อิทธิพลของความสะดวกในการบริการที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความสะดวกของการบริการในแต่ละมิติ และ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลความสะดวกของการบริการที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสนามบินนานาชาติ อู่ตะเภา จังหวัดระยอง คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ทราบประชากร ที่ค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ทำการเก็บรวบรวมกลุ่มตัวอย่างจากผู้ที่มาใช้บริการสนามบินอู่ตะเภา จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยสมการการถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 21-30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน รายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท โดยปัจจัยด้านความสะดวกของการบริการที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ผลประโยชน์ของความสะดวก รองลงมา คือ ความสะดวกในการตัดสินใจ ความสะดวกในการทำธุรกรรม ความสะดวกในการเข้าถึง และผลประโยชน์ย้อนหลังของความสะดวก และระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความสะดวกในการเข้าถึง ผลประโยชน์ของความสะดวก และผลประโยชน์ย้อนหลังของความสะดวกมีผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Article Details
บทความที่จะตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น ๆ ทั้งนี้ หากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ให้ถือว่าเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา สำหรับในกรณีผู้ประสงค์จะนำข้อความในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์
References
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ ไทยแลนด์ 4.0. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2562 สืบค้นจาก https://www.eeco.or.th/เกี่ยวกับองค์กร/ความเป็นมา.
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). รายงานภาวะเศรฯฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 6. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2562 สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8265.
Berry, L. L., Seiders, K., & Grewal, D. (2002). Understanding Service Convenience. Journal of Marketing, 66 (1), 1-17.
Brown, L. G.(1990). Convenience in Services Marketing. Journal of Services Marketing, 4(1), 53- 59.
Brown, Lew. G., & M.R. McEnally. (1992). Convenience: Definition, Structure, and Application. Journal of Marketing Management, 2(3), 47-57.
Chang, Y.W., & Polonsky, M.J. (2012). The influence of multiple types of service convenience on behavioral intentions: The mediating role of consumer satisfaction in a Taiwanese leisure setting, International Journal of Hospitality Management, 31, 107-118.
Colwell, S.R., Aung, M., Kanetkar, V., & Holden, A.L. (2008). Toward a measure of service convenience: multiple-item scale development and empirical test. Journal of Services Marketing, 22(2), 160-169.
Cronin, J. J., Brady, M. K., & Hult, G. Thomas, M. (2000). Assessing the Effects of Quality, Value, and Customer Satisfaction on Consumer Behavioral Intentions in Service Environments. Journal of Retailing, 76(2), 193-218.
Geissler, G. L., Rucks, C. T., & Edison, S.W. (2006). Understanding the Role of Service Convenience in Art Museum Marketing: An Exploratory Study. Journal of Hospitality Marketing and Management, 14(4), 69-87.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B.J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.
Kaura, V., Durga Prasad, C. & Sharma, S. (2015). Service quality, service convenience, price and fairness, customer loyalty, and the mediating role of customer satisfaction. International Journal of Bank Marketing, 33(4), 404-422.
Kelley, E. J. (1958). The Importance of Convenience in Consumer Purchasing, Journal of Marketing, 23, 32-38.
Kotler, P. (1994). Marketing management analysis, planning, implementation, and control (8th ed.). Englewood Cliffs: Prentice-Hall.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.
Ryu, K., Han, H., & Kim, T. H. (2008). The relationships among overall quick-casual restaurant image, perceived value, customer satisfaction, and behavioral intentions. International Journal of Hospitality Management, 27(3), 459-469.
Seiders, K., Voss, G. B., & Godfrey, A. L. (2006). Measuring Service Convenience and Assessing Its Influence on Retail Customers. American Marketing Association, (Winter2006), 116-117.
Seiders, Kathleen, G. B. V., Andarea L. Godfrey. (2006). Measuring Service Convenience and Assessing Its Influence on Retail Customers. American Marketing Association, (Winter2006), 116-117.
Seiders, K., Voss, G. B., Godfrey, A. L., & Grewal, D. (2007). SERVCON: development and validation of a multidimensional service convenience scale. Journal of the Academic Marketing Science, 35, 144-156.
Xie, L., Peng, J., & Shen, W. (2010). Customer’s Service Convenience and Customer’s Service Evaluation of the Bank’s Outlets, Proceeding Service System and Service Management (ICSSSM), 2010 7th International Conference on Service System and Service Management, 1-6.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York. Harper and Row Publications.