ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเลือกซื้อสติ๊กเกอร์ไลน์ ประเภทไลน์ครีเอเทอร์ของ ผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในประเทศไทย

Main Article Content

อนงค์ณัฐ ทาอินต๊ะ
นิตยา เจรียงประเสริฐ
ใจรัตน์ จตุรภัทรพร
วรรณัย สายประเสริฐ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์และสติกเกอร์ไลน์ประเภทไลน์ครีเอเทอร์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายในประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเลือกซื้อสติ๊กเกอร์ไลน์ ประเภทไลน์ครีเอเทอร์ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในประเทศไทย โดยศึกษาจากกลุ่มเจเนอเรชั่นวายที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และเคยซื้อสติ๊กเกอร์ไลน์ ประเภทไลน์ครีเอเทอร์ มาก่อน จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-25 ปี สถานภาพโสด สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์การใช้แอพพลิเคชั่นไลน์เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันกับเพื่อน มีค่าใช้จ่ายในการซื้อสติ๊กเกอร์ไลน์ 30 บาท/ครั้ง มีความถี่ในการซื้อสติ๊กเกอร์ไลน์ คือ เดือนละ 1-3 ครั้ง โดยซื้อสติ๊กเกอร์ไลน์ ตามความพึงพอใจ และเป็นการซื้อใช้เอง ผ่านช่องทางร้านค้าไลน์หรือร้านค้าสติกเกอร์ไลน์ (LINE Store/LINE Sticker Shop) และชำระค่าสติ๊กเกอร์ไลน์ด้วยตนเองผ่านบัตรเครดิต สำหรับปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเลือกซื้อสติ๊กเกอร์ไลน์ ประเภทไลน์ครีเอเทอร์ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในประเทศไทย พบว่า ในภาพรวมทุกปัจจัยมีค่าเฉลี่ยความสำคัญในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยความสำคัญในระดับมาก 3 ลำดับแรก คือ ประโยชน์ด้านความบันเทิง ความง่ายและสะดวกในการเลือกซื้อสติกเกอร์ไลน์ และประสิทธิภาพในการใช้สติกเกอร์ไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลมาลย์ พลโยธา และคณะ. (2558). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพา: การวิเคราะห์กลุ่มพหุ. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 5(2). 85-98.
ชูพล ศรีเวียง. (2556). พฤติกรรมการซื้อผ่านทางออนไลน์และปัจจัยด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสติ๊กเกอร์จาก LINE แอปพลิเคชั่นของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณัฐพัฒน์ ชลวณิช. (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นที่มีต่อแอพพลิเคชั่น LINE ของประชาชนเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัยหลักสูตรปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธิติมา พัดลม และ กุลเชษฐ์ มงคล. (2558). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนฟู้ดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 4(2). 6-21.
ผู้จัดการ. (2557). ใครเป็นใคร? ในสถิติผู้ใช้ Line ทั่วโลก 490 ล้านคน. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2558, สืบค้นจาก http://www.manager.co.th/CBizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000105087.
พรชัย ตั้งพิทยาเวทย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการซื้อโมบายแอพพลิเคชั่นแบบถูกกฎหมาย ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานวิจัยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภัทรา แดงเที่ยง อรนันท์ ย่อมประเสริฐ และแอนนา จุมพลเสถียร. (2557). พฤติกรรมการเปิดรับและทัศนคติที่มีต่อการตลาดผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์. JC Journal, 6(3). 27-39.
มติชน. (2556). น้าชาติ ประชาชื่น เจาะประวัติแอพฮิตไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ลาคม 2558, สืบค้นจากhttp://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1379083387.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.
วีรพงษ์ ชุติภัทร์. (2556). 10 ไลฟ์สไตล์ของคนในยุค... Gen Y. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2558, สืบค้นจากhttp://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/499582#sthash.EQjnnpFi.dpuf.
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์. (2557). กลยุทธ์มัดใจผู้บริโภค Gen Y. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2558, สืบค้นจาก http://www.scbeic.com/th/detail/product/130.
สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 1. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. สถาบันพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2558). การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2558. (รายงานวิจัย) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพมหานคร.
LINE Creators Market. (2557). วิธีการใช้งาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2558, สืบค้นจาก https://creator.line.me/th/howto.
Positioning. (2557). LINE เปิดรายได้สติ๊กเกอร์ใน CREATORS MARKET 6 เดือน ทะลุ 1,000 ล้านบาท. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2558, สืบค้นจาก http://www.positioningmag.com/content/58895.
Albugami, M. & Bellaaj, M. (2014). The Continued Use of Internet Banking: Combining UTAUT2 Theory and Service Quality Model. Journal of Global Management Research, 11-28.
Chang, Y-C. (2016). The Impact of Social Context and Personality Toward the Usage of Stickers in LINE. SCSM 2016. Springer Publishing, 114-122.
Hair. F.J., Black, W.C., Babin. B.J. and Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. 9th ed. New Jersey: Pearson Education, Inc.
Harsono, I.L.D. & Suryana, L.A. (2014). Factor Affecting the Use Behavior of Social Media Using UTAUT 2. Proceedings of the First Asia-Pacific Conference on Global Business, Economics, Finance and Social Sciences, Singapore 1-3 August 2014. 1-14.
Mahawerawat, N. & Khamwon, A. (2016). Characteristics of Stickers LINE, Electronic Word of Mouth, and Intention to Buy. Conference of the International Journal of Arts & Sciences. 09(01), 275-280.
McCracken, H. (2015). How Japan’s LlNE App Become A Culture-Changing, Revenue-Generating Phenomenon. Access on 17 February 2017, Access from http://www.fastcompany.com /304157/most-innovative-companies-2015.
Olson, P. (2014). Meet Kanahei, One of the World’s Top Digital Sticker Entrepreneurs. Access on 17 February 2017, Access from http://eds.a.cbscohost.com/ehost/detail.