มาตรการปกป้องผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนจากยุทธศาสตร์คุกคาม ของบรรษัทและรัฐ

Main Article Content

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บงกช ดารารัตน์
เทิดภูมิ เดชอำนวยพร
วิชญาดา อําพนกิจวิวัฒน์
วรรณา แต้มทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางส่งเสริมการทำกิจกรรมของ "ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน" ผู้เป็นหน้าด่านในการเคลื่อนไหวทางสังคมเกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมของกลุ่มเสี่ยงด้อยโอกาสในสังคม บทความวิจัยนี้ใช้ระเบียบวีวิจัยเชิงคุณภาพโดยอาศัยการทบทวนวรรณกรรมและเก็บข้อมูลจากสถานการณ์จริงที่ปรากฏในสื่อสาธารณะ โดยบทความจะวิเคราะห์การทำงานของผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนเมื่อนำมาตรฐานสากลมาเป็นบรรทัดฐานในการวิเคราะห์  โดยชี้ให้เห็นปัญหาที่เกิดจากปฏิบัติการจริงของรัฐและบรรษัทในการคุกคามผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนจากกรณีศึกษาต่าง ๆ เมื่อผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนเข้าเป็นตัวแทนกลุ่มคนชายขอบดำเนินการทางกฎหมายหรือใช้กลไกกฎหมายในการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ยังแสดงถึงการแสวงหาเครือข่ายแนวร่วมและข้อจำกัดสร้างเครือข่ายองค์กรและแสวงหาพันธมิตรในด้านการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน และแนวทางปรับปรุงการพัฒนาเครือข่ายผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน  ในท้ายที่สุดจะได้นำเสนอแนวทางในการสนับสนุนการทำงานของผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อส่งเสริมการทำงานให้แก่บุคคลหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและประชาสังคมชนที่มีบทบาทในการคุ้มครองสิทธิผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนและลดความเหลื่อล้ำต่อกลุ่มเสี่ยงให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้มากขึ้น 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กฤษณ์พชร โสมณวัตร. “นิติสำนึกต่อ โทษจำคุก ของพลเมืองผู้ดื้อแพ่งต่อกฎหมายประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. สาขานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2555.

ปิ่นแก้ว อุ่นแก้ว. “สัมภาษณ์พิเศษ- ไพจิตร ศิลารักษ์ แกนนำชาวบ้านกรณีคัดค้านเขื่อนราศีไศล.” ประชาไท. (2547), สืบค้นเมื่อ 20/2/2564. https://prachatai.com/ journal/2004/09/370.

อาทิตย์ เคนมี. “ปฏิรูปสังคมด้วยงานวิจัย: กรณีเหมืองแร่ป่าชุมชน.” Waymagazine. 22 สิงหาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 20/2/2564. https://waymagazine.org/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2/.

“กลุ่มสังเกตการณ์สิทธิมนุษยชน เรียกร้องหยุดคุกคามทางกระบวนการยุติธรรมต่อ 'ทนายอานนท์.” ประชาไท. 15 มีนาคม 2558. https://prachatai.com/journal/2015/03/58390.

Dmitri Vitaliev. Digital Security & Privacy for Human Rights Defenders. (Creative Commons Attribution, 2007).

ENRIQUE EGUREN. Protection Manual for Human Rights Defenders, (2007). in PEACE BRIGADES INTERNATIONAL, EUROPEAN OFFICE, PUBLISHED BY FRONTLINE THE INTERNATIONAL FOUNDATION FOR THE PROTECTION OF HUMAN RIGHTS DEFENDERS.

European Union. European Union Guideline on Human Rights Defenders. (Council of the European Unions (Foreign Affairs), 2008).

United Nations, Declaration on the Right and Responsibility of Individuals, Groups and Organs of Society to Promote and Protect Universally Recognized Human Rights and Fundamental Freedoms. (United Nations Office of the High Commissioner, 1998).

United Nations. A/HRC/39/41. (United Nation Human Right Council, 2018).

United Nations. A/RES/53/144. (United Nations General Assembly, 1998)

United Nations. Human Rights Defenders: Protecting the Right to Defend Human Rights. Fact Sheet No. 29. (Geneva: Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights, 2004).

United Nations. OSCE/ODIHR. Guidelines on the Protection of Human Rights Defenders. (2014).

www.ThaiGov.org. สืบค้นเมื่อ 2/10/2560.