นิติอธรรมในพรมแดนประวัติศาสตร์กฎหมายไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยที่ผ่านมามักดำเนินการโดยนักกฎหมาย ด้วยวิธีวิทยาตามความเคยชินของนักกฎหมายที่มิได้ระวังไหวต่อความความหมายอันลื่นไหลของอดีต และให้ความสำคัญกับบทบาทของวงการกฎหมายโดยสัมพันธ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์ จนส่งให้ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยถูกครอบงำด้วยประวัติศาสตร์นิพนธ์แบบราชานิตินิยม ซึ่งมีส่วนสำคัญให้เกิดสภาวะยกเว้นกฎหมายหลากหลายรูปแบบ และกฎหมายกลายเป็นเพียงเครื่องมือของผู้มีอำนาจในการปกครองบ้านเมืองไปตามอำเภอใจของตน เรียกว่า “นิติอธรรม”
ปาฐกถาของธงชัย วินิจจะกูล เรื่อง นิติรัฐอภิสิทธิ์และราชนิติธรรม เป็นผลงานสำคัญที่นักประวัติศาสตร์ได้ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อตอบปัญหารากฐานของวงการกฎหมายไทยว่า ระบบกฎหมายไทยสมัยใหม่นั้นเป็นการปกครองของกฎหมาย หรือการปกครองโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือกันแน่ ธงชัย วินิจจะกูล เสนอว่า สังคมไทยอยู่ภายใต้การปกครองโดยกฎหมายแบบนิติอธรรมมาอย่างยาวนาน ด้วยรากฐานทางวัฒนธรรมไทยและเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ในช่วงปฏิรูประบบกฎหมายและการศาล ระบบกฎหมายไทยจึงเป็นส่วนผสมแห่งความบกพร่องของสำนักกฎหมายบ้านเมืองและสำนักกฎหมายธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ธงชัย วินิจจะกูล มิได้ให้ความสำคัญกับปัจเจกภาพและกระบวนการขัดเกลาของนักกฎหมายอย่างเพียงพอ ทำให้ข้อเสนอของธงชัย วินิจจะกูล จึงให้ภาพเพียงระบบของกฎหมาย แต่มิได้แสดงให้เห็นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักกฎหมายกับระบบกฎหมายที่มีความวิปริต คือแม้ทราบดีแก่ตนว่าระบบกฎหมายไทยเป็นนิติรัฐอภิสิทธิ์และราชนิติธรรม แต่ก็ปฏิเสธสภาวะดังกล่าว พร้อมกับโฆษณาอุดมการณ์นิติรัฐและนิติธรรมเพื่อชวนฝันตนเองและสังคมส่วนรวม
Article Details
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
Hirsch, Philip. “Forest, Forest Reserve, And Forest Land in Thailand.” The Geographical Journal 156, no.2 (1990).
Jackson, Peter A.. “The Thai Regime of Image.” Sojourn: Journal of Social Issues in Southeast Asia 19, no. 2 (October 2004): 181-218.
Lohmann, Larry. “Land, Power and Forest Colonization in Thailand.” Global Ecology and Biogeology 3, no. 4/6 (1993).
Loos, Tamara. Subject Siam: Family, Law, and Colonial Modernity in Thailand. Chiang Mai: Silkworm, 2006.
Peleggi, Maurizio. Lord of Thing: The Fashioning of Siamese Monarchy’s Modern Image. Honolulu: University of Hawaii Press, 2002.
Rotennerg, Mooly Anne. “Changing the Subject: Rights, Revolution, and Capitalist Discourse,” in Zizek and Law. De Sutter, Laurent (eds.). Abingdon: Routledge. 2015.
Said, Edward. Orientalism. London: Penguin, 2003.
Sattayanurak, Attachak. “Property Regime in Rural Northern Thailand.” PhD Diss., Nagoya University, 2004.
MGR Online. “เปิดตัวตน ปัญจพล เสน่ห์สังคม เจ้าของวาทะ ผมเป็นผู้พิพากษาของพระเจ้าอยู่หัว.”ผู้จัดการออนไลน์, 7 สิงหาคม 2558. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2563ม https://mgronline.com/onlinesection/detail/9580000089171.
กฤษณ์พชร โสมณวัตร. “การประกอบสร้างอำนาจตุลาการในสังคมไทยสมัยใหม่.” ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2562.
กองบรรณาธิการ. “ปาฐกถาฉบับเต็ม ‘นิติรัฐอภิสิทธิ์และราชนิติธรรม’ โดย ธงชัย วินิจจะกูล.” เวย์แม๊กกาซีน, 9 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อวันทื่ 1 ตุลาคม 2563 https://waymagazine.org/thongchai-winichakul-rule-by-law/
จรัญ โฆษณานันท์. นิติปรัชญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2552.
จรัญ โฆษณานันท์. ปรัชญากฎหมายไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2545.
ช.ช้างเท้าหน้า. “เสื้อครุยตุลาการ.”วารสารยุติธรรม 13, ฉ.2 (2541).
ณัฎฐพงษ์ สกุลเลี่ยว. “สามัญชนฝ่ายเหนือกับการก่อตัวของรัฐสมัยใหม่สยาม พ.ศ. 2400-2450.” ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2561.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. 2553. การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2553.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2555. ปากไก่และใบเรือ: รวมความเรียงว่าด้วยวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ต้นรัตนโกสินทร์. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2555.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย ว่าด้วยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์. กรุงเทพฯ: มติชน, 2543.
บีบีซีไทย. “คณากร เพียรชนะ: 10 ข้อความในแถลงการณ์ 25 หน้า ที่สะเทือนระบบตุลาการไทย.” บีบีซีไทย, 5 ตุลาคม 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2563. https://www.bbc.com/thai/thailand-49943661
ปรีดี เกษมทรัพย์. นิติปรัชญา. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553.
ปิยบุตร แสงกนกกุล. ศาลรัฐประหาร: ตุลาการ ระบอบเผด็จการ และนิติรัฐประหาร. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2560.
ภิญญพันธ์ พจนะลาวัณย์. “สภาวะการกกลายเป็นมณฑลพายัพ: ประวัติศาสตร์ของอำนาจ-ความรู้ และการผลิตพื้นที่โดยสยาม (พ.ศ. 2416-2475).” ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2562.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. “หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม.” จุลนิติ 9, ฉ.1 (2555).
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา. กรุงเทพฯ: อ่าน, 2561.
วิษณุ เครืองาม. ข้ามสมุทร. กรุงเทพฯ: มติชน, 2558.
วิษณุ เครืองาม. ชีวิตของประเทศ. กรุงเทพฯ: มติชน, 2561.
แสวง บุญเฉลิมวิภาส. ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2547.
สายชล สัตยานุรักษ์. ประวัติศาสตร์รัฐไทยและสังคมไทย: ครอบครัว ชุมชน ชีวิตสามัญชน ความทรงจำ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธ์. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558.
สิงห์ สุวรรณกิจ. “ฌาคส์ ลากอง: ไม่มีสิ่งใดที่เรียกได้ว่าเป็นมาตรฐานความ “ปกติ” ของสังคม ว่าด้วยโครงสร้างการเป็นประสาท (neurosis), วิปริต (perversion), วิกลจริต (psychosis).” Res Residua, 3 สิงหาคม 2561. สืบค้นเมื่อวันทื่ 8 สิงหาคม 2563 https://resresidua.wordpress.com/2018/08/03/lacan-neurosis-perversion-psychosis/
อเนก วงศ์สวัสดิ์กุล, บรรณาธิการ. นิติรัฐ นิติธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553