การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการทำสวนผลไม้อย่างเดียว กับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในจังหวัดระยอง

Main Article Content

จีรนันท์ เขิมขันธ์
ปัญญา หมั่นเก็บ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการทำสวนผลไม้ของเกษตรกรกับการทำสวนผลไม้เป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดระยอง เพื่อใช้เป็นข้อมูลแก่หน่วยงานรัฐ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการแนะนำเกษตรกรในการเพิ่มรายได้จากการทำการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกรที่ทำการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในจังหวัดระยองแบบครอบครัวจำนวน 7 ราย ข้อมูลในการสัมภาษณ์ประกอบด้วยต้นทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย ในการทำสวน และท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรที่ทำสวนผลไม้สามารถมีกำไรเพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนมาทำการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยมีกำไรเพิ่มขึ้น 2.09 เท่า ณ ราคาผลไม้ปกติ และเมื่อเปรียบเทียบผลกำไรจากการทำการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กับการทำสวนอย่างเดียว ณ ราคาผลไม้ตกต่ำ พบว่าการทำการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสามารถทำกำไรเพิ่ม 12.17 เท่า จากผลดังกล่าวทำให้ทราบว่าการทำการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรในช่วงราคาผลไม้ตกต่ำ และนอกจากนี้เกษตรกรสามารถลดรายจ่ายในการขนส่งสินค้า เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาซื้อที่สวนของเกษตรกรโดยตรง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). สถิติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2560, สืบค้นจาก http://thai.tourismthailand.org/home.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภูมิภาคภาคตะวันออก. (2558). รายชื่อสวนผลไม้ในพื้นที่ภาคตะวันออก, สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2559 สืบค้นจาก http://www.traveleastthailand.org/ activity-detail.php?id=119.
กฤษณา ธนวัฒนาภรณ์ และ สุดสันต์ สุทธิพิศาล. (2557). รูปแบบการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในชุมชน กรณีศึกษา อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 3(2), 6-18.
ขวัญกมล ดอนขวา และจิตตานันท์ ติกุล. (2557). การพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 8(1), 55-71.
จุฑามาศ มีชัย. (2557). การพัฒนาพื้นที่เกษตรไปสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ศึกษากรณี: พื้นที่เกษตร ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย, 6(3), 427-440
ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล. (2559). ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรผู้ปลูกกระเพราและโหระพา: การเปรียบเทียบระหว่างการปลูกแบบปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและการปลูกแบบทั่วไป, วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม, 8(1), 68-83
ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2555). การจัดการการเงิน. กรุงเทพฯ: ยงพลเทรดดิ้ง.
ดวงมณี โกมารทัต. (2551). การบัญชีต้นทุน. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตลาดสี่มุมเมือง. (2560). ราคาผักและผลไม้รายปี. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560, สืบค้นจาก http://www.taladsimummuang.com/dmma/Portals/PriceList.aspx?id=02
นุชนารถ ไชยโรจน์. (2541). การจัดการท่องเที่ยวแนวใหม่. จุลสารการท่องเที่ยว, 17(2), 12-18.
นราทิพย์ ชุติวงศ์.(2546). ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพชรี ขุมทรัพย์. (2554). การวิเคราะห์งบการเงิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2558). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อความยั่งยืน: โครงการหลวงปางดะ. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 9(1), 19-35.
วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2553). แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ กรณีศึกษาพื้นที่รอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560, สืบค้นจาก http://www.Goto know.org/blogs/posts/434829?locale=en.
วิทยากร เชียงกูล. (2547). พัฒนาการแบบยั่งยืนกับการแก้ปัญหาคนจน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
วราภรณ์ ปามุทา. (2554). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตผ้าไหมยกดอกลำพูน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สำนักงานการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและกีฬาจังหวัดระยอง. (2556). สวนผลไม้/เกษตร. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2560, สืบค้นจาก http://rayong.mots.go.th/index.php?lay=show&ac=article &Id=53874 7615&Ntype=6.
สำนักพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร. (2556). การท่องเที่ยวเชิงเกษตร. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2560, สืบค้นจาก http://www.farmdev.doae.go.th/.
Hron, J. and Srnec, K., (2004). Agrotourim in the context with the rural development. Czech University of lift Sciences Praque” from www.czu.cz.