thailand: Phase I. KKU International Journal at Humanities and Social Sceinces, 4(3), 49-71.