ผลการใช้เบี้ยอรรถกรร่วมกับสื่อทางการมองที่มีต่อพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ของนักเรียนออทิสติก ระดับชั้นเตรียมความพร้อม

ผู้แต่ง

  • เด่นนที กองพล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • สุวพัชร์ ช่างพินิจ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก 65000

DOI:

https://doi.org/10.14456/psruhss.2024.19

คำสำคัญ:

นักเรียนออทิสติก , เบี้ยอรรถกร , สื่อทางการมอง , พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษา และเปรียบเทียบผลการใช้เบี้ยอรรถกรร่วมกับสื่อทางการมองที่มีต่อพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งของนักเรียนออทิสติก ระดับชั้นเตรียมความพร้อม ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนออทิสติกที่มีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งในขณะจัดกิจกรรมในชั้นเรียน จำนวน 3 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการสอนที่ใช้เบี้ยอรรถกรร่วมกับสื่อทางการมอง เบี้ยอรรถกร สื่อทางการมอง และเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกพฤติกรรม การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองรูปแบบกลุ่มตัวอย่างเดี่ยว (Single Subject Design) โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะก่อนใช้วิธีการจัดกระทำ ซึ่งผู้วิจัยสังเกตพฤติกรรมการอยู่ไม่นิ่งของนักเรียน ระยะที่ 2 จัดกระทำโดยจัดกิจกรรมตามแผนการสอนที่ใช้เบี้ยอรรถกรร่วมกับสื่อทางการมอง ระยะที่ 3 สังเกตพฤติกรรมโดยไม่มีการจัดกระทำ และระยะที่ 4 จัดกิจกรรมตามแผน  การสอนที่ใช้เบี้ยอรรถกรร่วมกับสื่อทางการมองอีกครั้งหนึ่ง ผลการวิจัยพบว่า หลังจากได้รับการสอนด้วยเบี้ยอรรถกรร่วมกับสื่อทางการมอง กลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 คน ที่มีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งอยู่ในระดับ ดี จำนวน 2 คน และอยู่ในระดับ ปานกลาง จำนวน 1 คน และเมื่อคิดเป็นร้อยละเปรียบเทียบกับระยะเส้นฐาน พบว่า พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งของนักเรียนหลังจากได้รับการสอนด้วยเบี้ยอรรถกรร่วมกับสื่อทางการมองลดลงทั้ง 3 คน โดยกลุ่มเป้าหมายคนที่ 1 ลดลงร้อยละ 22.69 คนที่ 2 ลดลงร้อยละ 15.4 และคนที่ 3 ลดลงร้อยละ 30 ตามลำดับ

References

จริยา บุตรทอง. (2563). การพัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้วิธีการสอนเพ็คส์ (PECS) ร่วมกับหลักการสอนแบบ 3R’s สำหรับเด็กออทิสติก ศูนย์การศึกษาพิเศษมหาจักรีสิรินธร ประจำจังหวัดนครนายก (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

บุญล้อม ด้วงวิเศษ. (2550). การศึกษาความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของเด็กออทิสติกที่ได้รับการสอนโดยหนังสือการ์ตูน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เบญจกลุ ศรีจำเริญ. (2558). การลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กออทิสติกโดยการสอนด้วยบัตรพลังร่วมกับการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกร (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยุวดี วิริยางกูร. (2561). การจัดการพฤติกรรมสำหรับครูการศึกษาพิเศษ. เชียงใหม่: ลีโอมีเดียดีไซน์.

ยุวดี เอี้ยวเจริญ. (2560). การใช้เบี้ยอรรถกรในการลดพฤติกรรมก้าวร้าวเด็กออทิสติก. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 2063 – 2074.

วัชระ หนูมงกุฎ. (2558). ผลของการใช้ชุดภาพร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติเพื่อเพิ่มทักษะทางสังคมของนักเรียนออทิสติก. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 8(2), 2689-2700.

สมพร หวานเสร็จ. (2552). การพัฒนาศักยภาพนักเรียนออทิสติกโดยใช้สื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมอง. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริพร ศิริฟอง, และปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์. (2559). การลดพฤติกรรมไม่อยู่นิ่งของนักเรียนที่มีภาวะออทิสซึมโดยใช้เทคนิคสโนซีเล็นกับการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกร. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(4), 133 – 137.

อลิสา สุวรรณรัตน์. (2550). โครงการการศึกษาวิจัยการพัฒนาทักษะการสื่อสารของเด็กออทิสติกด้วยระบบการแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.

อาพร ตรีสูน. (2550). ผลของการใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีการรับรู้ผ่านการมอง ในการพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนออทิสติก (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อิสรีย์ เขื่อนสุวรรณ. (2556). การพัฒนาแนวปฏิบัติในการฝึกการสื่อสารบุคคลออทิสติกโดยใช้รูปภาพ. วารสารพยาบาลสาร, 40(พิเศษ), 120 – 129.

Kravits, T. R., Kamps, D. M., Kemmerer, K., & Potucek, J. (2002). Brief report: Increasing communication skills for an elementary-aged student with autism using the picture exchange communication system. Journal of Autism and Developmental Disorders, 32(3), 225–230. https://doi.org/10.1023/A:1015457931788

Pansegrouw, D. (1994). Strongyloides stercoralis infestation masquerading as steroid resistant asthma. Monaldi Archives for Chest Disease, 49(5), 399-402.

ภาพ 3 แสดงผลพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งของนักเรียนออทิสติก กลุ่มเป้าหมายคนที่ 3

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-05-2024

How to Cite

กองพล เ., & ช่างพินิจ ส. . (2024). ผลการใช้เบี้ยอรรถกรร่วมกับสื่อทางการมองที่มีต่อพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ของนักเรียนออทิสติก ระดับชั้นเตรียมความพร้อม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 18(1), 280–292. https://doi.org/10.14456/psruhss.2024.19