วิกฤตสิทธิแรงงานในเศรษฐกิจยุคดิจิทัล: ปัญหาความขัดแย้งระหว่าง “ไรเดอร์” กับแพลตฟอร์มที่รัฐเพิกเฉย

Main Article Content

ภาสกร ญี่นาง

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้ เป็นงานศึกษาบริบทความขัดแย้งระหว่าง “ไรเดอร์” กับบริษัทผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีแพลตฟอร์มเพื่อสะท้อนถึงวิกฤตการณ์สิทธิแรงงานในเศรษฐกิจยุคดิจิทัล ระบบกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเทคโนโลยี ได้แปรเปลี่ยนให้โอกาสกลายสภาพเป็นวิกฤตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


การศึกษาใช้กรอบคิดว่าด้วย “การทำงานที่เป็นธรรม” เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ถึงสาเหตุของความขัดแย้งและวิกฤตสิทธิแรงงาน ผลการศึกษาพบว่าระบบกฎหมายที่ไม่มีศักยภาพพอที่จะผลักดันให้คนทำงานแพลตฟอร์มมีสภาพการทำงานที่เป็นธรรมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาเรื่องค่าตอบแทนที่ไม่ได้มาตรฐาน ไร้สวัสดิการการทำงาน และไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิแรงงาน เป็นเหตุความขัดแย้งซึ่งนำไปสู่วิกฤตสิทธิแรงงานปรากฏขึ้นได้เสมอ


ขณะเดียวกัน กลไกทางกฎหมายเกี่ยวกับการระงับความขัดแย้งด้านแรงงาน พร้อมทั้งระบบกฎหมายที่เป็นอยู่ ยังคงไม่สามารถช่วยระงับความขัดแย้งและนำพาให้คนทำงานผ่านพ้นวิกฤตดังกล่าวไปได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายให้การรับรองว่า คนทำงานแพลตฟอร์มมีสิทธิในการรวมกลุ่มได้อย่างเป็นทางการ


ถ้าหากมองว่ามนุษย์ทุกคนที่ทำงาน คือ แรงงาน คนทำงานทุกคนล้วนต้องถูกจ้างงานหรือจ้างเหมาภายใต้หลัก “การทำงานที่เป็นธรรม” การตระหนักถึงหลักการข้อนี้จะช่วยให้แน่ใจว่าการแสวงหาทางออก หรือแนวทางการระงับข้อพิพาทต่อไปต้องอยู่บนฐานความเป็นธรรม ที่ไม่ใช่เพียงการนำคนทำงานทั้งหมดทุกประเภทมาเป็น “แรงงานในระบบ” เสียก่อนเพื่อให้คนทำงานแพลตฟอร์มได้รับสิทธิแรงงาน สวัสดิการ และความมั่นคงปลอดภัยในการทำงาน หากแต่ควรสร้างหลักประกัน ความมั่นคงและการคุ้มครองสิทธิให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง รวมถึงบริบททางสังคมและเศรษฐกิจในโลกยุคดิจิทัลที่มนุษย์ต่างโหยหาความเป็นอิสระมากกว่าต้องอยู่ภายใต้ระบบที่กำกับควบคุมโดยรัฐ หน้าที่ของรัฐควรเป็นการคุ้มครองดูแล ส่งเสริม สนับสนุน ให้บริการ ที่จะต้องไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อความเป็นอิสระและการออกแบบชีวิตตัวเองของคนทำงานแพลตฟอร์ม 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Mexi, M.. “Social Dialogue and the Governance of the Digital Platform Economy: Understanding Challenges, Shaping Opportunities.” Background paper for discussion at the ILO-AICESIS-CES Romania International Conference (Bucharest, 10–11 October 2019): 15 - 19

Oxford Internet Institute, “Fair Work.” https://fair.work/en/fw/principles/?fbclid=IwAR1PJ4WUhPKMsX-51F9Z7pav0TtaavUY2aN8TybhNxv93VAI6CVYdY6U7TE#continue. Oxford. Accessed February 21, 2021.

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงส์. “ไรเดอร์รวมตัว (อีกครั้ง) ขอกฎหมายดูแลชีวิตและสวัสดิภาพ “แรงงานแพลตฟอร์ม”.” ดีโค้ด. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 https://decode.plus/20201114/.

เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร และ วรดุลย์ ตุลารักษ์. รูปแบบงานใหม่ของคนขี่มอเตอร์ไซต์ส่งอาหารที่กำกับโดยแพลตฟอร์ม. กรุงเทพฯ: สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม, 2563.

เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร. “ถอดรหัสอำนาจตลาดของแพลตฟอร์ม vs. อำนาจต่อรองของไรเดอร์.”

ดีโค้ด. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 https://decode.plus/20200907/.

ดวงนฤมล บุญแก้ววรรณ. “โอกาสหรือวิกฤติของแรงงานแพลตฟอร์มกับ ‘ระยะห่าง’ ระหว่างหยาดเหงื่อกับความ เป็นธรรม.” เวย์แม็กกาซีน. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 https://waymagazine.org/labor-welfare-for-platform-labor/.

เกษมสันต์ วิลาวรรณ. คำอธิบายกฎหมายแรงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2556.

ขอนแก่น. ““แกร็บขอนแก่น” หยุดงานประท้วงค่าตอบแทนไม่เป็นธรรม.” 77 ข่าวเด็ด. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 https://www.77kaoded.com/news/aekkapongputta/986083 .

ข่าวไทยรัฐ. “แกร็บไบค์นับพัน รวมตัวประท้วงบริษัท ร้องแก้กติกาไม่เป็นธรรมต่อพาร์ทเนอร์.” ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1907315.

ข่าวสด. “เรียกค่าตอบแทนเพิ่ม! ฟู้ดแพนด้าร่วมตัวนับ100 ประท้วงขอความเป็นธรรม.” ข่าวสดออนไลน์. https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_4723397 .

ชนฐิตา ไกรศรีกุล. “รู้จักแรงงานดิจิทัล: ฟรีแลนซ์และกรรมกรแพลตฟอร์ม งานออฟไลน์สู่ออนไลน์ ความอิสระที่ไม่อิสระ.” ดีโค้ด. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 https://decode.plus/20200805/.

ชฤทธิ์ มีสิทธิ์. “คลินิกกฎหมายด้านแรงงาน (22) คนทำงานขับรถส่งอาหารในระบบแพลตฟอร์ม.” เว็บไซต์มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 https://aromfoundation.org/2019/คลินิกกฎหมายด้านแรงงา-21.

เดอะรีพอร์ทเตอร์. “รมว.แรงงาน เดินสายชายหาดบางแสน จ.ชลบุรี รณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้งาน ประกันสังคมมาตรา 40.” เฟซบุ๊คแฟนเพจเดอะรีพอร์ทเตอร์, สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 https://www.facebook.com/TheReportersTH/posts/2843127672604281/.

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ และคณะ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการ การพัฒนาระบอบกฎหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำกับกลุ่มแรงงานรับจ้างอิสระที่ได้รับผลกระทบจากความท้าทายในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2562.

บัญชา ชุมชัยเวทย์. “แกร็บพัทยากว่า 100 คนประท้วงหยุดงาน ร้องค่าตอบแทนไม่เหมาะสม.” มิสเตอร์บัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 https://misterban.com/whatsup/แกร็บพัทยากว่า-100-คนประท้/.

ประชาไท. “แกร็บพาร์ตเนอร์รวมตัวเรียกร้องกติกาที่เป็นธรรม.” ประชาไท. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 https://prachatai.com/journal/2020/08/88976.

ภาวิณี คงฤทธิ์. “‘ไรเดอร์’ สองล้อที่บิดเบี้ยวของอาชีพแห่งอนาคต.” ดีโค้ด. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 https://decode.plus/rider-platform-economy/?fbclid=IwAR0PbJGbKSWztB5iI-nhxw-M3pCa8vOuWQQxwLOrYNiFqkevK9d8ZEhW0Dc.

วจนา วรรลยางกูร, “‘สิทธิแรงงาน’ จุดบอดในโอกาสใหม่ของ ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’.” มติชน. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 https://www.matichon.co.th/prachachuen/prachachuen-scoop/news_937035.

เว็บไซต์ทางการของแกร็บ. “รายได้จากงาน GrabFood.” แกร็บ. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 https://help.grab.com/driver/th-th/115014804427-รายได้จากงาน-GrabFood

เวิร์คพอยท์ทูเดย์. “ไรเดอร์ ‘ฟู้ดแพนด้า’ รวมตัวร้องแก้ปัญหาไรเดอร์ขาดงาน บริษัทรับปากให้คำตอบใน 7 วัน.” ข่าวเวิร์คพอยท์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 https://workpointtoday.com/rider-foodpanda-demo/.

สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม. “‘อาชีพสร้างโอกาสท่ามกลางวิกฤต’ ที่แท้จริง ต้องไม่ผลักให้คนงานแบกรับความเสี่ยงเองจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้บริษัทแพลตฟอร์มรับผิดชอบสวัสดิภาพคนทำงานในช่วงการระบาดของโรค Covid-19.” สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 https://www.justeconomylabor.org/post/jeli-s-open-letter-calling-for-platform-companies-to-put-gig-workers-safety-first-covid19thailand.

สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม. “การรวมกลุ่มของไรเดอร์ส่งอาหาร-การต่อรองกับแพลตฟอร์มข้ามชาติยักษ์ใหญ่.” ดีโค้ด. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 https://decode.plus/20200909/.

สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์ “เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม กับมาตรฐานแรงงาน.” สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 https://tdri.or.th/2020/09/social-security-for-digital-platform-workers/ .

อภิญญา สุจริตตานันท์. “การเจรจาทางสังคมกับอาเซียน.” รัฏฐาภิรักษ์ 60, ฉ.3 (2561): 61-68.

อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ และ เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร. รายงานการศึกษา เรื่องเศรษฐกิจแพลตฟอร์มและผลกระทบต่อแรงงานภาคบริการในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม, 2561.

อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ. “‘ขับรถส่งอาหาร’ อาชีพเหมือนเงินดี แต่เหนื่อยแทบขาดใจ-ไร้คนดูแล.” วอยซ์ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 https://voicetv.co.th/read/Bp0x97uT2.