อิทธิพลกำกับของการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน บริษัท ฟูรูกาวาเม็ททัล (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาระดับของปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน และเพื่อศึกษาอิทธิพลกำกับของการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน บริษัท ฟูรูกาวา เม็ททัล (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท ฟูรูกาวา เม็ททัล (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) จำนวน 296 คน ทำการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการแบบตามความสะดวกและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งข้อคำถามมีลักษณะเป็นปลายปิดที่ได้พัฒนามาจากแนวคิดและทฤษฎี และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน โดยการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง แบบวิธีกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วนโดยมีอัตราการตอบกลับของแบบสอบถามที่สมบูรณ์ จำนวน 296 ชุด หรือคิดเป็นร้อยละ 54.11 ของประชากรที่ศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า พนักงานมีระดับของปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และประสิทธิภาพในการทำงาน อยู่ในระดับน้อย สำหรับผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเองมีอิทธิพลกำกับต่อปัจจัยค้ำจุนและประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 แต่การรับรู้ความสามารถของตนเองไม่มีอิทธิพลกำกับต่อปัจจัยจูงใจและประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 69
Article Details
บทความที่จะตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น ๆ ทั้งนี้ หากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ให้ถือว่าเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา สำหรับในกรณีผู้ประสงค์จะนำข้อความในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์
References
กมลพร กัลยาณมิตร. (2559). แรงจูงใจ 2 ปัจจัย พลังสู่ความสำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 6(3), 175-183.
กมลวรรณ ปานประดิษฐ์ และอดิศร ภู่สาระ. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 113-122.
กฤษดา เชียรวัฒนสุข และทัดทรวง บุญญาธิการ. (2560). แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานกรณีศึกษา บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่แจ้งวัฒนะ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 29-43.
กฤษดา เชียรวัฒนสุข, รัชนี แก้วมณี, นีรนุช สายยุยา, และสุภัสสรา กิริกา. (2561). แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา อายิโนะโมะโต๊ะ เบทาโกรสเปเชียลฟู้ดส์ จำกัด. วารสารการตลาดและการจัดการ, 5(2), 55-69.
กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2563). หลักการจัดการและองค์การ. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.
ณัฏฐ์พัชร์ ลาภบำรุงวงศ์. (2562). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงในในการปฏิบัติงาน. วารสารวไลยอลงณ์ปริทัศน์, 9(2), 161-171.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). สรุปประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2563, สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/MonetPolicyComittee/MPR/Pages/default.aspx
นิศาชล รัตนมณี และประสพชัย พสุนนท์. (2562). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(3), 181-188.
พีรญา ชื่นวงศ์. (2560). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา ธุรกิจการขนส่งในจังหวัดเชียงราย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 4(2), 92-100.
ภิญโญ มนูศิลป์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของทีม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 9(2), 1-28.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2558). จิตวิทยาบุคลิกภาพร่วมสมัยและจิตบำบัด. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2563, สืบค้นจาก https://ipidecenter.ipthailand.go.th/wp-content /uploads/2020/07/24-idg.pdf.
อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์. (2552). กลยุทธ์การบริหารภาวะวิกฤตสำหรับผู้นำองค์การ. วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 32(122), 8-18.
อรอุมา บัวทอง (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถตนเอง การกำหนดเป้าหมาย บุคลิกภาพเชิงรุก กับประสิทธิผลในการทำงานของพนักงาน สถานบันการเงินแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Bandura, A. (1977). Social learning theory. New Jersey: Prentice-Hall.
Bandura, A. (1994). Social cognitive theory and exercise of control over HIV infection. In Preventing AIDS (pp. 25-59). Springer, Boston, MA.
Cherian, J., & Jacob, J. (2013). Impact of self-efficacy on motivation and performance of employees. International Journal of Business and Management, 8(14), 80-88.
Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, E. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed.). London: Pearson Education Limited.
Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1959). The motivation to work. (2nd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Lundberg, C., Gudmundson, A., & Andersson, T. D. (2009). Herzberg's Two-Factor Theory of work motivation tested empirically on seasonal workers in hospitality and tourism. Tourism management, 30(6), 890-899.
Newstrom, J. W. (2005). Organizational behavior: Human behavior at work. (12th ed.). New York: McGraw-Hill.
Peterson, E., & Plowman, G. E. (1953). Business organization and management. (3rd ed.). Ill: Irwin.
Vancouver, J. B., & Kendall, L. N. (2006). When self-efficacy negatively relates to motivation and performance in a learning context. Journal of applied psychology, 91(5), 1146.
Yamane. T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.