การสำรวจภาพลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย โดยใช้เทคนิคการสร้างภาพ

Main Article Content

สิริภัทร์ โชติช่วง
ระพีพันธ์ เผ่าชู
นนทิภัค เพียรโรจน์
สุมนา ลาภาโรจน์กิจ

บทคัดย่อ

        พื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยเป็นพื้นที่ที่มีความโดดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม อุดมสมบูรณ์ และวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่เก่าแก่ อย่างไรก็ตามความโดดเด่นดังกล่าวในแต่ละจังหวัดนั้นยังคงมีความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจน จึงเป็นภาพลักษณ์ที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยว ทำให้ภาพลักษณ์ทางการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยว ดังนั้นงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจภาพลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยในมุมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยใช้เทคนิคการสร้างภาพวัดความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวจำนวน 100 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญและใช้ภาพทางการท่องเที่ยวในการสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวจำนวน 20 ภาพ ในด้านการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยว


        การวิเคราะห์ผลการวิจัยใช้รูปแบบการวิเคราะห์แก่นเนื้อหา (Thematic Analysis) เพื่อแสดงให้เห็นภาพลักษณ์ที่โดดเด่นโดยรวมของพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยในด้านกายภาพคือด้านการเป็นเมืองท่องเที่ยวที่โดดเด่นด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นและสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ และหลากหลาย ส่วนการรับรู้ด้านอารมณ์หรือความรู้สึกนั้นสื่อถึงการผ่อนคลาย มีความคุ้มค่าและความสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2557). แผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์พัฒนาการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว ปี พ.ศ. 2557-2560. กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). รายงานโครงการจัดทำตัวชี้วัดภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและสารวจทัศนคติและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยประจำปี 2561.สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2563. สืบค้นจาก https://secretary.mots.go.th/ ewtadmin/ewt/policy /download/article/article_20190930155451.pdf.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2557). คู่มือการท่องเที่ยวภาคใต้. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2557. สืบค้นจาก http://thai.Tourismthailandorg/where-to-go/southern/.

ณัฐกานต์ รัตนพันธุ์ ณัฐพล เจริญ และชุลีกร ชนะสิทธิ์. (2558). การศึกษาอัตลักษณ์เมืองแห่งไมซ์ จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ตติยาพร จารุมณีรัตน์. (2548). การศึกษาเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ จากมุมมองของนักท่องเที่ยวและเจ้าบ้าน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ธนาวิทย์ บัวฝ้าย. (2557). ทัศนคติความพึงพอใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติใน อำเภอเกาะ สมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2549). ภาพลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของจังหวัดนครศรีธรรมราชในมุมมองของนักท่องเที่ยว. วารสารสงขลานครินทร์. ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ปีที่ 12(3), 380-391.

พิชัย นิรมานสกุล. (2554). พฤติกรรมการท่องเที่ยว การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ภาพลักษณ์และการยอมรับคุณค่า แบรนด์เมืองท่องเที่ยวไทย. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยหอการค้า.กรุงเทพมหานคร.

ยุทธศักดิ์ สุภสร. (2559). เปิดแผนการตลาดท่องเที่ยวปี 2560. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2559, สืบค้นจาก http://www.triptravelgang.com/public-relations/28657/

ลิซ่ากูรู. (2556). เที่ยวเมืองลุง…สุขจุงเบย. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2561, สืบค้นจาก https://www. sanook.com/ travel/1391034/.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). แนวโน้มอุตสาหกรรมไทยปี 2562. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563, สืบค้นจาก https://kasikornbank.com/international-business/th/Thailand/IndustryBusiness/Pages/ 201901_Thailand_TourismOutlook19.aspx.

สิงหนาท เอียดจุ้ย. (2557). ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชุมพร. (2561). นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2561, สืบค้นจาก http://nwnt.prd.go.th/centerweb/News/NewsDetail?NT01_NewsID=WNPOL610821 0010020

หน่วยบริการวิชาการ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม. (2557). แนวทางการสื่อการตลาดเชิงบูรณาการในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรวรรณ ศรีโสมพันธ์. (2558). ประชากรและการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง: การวิจัยเชิงปริมาณ. โครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่). 1-2 ธันวาคม 2558,อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

Aaker, D.A. (1996). Building Strong brand. University of Michigan.

Burns, P., Palmer, C., Lester J., & Bibbings, L. (2010). Tourism and visual culture. Wallingford UK, Cambridge, MA: CABI.

Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text. (2nd ed). Sydney: Hodder Education

Kozak, M., & Decrop, A. (2009). Handbook of tourist behavior: theory and practice. New York: Routledge.

Kozak, M., & Baloglu, S. (2011). Managing and marketing tourist destinations: Strategies to gain a competitive edge. New York: Routledge.

Qu, H., Kim, L.H. & Im, H.H. (2011). A Model of destination branding: Integrating the concepts of the branding and destination image. Tourism Management, 32(1), 465-476.

Yoon,Y & Uysal, M. (2005). An examination of the effects of motivation and satisfaction on destination loyalty: A structural model. Tourism Management, 26(1), 45-56.