รื้อสร้างบางระกำโมเดล : ความไม่เสมอภาคในการรับภาระสาธารณะ

Main Article Content

Yodpol Thepsitthar
Thanida Boonwanno

บทคัดย่อ

โครงการบริหารจัดการน้ำแบบชุมชนมีส่วนร่วมบางระกำโมเดล 60 หรือ โครงการทุ่ง   หน่วงน้ำบางระกำเป็นโครงการบริหารจัดการน้ำที่ได้เริ่มดำเนินการในปี 2560 บนพื้นที่อำเภอบางระกำฝั่งซ้ายของแม่น้ำยมซึ่งเป็นเขตชลประทาน หลังจากที่โครงการบริหารจัดการน้ำต้นแบบบางระกำโมเดลที่ริเริ่มในปี 2554 ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วบนพื้นที่อำเภอบางระกำฝั่งขวาของแม่น้ำยมซึ่งเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน นอกจากโครงการบริหารจัดการน้ำบางระกำโมเดลทั้งสองจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเวลาและลักษณะพื้นที่โครงการแล้ว ยังแตกต่างกันในสาระสำคัญคือ โครงการบางระกำโมเดล 54 นั้นมีบึงธรรมชาติ 3 บึงที่ถูกขุดลอกเป็นแก้มลิงรวมทั้งก่อสร้างอาคารชลประทานบังคับน้ำ ในขณะที่โครงการบางระกำโมเดล 60 นั้นจะอาศัยการปรับปฏิทินเพาะปลูกผ่านกรอบระยะเวลาการส่งน้ำของชลประทาน กล่าวคือ โครงการบางระกำโมเดล 60 จะปรับปฏิทินให้เกษตรกรเลื่อนเวลาเพาะปลูกให้เร็วขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยชลประทานจะทำหน้าที่จัดสรรน้ำให้เกษตรกร และเกษตรกรจะต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตให้เสร็จก่อนวันที่ 15 สิงหาคม เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนทุ่งนาข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้วนั้นให้กลายเป็นทุ่งหน่วงน้ำ หรือ เป็นแก้มลิงรับน้ำและหน่วงน้ำไว้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายนเพื่อลดผลกระทบจากอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นในเขตชุมชนและสถานที่ราชการของจังหวัดสุโขทัย และเพื่อหน่วงน้ำไม่ให้เกิดผลกระทบทางอุทกภัยกับพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยในช่วงระยะเวลาเกือบ 4 เดือนของการหน่วงน้ำนั้นยังไม่ปรากฏถึงแนวทางในการเยียวยาและชดเชยให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ


จากเนื้อหาและรูปแบบของโครงการบางระกำโมเดล 60 จะพบว่าเกิดความไม่เสมอภาคในการรับภาระสาธารณะชองประชาชนขึ้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องทำการชดเชยและเยียวยาแก้ไขเพื่อไม่ให้ประชาชนในพื้นที่หน่วงน้ำต้องรับภาระอันเกินสมควร ในทางกลับกันประชาชนก็มีหน้าที่ที่จะต้องกระทำต่อรัฐนั่นคือการรับภาระสาธารณะในรูปแบบที่แตกต่าง ซึ่งภาระของประชาชนนี้อยู่ภายใต้หลักแห่งความเสมอภาค กล่าวคือหากมีเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้ประชาชนคนใดหรือกลุ่มใดที่ต้องรับภาระสาธารณะที่มากกว่าบุคคลอื่นอันทำให้ละเมิดต่อหลักความเสมอภาคแล้วนั้น แม้ว่าการนั้นจะไม่ใช่ความผิดของรัฐก็ตาม รัฐเองก็ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบของรัฐในกรณีเช่นนี้ได้ รัฐพึงมีหน้าที่ต้องทำการเยียวยาแก้ไขให้แก่ประชาชนผู้ที่ต้องแบกรับภาระสาธารณะแทนบุคคลอื่นภายในรัฐ


  บทความชิ้นนี้จะชี้ให้เห็นถึงภาพของการรับภาระสาธารณะในพื้นที่และการนำเสนอมาตรการที่เหมาะสมในการชดเชยและเยียวยาแก้ไข

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Bubpa Akkaraphimarn. คำวินิจฉัยและข้อสังเกตในคดีเกี่ยวกับความรับผิดของฝ่ายปกครองในระบบกฎหมายฝรั่งเศส, รวมบทความทางวิชาการ เล่ม 1 : กฎหมายปกครองภาคสารบัญญัติ [Decisions and Commentaries in Administrative Liability in French Legal System, Academic Articles Collection Volume 1 : Administrative Law Substantive Section] (Unpublished document). (in Thai)

Chantika Kulthamrong, “ความรับผิดชอบของรัฐโดยปราศจากความผิด : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายฝรั่งเศสกับกฎหมายไทย” [State Responsibility without Fault : Comparative Study on French and Thai Law]. Law Thesis. Chulalongkorn University, 2008 (in Thai)

CHAPUS R, Droit administratif général, Tomme I. Montchrestien, 15e édition, Paris : Domat, 2001.

DEBBASCH C. COLIN F. Droit administrative. 9e edition. Paris : Economica, 2010

Jean-Claude Venézia, “การพัฒนาเรื่องความรับผิดของฝ่ายปกครองในกรณีที่ไม่มีความผิด” [Development of the principle of Responsibility Without Fault]. Administrative Court Journal, 2003. (in Thai)

Kankanok Atisutapo. “ความรับผิดอย่างอื่นของฝ่ายปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 : ศึกษาเปรียบเทียบกับความรับผิดของฝ่ายปกครองในระบบกฎหมายฝรั่งเศสและเยอรมัน” [Other Liabilities of an Administrative Agency in Accordance with the Act on Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure, B.E. 2542: Comparative Study with Liabilitiy of an Administrative Agency in French and German Legal Systems]. Law Thesis. Thammasart University, 2008. (in Thai)

Kriengkrai Charoenthanawat. หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน [Fundamental of Public Law]. Bangkok: Vinyuchon, 2018. (in Thai)

Office of Water Management 9th section. โครงการวิจัยเรื่องตอบโจทย์ผลสำเร็จการบริหารจัดการน้ำต้นแบบบางระกำโมเดล อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลกและแนวทางแก้ไขให้ได้รับผลกระทบเสียหายน้อยที่สุด [Success of Water Management in Bang Rakam Model Bang Rakam Disstrict Phitsanulok and its Resolution to Reduce the Damage]. Phitsanulok : Office of Water Management 9th section Department of Water Resource Ministry of Natural Resource and Enviroment, 2015. (in Thai)

Poonsak Vaisumruaj. “ความรับผิดของฝ่ายปกครองในฝรั่งเศส” [Administrative Liability in French Law]. Administrative Law Journal, 1987. (in Thai)

Sujiwan Rattanaprateep. “ความรับผิดของรัฐ: ศึกษากรณีการรับภาระเกินปกติ” [State Liability : Focus on the Exceeding Liability]. Master of Laws Thesis, Dhurakij Pundit University, 2012. (in Thai)

Suraphol Nitikraipot et al. รายงานวิจัยเรื่อง หลักกฎหมายปกครองฝรั่งเศส [Principle of French Administrative Law]. Research and Consultancy Institute of Thammasart University Propose to Office of the Administrative Court, 2002 (Unpublished document). (in Thai)

Thanida Boonwanno. รายงานโครงการวิจัยประจำปีที่ 1 โครงการ ดิน น้ำ ข้าว และชาวนา:ข้อเท็จจริงทางชาติพันธุ์วรรณาของชาวนาบางระกำ [1th year Research Annual Report: Land, Water, Rice and Peasants an Ethnographic Facts of the Peasants in Bang Rakam], 2017. (in Thai)

The Yom-Nan Water Irrigation Project. โครงการบริหารจัดการน้ำแบบชุมชนมีส่วนร่วมในทุ่งหน่วงน้ำบางระกำ “โครงการบางระกำโมเดล 60” [The Bang Ragam Model 60 community – Based Water Management Project] , 2017. (Unpublished document). (in Thai)

VEROT L, (2012), Responsabilité administrative pour rupture de l’égalité devant les charges publiques. Accessed March 14, 2018. https://www.wikiterritorial.cnfpt.fr/xwiki/wiki/econnaissances/view/Notions-Cles/Responsabilitepourrupturedelegalitedevantleschargespubliques.

Vorawut Tavatasin. “กฎหมายปกครองของประเทศฝรั่งเศสกับระบบกฎหมายจารีตประเพณี” คู่มือการศึกษาวิชากฎหมายปกครอง [French Administrative Law and Customary Law, Manual on Administrative Law]. Bangkok : The Thai Bar under The Royal Patronage, 2000. (in Thai)

Yuenyong Rakrueng et al. “การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจบ้านบางระกำ หมู่ที่ 7 ตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก” [The Economic Change of Ban Bang Rakam Moo 7 Tambon Bang Rakam Bang Rakam District Phitsanulok], Master of Arts Thesis on Social Development, Naresuan University, 2005. (in Thai)