การรับรู้ผลกระทบของการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบ้านบางโรง จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

นิมิต ซุ้นสั้น
พรชัย ศักดิ์ศิริโสภณ
สุภัทรา สังข์ทอง
ห้าวหาญ ทวีเส้ง

บทคัดย่อ

        วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อตรวจสอบการรับรู้ผลกระทบจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชนบ้านบางโรง จังหวัดภูเก็ต โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี โดยดำเนินการพร้อมกันระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพแบบคู่ขนานซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณมีลักษณะเป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมีโครงสร้างกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นคนในชุมชนบ้านบางโรง จำนวน 289 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการถดถอยเชิงพหุ ส่วนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพใช้ยุทธวิธีการวิจัยแบบกรณีศึกษา เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้นำชุมชนในพื้นที่ชุมชนบ้านบางโรง จำนวน 5 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า ปัจจัยสังคมและวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตที่นัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.001 (β = .216,   t = 3.743***) และเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตที่นัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.001 (β = .186, t = 3.339***) เช่นเดียวกัน นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตที่นัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 (β = .149, t = 2.649**) และเทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตที่นัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 (β = .106, t = 1.970*) และผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชนสามารถรับรู้ได้ด้วย 4 มิติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี นอกจากนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลแบบผสานวิธีระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาทั้งสองวิธีมีความสอดคล้องกัน พบว่ามิติสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีส่งผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชนบ้านบางโรง จังหวัดภูเก็ต

Article Details

บท
บทความวิจัย