การประเมินผลการบริหารจัดการกองทุนรวมตราสารทุนประเภทกองทุนหุ้นขนาดใหญ่ ด้วยวิธีการผสมผสานกลยุทธ์เชิงรุกกับกลยุทธ์เชิงรับ

Main Article Content

ณัฐณิชา กลีบบัวบาน
นิยม สุวรรณเดช

บทคัดย่อ

       การบริหารจัดการเงินลงทุนของกองทุนรวมจะต้องบริหารด้วยความเป็นมืออาชีพที่อาศัยกลยุทธ์เชิงรุกจึงจะส่งผลให้นักลงทุนรายย่อยได้รับอัตราผลตอบแทนในระดับที่สูงกว่าตลาด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการบริหารจัดการ โดยวิธีการคัดสรรหลักทรัพย์ (Security Selection) ภายใต้มาตรวัด Treynor-Black และเพื่อประเมินการบริหารจัดโดยการใช้กลยุทธ์เชิงรุกและกลยุทธ์เชิงรับ (Mix Active Portfolio With Passive Portfolio) ภายใต้มาตรวัด Sharpe Ratio และ มาตรวัด Treynor-Black ratio การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กองทุนรวมตราสารทุนในกลุ่มประเภทกองทุนหุ้นขนาดใหญ่ (Equity Large Cap) ในช่วงปี 2557-2561 เป็นระยะเวลา 60 เดือน จำนวน 105 กองทุน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์การถดถอย ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้จัดการกองทุนรวมใช้ความพยายามในการกระจายความเสี่ยงได้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสูงกว่าตลาด ยิ่งกองทุนใดมีค่า Appraisal Premium (AP) สูงยิ่งมีประสิทธิผลสูง และ 2) ผู้จัดการกองทุนที่ศึกษาสามารถประยุกต์ใช้กลยุทธ์เชิงรุก (Active Portfolio ) เมื่อเปรียบกับกลยุทธ์เชิงรับ (Passive Portfolio) กองทุนส่วนใหญ่สามารถบริหารจัดการกองทุนด้วยกลยุทธ์เชิงรุกได้เป็นผลสำเร็จถึงแม้ว่าตลาดทุนจะเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพภายใต้ Efficient Market Hypothesis (EMH) แต่กองทุนรวมตราสารทุนประเภทกองทุนหุ้นขนาดใหญ่จากกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่สามารถประยุกต์ใช้กลยุทธ์เชิงรุกมากกว่าการใช้กลยุทธ์เชิงรับ นอกจากนี้ผลการวิจัยทำให้นักลงทุนรายย่อยในประเทศไทยได้รับประโยชน์โดยที่นักลงทุนจะต้องเลือกกองทุนรวมที่เน้นใช้กลยุทธ์เชิงรุกมากกว่าเชิงรับ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับสูงกว่าตลาดหรือ Beat the Market

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2561). ดัชนีตลาดหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2563 สืบค้นจาก https://www.set.or.th/static/mktstat/Table_Index.xls?001.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). FM_RT_001_S2 อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน (2548-ปัจจุบัน). สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2563 สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT. aspx?reportID=223&language=TH

มอร์นิ่งสตาร์ไดเร็ค. (2561). สรุปภาพรวมกองทุนรวมปี 2018. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2563 สืบค้นจากhttps://1th.co/go4Nq4Nq4Nq.

Basu, S. (1977). Investment performance of common stocks in relation to their price‐earnings ratios: A test of the efficient market hypothesis. The Journal of Finance, 32(3), 663-682.

Bodie, Z., Kane, A., & Marcus, J. A. (2002). Investments. New York: McGraw-Hill Irwin.

Bodie, Z., Kane, A., & Marcus, J. A. (2011). Investments and Portfolio Management. (9th ed.). New York: McGraw–Hill Irwin.

Brown, K. C. & Reilly, F. (2009), Analysis of Investments and Management of Portfolios. (9th ed.). South Western Cengage Learning, Stamford, CT.

Brown, S. J., Goetzmann, W., Ibbotson, R. G., & Ross, S. A. (1992). Survivorship bias in performance studies. The Review of Financial Studies, 5(4), 553-580.

Fama, F.E. (1972), “Components of Investment Performance”, Journal of Finance. 27(3), 551-567

Jordan, D. J., Miller, W. T. & Dolvin, D. S. (2012). Fundamentals of Investments: Valuation and management (6th ed). New York: McGraw-Hill Irwin.

Roscoe. (1996). Cited in Kansiri Chancharoen (2013). Medical Research: Concept, Principle and Practic. Nonthaburi: Pimpaluk.

Sharpe, F. W. (1964), “Capital Asset Price: A Theory of Market Equilibrium under Conditions of Risk.”, Journal of Business, 19(3), 119-138.

Thai Mutualfund. (2561). Net Asset Value: NAV. Retrieved May 10, 2020, from http://www.thaimutualfund.com/ AIMC/aimc_navCenterDownload.jsp.

Treynor, J. L. & Black, F. (1973). How to Use Security Analysis to Improve Security Selection. Journal of Business. 46(1), 233-265.

Wermers, R. (2000). Mutual Fund Performance: An Empirical Decomposition into Stock-Picking Talent, Style, Transaction Costs, and Expenses. Journal of Finance. 55(4), 1655-1703.